เมนู

ภิกษุมีเถยยจิตถือเอาเตียงและตั่งเป็นต้น จากที่อยู่ที่ถูกละทิ้ง พระ
วินัยธรพึงปรับด้วยราคาภัณฑะ ในขณะที่ยกขึ้นทีเดียว.
เมื่อภิกษุถือเอาใช้สอยเป็นสังฆบริโภค ด้วยตั้งใจว่า จักคืนให้ในเวลา
ที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นมาอีก เสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอัน
เก่าไปด้วยดี, ถ้าไม่เสียหาย พึงคืนไว้ตามเดิม, เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่อง
ใช้ส่วนตัว เสียหายไป เป็นสินใช้. ทัพสัมภาระมีประตูหน้าต่างเป็นต้น ที่
ภิกษุถือเอาจากที่อยู่ที่ถูกละทิ้งนั้น ไปประสมใช้ในสังฆิกาวาส หรือในอาวาส
ส่วนตัว ต้องคืนให้แท้.
บทว่า ผาติกมฺมตฺถาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้เพิ่มขึ้น.
ก็เสนาสนะมีเตียงและตั้งเป็นต้นนั้นเอง ที่มีราคาเท่ากัน หรือมากกว่า เป็น
ผาติกรรม ย่อมควรในคำว่า เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม นี้ .

[ว่าด้วยการใช้เสนาสนะ]


เครื่องเช็ดเท้า มีสัณฐานคล้ายลูกล้อ ซึ่งทำหุ้มด้วยผ้ากัมพลเป็นต้น
ชื่อว่า จักกลี.
ข้อว่า อลฺเลหิ ปาเทหิ มีความว่า น้ำย่อมปรากฏในที่ซึ่งเท้า
เช่นใดเหยียบแล้ว, พื้นก็ดี เสนาสนะก็ดี ที่ทำด้วยการโบกฉาบ อันภิกษุ
ไม่พึงเหยียบด้วยเท้าเช่นนั้น. แต่ถ้าว่า ปรากฏแค่เพียงรอยน้ำจาง ๆ เท่านั้น
น้ำหาปรากฏไม่ ควรจะเหยียบได้. อนึ่ง จะเหยียบผ้าเช็ดเท้า แม้ด้วยเท้าอัน
เบียกชุ่ม ก็ควรเหมือนกัน.
ภิกษุผู้สวมรองเท้า ไม่ควรเหยียบในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง
แล้วทีเดียว.

ข้อว่า โจฬเกน ปลิเวเฐตุํ มีความว่า ที่ฟันปูนขาวหรือที่พื้นที่
โบกฉาบ ถ้าไม่มีเสื่ออ่อนหรือเสื่อลำแพน, พึงเอาผ้าพันเท้า (เตียงและตั่ง)
เสีย. เมื่อผ้านั้นไม่มี แม้ใบไม้ก็ควรลาด. และเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ลาด
อะไร ๆ เลย วางลงไป.
ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นในอาวาสนั้น วางบนพื้นแม้ลาดแล้ว แต่ใช้สอย
ทั้งที่มีเท้ามิได้ล้าง, จะใช้สอยอย่างนั้นบ้าง ก็ควร.
ข้อว่า น ภิกฺขเว ปริกมฺมกตา ภิตฺติ มีความว่า ฝาที่ทาขาว
หรือฝาที่ทำจิตรกรรมก็ตาม ไม่ควรพิง, และจะไม่ควรพิงแต่ฝาอย่างเดียว
เท่านั้น หามิได้, แม้ประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี พนักอิงก็ดี เสาศิลาก็ดี เสาไม้
ก็ดีภิกษุไม่รองด้วยจีวรหรือของบางอย่างแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะพิงเหมือนกัน.
ข้อว่า โธตปาทถา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าล้างแล้ว ย่อม
รังเกียจที่จะนอน ในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้ว. ปาฐะว่า โธตปาทเก
บ้างก็มี.
คำว่า โธตปาทเก นั้น เป็นชื่อของที่จะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง
แล้ว .
ข้อว่า ปจฺจตฺถริตฺวา มีความว่า พื้นที่โบกฉาบก็ดี เสนาสนะมี
เครื่องรองพื้นก็ดี เตียงตั่งของสงฆ์ก็ดี ต้องเอาเครื่องปูลาดของตนลาดรอง
เสียก่อน จึงค่อยนอน.
ถ้าแม้เมื่อภิกษุกำลังหลับ เครื่องปูลาดถลกเลิกไป อวัยวะแห่งสรีระ
บางส่วนถูกเตียงหรือตั่งเข้า, เป็นอาบัติเหมือนกัน. แต่เมื่อขนถูกเป็นอาบัติ
ตามจำนวนขน.* แม้เมื่อพิงด้วยมุ่งใช้สอยเป็นใหญ่ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะถูก
* ถ้าปรับอาบัติเพียงจำนวนครั้ง จักพอดีกระมัง ? เพราะในการปรับอาบัติอื่น ท่านไม่ปรับด้วย
เส้นขนอย่างนี้ .

หรือเหยียบด้วยฝ่ามือฝาเท้า ควรอยู่. เตียงตั่งกระทบกายของภิกษุผู้กำลังขนไป
ไม่เป็นอาบัติ.

[ว่าด้วยสังภัต]


ข้อว่า น สกฺโกนติ สงฺฆภตฺตํ กาตุํ มีความว่า ก็แลชนทั้งหลาย
ไม่สามารถทำภัต เพื่อสงฆ์ทั้งมวลได้.
วินิจฉัยในคำว่า อิจฺฉนฺติ อุท เทสภตฺตํ เป็นต้น พึงทราบ
ดังนี้:-
ชนทั้งหลายปรารถนาจะทำภัต เพื่อภิกุที่ตนได้ ด้วยการเจาะจง
อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูป 1 หรือ 2 รูป ฯลฯ หรือ 10 รูปเจาะจง
จากสงฆ์.
ชนอีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดจำนวนภิกษุอย่างนั้นเหมือนกัน
นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุเหล่านั้น.
อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดสลาก นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุ
เหล่านั้น.
อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะทำภัตเพื่อภิกษุรูป 1 หรือ 2 รูป ฯลฯ
หรือ 10 รูป กะไว้อย่างนี้ว่า ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต ภัตมี
ประมาณเท่านี้ ได้โวหารนี้ว่า อุทเทสภัต นิมันตนภัต ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง แม้หากว่าชนเหล่านั้น ไม่สามารถจะทำสังฆภัตได้ในคราว
ทุพภิกขภัย, แต่จักสามารถทำสังฆภัตได้อีกในคราวมีภิกษาหาได้ง่าย ; เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรวมแม้ซึ่งสังฆภัตนั้น ไว้ในจำนวนด้วย ตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต ดังนี้เป็นต้น .