เมนู

เสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ 3 ครั้ง เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้
ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง 4 เดือน หรือให้เสนาสนะใด พวกเจ้า
ของถวายปัจจัยปีละ 4 ครั้ง, เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ
ทุกคราวที่ล่วง 3 เดือน. เพราะว่า เสนาสนะนั้น จักได้บำรุงด้วยปัจจัยแท้.
ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยมากมายเพียงปี ละครั้ง,
เสนาสนะนั้นควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะได้.
กถาว่าด้วยการถือเสนาสนะซึ่งมาในบาลี โดยวันเข้าพรรษาภายในฤดู
ฝน เท่านี้ก่อน.

[การถือเสนาสนะในฤดูกาล]


ก็ขึ้นชื่อว่า การถือเสนาสนะนี้ ย่อมมี 2 อย่าง คือ ถือในฤดูกาล 1
ถือในวัลสาวาสกาล 1.
ใน 2 อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยในฤดูกาลก่อน ภิกษุอาคันตุกะบาง
พวกมาในเวลาเช้า, บางพวกมาในเวลาบ่าย, บางพวกมาในปฐมยาม, บาง
พวกมาในมัชฌิมยาม, บางพวกมาในปัจฉิมยามก็มี, พวกใดมาในเวลาใด
ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายลุกขึ้นแล้วให้เสนาสนะแก่พวกนั้น
ในเวลานั้นเทียว, ขึ้นชื่อว่า สมัยที่มิใช่กาลย่อมไม่มี.
ฝ่ายภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะต้องเป็นผู้ฉลาด พึงเว้น ที่ตั้งเตียงไว้ 1 หรือ
2 ที่. ถ้าพระมหาเถระ รูป 1 หรือ 2 รูป มาในเวลาวิกาล,1 พึงบอกท่านว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุแม้ทั้งหมด เมื่อผมให้ขึ้นตั้งแต่ต้น จักต้องพากันขนของ
ออก, ขอท่านจงอยู่ในที่อยู่ของผมนี่แล. แต่เมื่อพระมหาเถระมากันมาก พึง
ให้ภิกษุทั้งหลายลุกออกแล้วให้ลำดับ.
* วิกาลในที่นี้ น่าจะได้แก่กลางคืน.

ถ้าพอกันองค์ละบริเวณ พึงให้องค์ละบริเวณ; แม้สถานทั้งปวงเป็น
ต้นว่า โรงไฟ โรงยาว และโรงกลมในบริเวณนั้น ย่อมถึงแก่ท่านด้วย เมื่อ
แจกอย่างนั้นไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนปราสาท.* เมื่อปราสาทไม่พอ ควร
ให้ตามจำนวนห้องน้อย. เมื่อจำนวนห้องน้อยไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนที่
นอน. เมื่อที่ตั้งเตียงไม่พอกัน ควรให้เฉพาะที่ตั้งตั่งตัวหนึ่ง แต่ไม่ควรให้ถือ
เอาที่เพียงโอกาสพอภิกษุยืนได้ เพราะที่เท่านั้น ไม่จัดเป็นเสนาสนะ. แต่เมื่อ
ที่ตั้งตั่งไม่พอ พึงให้ที่ตั้งเตียงหรือที่ตั้งตั่งอันหนึ่ง แก่ภิกษุ 3 รูป ด้วยกล่าว
ว่า ท่านจงผลัดเปลี่ยนกันพักเถิด ท่านผู้เจริญ.
ในฤดูหนาว ใคร ๆ ไม่อาจเลยที่จะอยู่กลางแจ้งตลอดทั้งคืน, พระ-
มหาเถระ ควรพักผ่อน. ตลอดปฐมยาม แล้วออกไปบอกพระเถระปีที่ 2 ว่า ผู้
มีอายุ คุณจงเข้าไปในที่นี้ ถ้าพระมหาเถระเป็นคนขี้เซาไม่รู้เวลา, พระเถระที่
2 พึงกระแอมเคาะประตูบอกว่าได้เวลาแล้วขอรับ ความหมายกวนนัก ดังนี้.
ท่านควรออกไปให้โอกาส. จะไม่ให้ไม่ได้.
ฝ่ายพระเถระที่ 2 พักตลอดมัชฌิมยามแล้ว ก็ควรให้แก่ภิกษุนอกนี้
ตามนัยหนหลังเหมือนกัน พระเถระที่ 2 เป็นคนขี้เซา ก็ควรปลุกตามนัยที่
กล่าวแล้วเหมือนกัน. ที่ตั้งเตียงอันหนึ่งพึงให้แก่ภิกษุ 3 รูปตลอดคืนหนึ่ง
อย่างนี้ .
แต่ภิกษุบางพวกในชมพูทวีปเห็นว่า เสนาสนะหรือที่ตั้งเตียง แลตั่ง
เฉพาะบางแห่ง ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบางคน ไม่เป็นที่สบายสำหรับ บางคน
ภิกษุทั้งหลายจะเป็นอาคันตุกะหรือหากไม่ใช่ก็ตาม ย่อมให้ถือเสนาสนะทุกวัน
นี้ชื่อว่า การถือเสนาสนะในฤดูกาล.
* ที่อยู่ที่ทำชั้น ๆ ปราสาทในที่นี้น่าจะหมายว่าชั้นหนึ่ง ๆ.

[การถือเสนาสนะในคราวจำพรรษา]


ส่วนในคราวจำพรรษา ย่อมมีอาคันตุกวัตร มีอาวาสิกวัตร. ใน
อาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น ภิกษุอาคันตุกะก่อนใคร่จะละถีนของคนไปอยู่ที่อื่น
ไม่ควรไปในที่นั้นในวันเข้าพรรษา. เพราะว่าที่อยู่ในที่นั้นจะต้องเป็นที่คับ-
แคบกัน, หรือภิกษุจารจะไม่ทั่วถึง. ด้วยเหตุนั้น เธอจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะ
ฉะนั้น พึงกะว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปราวเดือนหนึ่งจักเข้าพรรษา แล้วเข้าไปสู่วิหาร
นั้น.
เมื่ออยู่ในวิหารนั้น ราวเดือนหนึ่ง ถ้ามีความต้องการเรียนบาลีจัก
กำหนดไว้ว่า การเรียนบาลีพร้อมมูล ถ้ามุ่งต่อกัมมัฏฐานจักกำหนดได้ด้วย
กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย ถ้ามีความต้องการปัจจัยจักกำหนดปัจจัยลาภไค้ จะอยู่
เป็นสุขภาพในพรรษา.
ก็แล เมื่อจะจากถิ่นของตนไปในที่นั้น ไม่ควรกระทบกระทั่งโคจร
คาม, คืออยู่ว่ากล่าวชาวบ้านในที่นั้น ว่า สลากภัตเป็นต้นก็ดี ยาคูและของควร
เคี้ยวก็ดี ผ้าจำนำพรรษาก็ดี ที่อาศัยพวกท่านย่อมไม่มี นี้บริขารของเจคีย์
นี้บริขารของโรงโบสถ นี้ดาลและกุญแจ ท่านจงรับที่อยู่ของท่าน. ที่ถูก ควร
จัดแจงเสนาสนะเก็บภัณฑะไม่และภัณฑะดิน บำเพ็ญคมิยวัตรให้เต็มแล้ว จึงไป.
แม้เมื่อจะไปอย่างนั้น พึงให้ภิกษุหนุ่มหิ้วห่อบาตรและจีวรเป็นต้น ให้
ช่วยถือกระบอกน้ำมันและไม้เท้าเป็นต้น กางร่มอย่าเชิดตนไปทางประตู
เลย, ควรไปตามข้างที่กำบัง เมื่อทางเข้าคงไม่มี ก็อย่าบุกพุ่มไม้เป็นต้นไป
เลย
อนึ่ง พึงบำเพ็ญคมิยวัตรตัดวิตก มีจิตผุดผ่องไปด้วยธรรมเนียม
แห่งการไปเท่านั้น