เมนู

เครื่องอุปโภค และบริโภคของมนุษย์ทั้งปวง คือภาชนะดิน มีหม้อ
ฝาละมีเป็นต้น กระถางสำหรับระบมบาตร เชิงกราน ปล่องควัน โคมมีด้าม
โคมตั้ง อิฐสำหรับก่อ กระเบื้องสำหรับมุง กระเบื้องหลบ เป็นครุภัณฑ์
จำเดิมแต่เวลาที่ถวายสงฆ์แล้ว.
ก็ในของที่ทำด้วยดิน ของเช่นนี้ คือ หม้อ บาตร ภาชนะ คนโท-
ปากกว้าง คนโทสามัญ ขนาดเขื่องไม่เกินกว่าจุน้ำบาทหนึ่ง เป็นของที่แจก
กันได้. อนึ่ง แม้ในของโลหะ พึงทราบวินิจฉัยเหมือนในของดิน. คนโทน้ำ
บวกเข้ากับส่วนที่แจกกันได้เหมือนกัน. อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นี้ เท่านี้.

[ว่าด้วยนวกรรม]


บทว่า ภณฺฑิกาธานมตฺเตน มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวีย่อม
ให้นวกรรม (คือสร้างใหม่) ด้วยเพียงประกอบสิ่งที่ปิดที่อาศัยอยู่แห่งนกพิราบ
ซึ่งทำเหนือบานประตู.
บทว่า ปริภณฺฑถรณมตฺเตน คือ ด้วยเพียงทำการฉาบทาด้วย
โคมัยและชโลมด้วยน้ำฝาด.
บทว่า ธูมกาลิกํ มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ย่อมอปโลกน์
ให้ที่อยู่ที่สร้างทำแล้วนี้ ในเวลาแห่งควันอย่างนี้ว่า ควันแห่งจิตรกรรม
ของที่อยู่นั้น ยังไม่ปรากฏเพียงใด, ที่อยู่นี้จงเป็นของภิกษุนั้นเพียงนั้น.
วินิจฉัยในบทว่า วิปฺปกตํ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
กลอนทั้งหลาย ยิ่งมิได้เอาขึ้นเพียงใด ที่อยู่ชื่อว่าทำค้างเพียงนั้น.
แต่ครั้นเมื่อกลอนทั้งหลายได้เอาขึ้นแล้ว ที่อยู่ชื่อว่าทำแล้วโดยมาก, เพราะ
ฉะนั้น จำเดิมแต่เวลาที่เอากลอนขึ้นแล้วไปนั้น ไม่ควรให้ทำใหม่. เจ้าของ
จักขอแรงภิกษุ ให้ช่วยสร้างอีกนิดหน่อยเท่านั้น.

ข้อว่า ขุทฺทเก วิหาเร กมฺมํ โอโลเกตฺวา ฉปฺปณฺจวสฺสิกํ
มีความว่า ภิกษุพึงตรวจดูงานแล้วให้นวกรรม 4 ปี สำหรับที่อยู่ขนาด 4 ศอก,
5 ปี สำหรับที่อยู่ 5 ศอก, 6 ปี สำหรับที่อยู่ 6 ศอก, ส่วนอัฑฒโยคะ
(คือ เพิง) เป็นของมีขนาด 7- 8 ศอก เพราะฉะนั้น ในเพิงนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า 7-8 ปี. ก็ถ้าเพิงนั้นมีขนาด 9 ศอก, พึงให้นวกรรม
9 ปีก็ได้.
อนึ่ง พึงให้นวกรรม 10 ปี หรือ 11 ปี สำหรับที่อยู่หรือปราสาทเก่า
มีขนาด 10 ศอกหรือ 11 ศอก. แต่พึงให้นวกรรม 12 ปีเท่านั้น สำหรับที่อยู่
หรือปราสาทมีขนาด 12 ศอก หรือแม้เช่นโลหะปราสาท ซึ่งเขื่องเกินกว่า
นั้น, ไม่พึงให้นวกรรมให้ยิ่งกว่า 12 ปีนั้นไป.
นวกัมมิกภิกษุได้ที่อยู่นั้นภายในกาลฝน, ไม่ได้เพื่อจะห้ามหวงใน
อุตุกาล.
ถ้าที่อยู่นั้นชำรุด, พึงบอกแก่เจ้าของอาวาสหรือแก่ใคร ๆ ผู้เกิดใน
วงศ์ของเขาว่า ที่อยู่ของพวกท่านทรุดโทรม ท่านจงซ่อมแซมที่อยู่นั้น.
ถ้าว่าเขาไม่สามารถ ภิกษุทั้งหลายพึงชักชวนญาติหรืออุปัฏฐากช่วย
ซ่อมแซม. ถ้าแม้ญาติและอุปัฏฐากเหล่านั้น ก็ไม่ สามารถ พึงซ่อมแซมด้วย
ปัจจัยของสงฆ์ แม้เมื่อปัจจัยของสงฆ์นั้นไม่มี ก็พึงจำหน่ายอาวาส* หลังหนึ่ง
เสีย ซ่อมแซมอาวาสที่เหลือไว้. แม้จำหน่ายอาวาสเป็นอันมากเสีย ซ่อมแซม
อาวาสหลังหนึ่งไว้ก็ควรเหมือนกัน.
ในคราวทุพภิกขภัย เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันหลีกไปเสีย อาวาสทั้งปวง
จะทรุดโทรม เพราะฉะนั้น พึงจำหน่ายอาวาสเสียหลังหนึ่ง หรือ 2 หลัง
* กุฎิ (?)

หรือ 3 หลังแล้ว บริโภคยาคูภัตและจีวรเป็นต้น จากอาวาสที่จำหน่ายเสียนั้น
รักษาอาวาสที่ยังเหลือไว้เถิด.
ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า เมื่อปัจจัยของสงฆ์ไม่มี พึงสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า
ท่านจงถือเอาที่พอเตียงอันหนึ่ง สำหรับท่านซ่อมแซมเถิด.
หากว่า ภิกษุนั้นต้องการมากกว่านั้น พึงให้ส่วนที่ 3 (ใน 4 ส่วน)
หรือกึ่งหนึ่งก็ได้ ให้ซ่อมแซมเถิด.
หากว่า เธอไม่ปรารถนาด้วยเห็นว่า ในที่อยู่นี้ เหลือแต่เพียงเสาเท่านั้น
การที่จะต้องทำมาก พึงบอกให้เธอซ่อมแซมว่า ท่านจงซ่อมแซมเป็นส่วนตัว
ของท่านเท่านั้นเถิด เพราะว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักยังมีที่เก็บของสงฆ์ด้วย
จักมีสถานเป็นที่อยู่ของภิกษุใหม่ทั้งหลายด้วย. ก็แล อาวาสอันภิกษุทั้งหลาย
ซ่อมแซมแล้วอย่างนั้น ย่อมเป็นของส่วนตัวบุคคล ในเมื่อภิกษุนั้นยังมีชีวิต
อยู่, เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพแล้ว ย่อมตกเป็นของสงฆ์แท้.
หากว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประสงค์จะให้ (เป็นที่อยู่) แก่สัทธิวิหาริก
ทั้งหลาย. สงฆ์พึงตรวจดูการงานแล้วพึงยกส่วนที่ 3 หรือกึ่งหนึ่ง ให้เธอ
ซ่อมแซมเป็นส่วนตัว.
จริงอยู่ เธอย่อมได้เพื่อให้ส่วนนั้นแก่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย. ก็เมื่อผู้
ซ่อมแซมอย่างนั้น ไม่มี, พึงให้ซ่อมแซมตามนัยที่ว่า พึงจำหน่ายอาวาสหลัง
หนึ่งเสีย ดังนี้เป็นต้น . คำแม้นี้ด้วย คำอื่นด้วยท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นแล.
ภิกษุ 2 รูป ถือเอาพื้นที่ของสงฆ์ แผ้วถางแล้วสร้างเสนาสนะเป็น
ของสงฆ์ พื้นที่นั้นภิกษุใดจองก่อน, ภิกษุนั้นเป็นเจ้าของ. แม้เธอทั้ง 2 รูป
สร้างเป็นส่วนตัวบุคคล ภิกษุผู้จองก่อนนั่นแลเป็นเจ้าของ.

ภิกษุผู้จองพื้นที่ก่อนนั้นสร้างเป็นของสงฆ์ อีกรูปหนึ่งสร้างเป็นส่วนตัว
บุคคล. หากว่า ที่สร้างเสนาสนะอื่น ๆ ยังมีมาก แม้เธอสร้างเป็นส่วนตัว
บุคคล ก็ไม่ควรห้าม. แต่เมื่อที่อันเหมาะเช่นนั้นแห่งอื่นไม่มี อันภิกษุผู้สร้าง
เป็นของสงฆ์นั้นแล พึงห้ามเธอเสียแล้วสร้างเถิด.
ก็เครื่องใช้ มีทัพสัมภาระเป็นต้น ที่จะต้องใช้สอยหมดไปในสถาน
เป็นที่สร้างอาวาสของสงฆ์นั้น ของภิกษุนั้น สงฆ์พึงยอมให้แก่เธอ.
อนึ่ง ถ้าว่าในอาวาสที่สร้างเสร็จแล้วก็ดี ในสถานที่จะสร้างอาวาสก็ดี
มีต้นไม้ที่อาศัยร่มได้และมีผล, พึงอปโลกน์ให้โค่นเสียเถิด. ถ้าต้นไม้เหล่านั้น
เป็นของบุคคล, พึงบอกแก่เจ้าของ. ถ้าเจ้าของไม่ยอมให้, พึงบอกเพียงครั้ง
ที่ 3 แล้วให้โค่นเสีย ด้วยยอมรับว่า พวกเราจักให้มูลค่าราคาต้นไม้.
ฝ่ายภิกษุใด ไม่ถือเอาเครื่องใช้แม้มาตรว่าเถาวัลย์ของสงฆ์ให้สร้าง
ที่อยู่เป็นส่วนตัว ในพื้นที่ของสงฆ์ ด้วยเครื่องอุปกรณ์ทำตนหามา, เป็นของ
สงฆ์กึ่งหนึ่ง เป็นของบุคคลกึ่งหนึ่ง. ถ้าเป็นปราสาท,* ปราสาทชั้นล่างเป็น
ของสงฆ์ ชั้นบนเป็นของบุคคล. ถ้าภิกษุใด ต้องการปราสาทชั้นล่าง, ปราสาท
ชั้นล่างย่อมเป็นของภิกษุนั้น. ถ้าเธอต้องการทั้งชั้นล่างทั้งชั้นบน ย่อมได้
ชั้นละกึ่งหนึ่งทั้ง 2 ชั้น.
ภิกษุให้สร้างเสนาสนะ 2 แห่ง เป็นของสงฆ์แห่งหนึ่ง, เป็นของ
บุคคลแห่งหนึ่ง. หากว่าภิกษุให้สร้างด้วยทัพสัมภาระเป็นของสงฆ์ซึ่งเกิดขึ้น
ในวัด, เธอย่อมได้ส่วนที่ 3. หากว่า ภิกษุทำการก่อต่อขึ้นใหม่ในที่ซึ่งไม่ได้
ทำไว้ก็ดี ต่อหน้ามุขขึ้นภายนอกฝาก็ดี,กึ่งหนึ่งเป็นของสงฆ์ กึ่งหนึ่งเป็นของ
* ปราสาท หมายความว่า เรือนชั้นตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ไม่ได้หมายว่า ปราสาทราชมณเฑียร
อย่างความไทย.

เธอ. ถ้าว่าสถานที่ใหญ่ไม่เสมอ เป็นที่ซึ่งภิกษุพูนให้เสมอ แสดงทางเดินใน
ที่ซึ่งมิใช่ทาง สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในที่นั้น .

[ว่าด้วยสิทธิแห่งนวกัมมิกะ]


ในข้อว่า เอกํ วรเสยฺยํ นี้ มีความว่า ในสถานที่ให้นวกรรมก็ดี
ในสถานที่ถึงตามลำดับพรรษาก็ดี ภิกษุผู้ซ่อมแซมปรารถนาเสนาสนะใด ย่อม
ได้เสนาสนะนั้น, เราอนุญาต ให้ถือเอาเสนาสนะที่ดีแห่งหนึ่ง.
ข้อว่า ปรโยสิเต ปกฺกมติ ตสฺเสว ตํ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น
กลับมาจำพรรษาอีก เสนาสนะนั้น เป็นของเธอเท่านั้น ตลอดภายในพรรษา
แต่เมื่อเธอไม่มา สัทธิวิหาริกเป็นต้น จะถือเอาไม่ได้.
บทว่า นาภิหรนฺตํ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่กล้านำ (เสนาสนะ)
ไปใช้ในที่อื่น.
บทว่า คุตฺตตฺถาย มีความว่า เราอนุญาตให้ขนเสนาสนะ. มีเตียง
และตั่งเป็นต้น ในที่อยู่นั้นไปในที่อื่น เพื่อประโยชน์แก่ความคุ้มครองเสนาสนะ
นั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุนำไปในที่อื่นแล้วใช้สอยเป็นสังฆบริโภค
เสนาสนะนั้นเสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอันเก่าไป
ด้วยดี ถ้าเสนาสนะนั้น ยังไม่เสียหาย พึงเก็บงำไว้ตามเดิมอีก ในเมื่อที่อยู่
นั้นได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว. เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เสนาสนะ
นั้น เสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี เป็นสินใช้. เมื่อที่อยู่นั้น ได้ปฏิสังขรณ์เสร็จ
แล้ว ต้องใช้ให้ทีเดียว.
หากว่า ภิกษุถือเอาทัพสัมภาระทั้งหลายมีกลอนเป็นต้น จากสังฆิ-
กาวาสนั้น ประกอบในสังฆิกาวาสอื่น ที่ประกอบแล้ว ก็เป็นอันประกอบด้วยดี.
แต่ภิกษุผู้ประกอบในอาวาสส่วนตัว ต้องให้ราคาหรือต้องเอากลับคืนไว้ตามเดิม