เมนู

สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง
เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น
ประสงค์ห้องมีอุปจาร.
บทว่า อนุภาคํ มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง
อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ 2-3 บริเวณ.
ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่
พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.
ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน
เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ.
แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน
แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.
สองบทว่า นิสฺสีเม ฐิตสฺส ได้แก่ ผู้ทั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา.
แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.
สองบทว่า เสนาสนํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.
สองบทว่า สพฺพกาลํ ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลใดย
ล่วง 4 เดือนไป.

[เสนาสนคาหวินิจฉัย]


บรรดาการถือเสนาสนะ 3 อย่าง การถือ 2 อย่าง เป็นการถือยั่งยืน
คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก 1 ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง 1.
การถือเสนาสนะที่เป็นอันตราามุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-
ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ
ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา
ปวารณาแล้วจะไป.

พระมหาเถระทั้งหลายมาแต่ไกล ในวันเข้าพรรษาถือเสนาสนะนั้นอยู่
สำราญ ครั้นจำพรรษาแล้วรับลาภหลีกไปเสีย.
พวกภิกษุผู้เจ้าวัด ไม่เหลียวแลเสนาสนะนั้น แม้ชำรุดทรุดโทรมอยู่
ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ได้ลาภที่เกิดในเสนาสนะนี้, พระมหาเถระผู้อาคันตุกะแล
ได้เป็นนิตย์, พวกท่านนั่นแล จักมาบำรุงเสนาสนะนั้น.
เพื่อให้บำรุงเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงให้ถือ
เสนาสนะเป็นอันตราวามุตกะ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ในวันมหาปวารณาซึ่งจะ
ถึงข้างหน้า. เมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ จะให้ถืออันตรามุตกเสนาสนะนั้น
พึงบอกพระสังฆเถระว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ถือเสนาสนะเป็นอันตรามุตกะเถิด.
ถ้าท่านรับ พึงให้, ถ้าไม่รับ. พึงให้แก่ภิกษุผู้จะรับ ตั้งแต่พระอนุเถระเป็น
ต้นไป โดยที่สุดแม้สามเณร ด้วยอุบายนี้แล. ฝ่ายผู้รับนั้น พึงบำรุงเสนาสนะ
นั้น 8 เดือน บรรดาหลังคาฝาและพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งชำรุดหรือพังไป, ควร
ซ่อมแซมทั้งหมด. แม้จะให้กลางวันสิ้นไปด้วยอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น
กลางคืนจึงอยู่ในเสนาสนะนั้นก็ได้. กลางคืนจะอยู่ในบริเวณ กลางวันให้สิ้น
ไปด้วยอยู่ในเสนาสนะนั้น ก็ได้ แม้จะอยู่ในเสนาสนะนั้นเอง ทั้งกลางคืน
กลางวันก็ได้ ไม่ควรหวงห้ามภิกษุผู้แก่กว่าซึ่งมาในฤดูกาล. แต่เมื่อถึงวันเข้า
พรรษาแล้ว พระสังฆเถระกล่าวว่า เธอจงให้เสนาสนะนี้แก่ฉัน ; เช่นนี้ไม่ได้.
ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ ไม่พึงให้ ต้องชี้แจงว่า ท่านผู้เจริญ
เสนาสนะภิกษุรูปหนึ่ง ถือเอาเป็นอันตรามุตกะ ได้บำรุงมา 8 เดือนแล้ว.
เสนาสนะนั้นต้องให้ภิกษุผู้บำรุงมา 8 เดือนนั่นแลจับจองได้.
ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ 2 ครั้ง, เสนาสนะ
นั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง 6 เดือน. หรือว่าใน

เสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ 3 ครั้ง เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้
ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง 4 เดือน หรือให้เสนาสนะใด พวกเจ้า
ของถวายปัจจัยปีละ 4 ครั้ง, เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ
ทุกคราวที่ล่วง 3 เดือน. เพราะว่า เสนาสนะนั้น จักได้บำรุงด้วยปัจจัยแท้.
ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยมากมายเพียงปี ละครั้ง,
เสนาสนะนั้นควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะได้.
กถาว่าด้วยการถือเสนาสนะซึ่งมาในบาลี โดยวันเข้าพรรษาภายในฤดู
ฝน เท่านี้ก่อน.

[การถือเสนาสนะในฤดูกาล]


ก็ขึ้นชื่อว่า การถือเสนาสนะนี้ ย่อมมี 2 อย่าง คือ ถือในฤดูกาล 1
ถือในวัลสาวาสกาล 1.
ใน 2 อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยในฤดูกาลก่อน ภิกษุอาคันตุกะบาง
พวกมาในเวลาเช้า, บางพวกมาในเวลาบ่าย, บางพวกมาในปฐมยาม, บาง
พวกมาในมัชฌิมยาม, บางพวกมาในปัจฉิมยามก็มี, พวกใดมาในเวลาใด
ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายลุกขึ้นแล้วให้เสนาสนะแก่พวกนั้น
ในเวลานั้นเทียว, ขึ้นชื่อว่า สมัยที่มิใช่กาลย่อมไม่มี.
ฝ่ายภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะต้องเป็นผู้ฉลาด พึงเว้น ที่ตั้งเตียงไว้ 1 หรือ
2 ที่. ถ้าพระมหาเถระ รูป 1 หรือ 2 รูป มาในเวลาวิกาล,1 พึงบอกท่านว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุแม้ทั้งหมด เมื่อผมให้ขึ้นตั้งแต่ต้น จักต้องพากันขนของ
ออก, ขอท่านจงอยู่ในที่อยู่ของผมนี่แล. แต่เมื่อพระมหาเถระมากันมาก พึง
ให้ภิกษุทั้งหลายลุกออกแล้วให้ลำดับ.
* วิกาลในที่นี้ น่าจะได้แก่กลางคืน.