เมนู

สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง
เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น
ประสงค์ห้องมีอุปจาร.
บทว่า อนุภาคํ มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง
อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ 2-3 บริเวณ.
ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่
พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.
ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน
เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ.
แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน
แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.
สองบทว่า นิสฺสีเม ฐิตสฺส ได้แก่ ผู้ทั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา.
แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.
สองบทว่า เสนาสนํ คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.
สองบทว่า สพฺพกาลํ ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลใดย
ล่วง 4 เดือนไป.

[เสนาสนคาหวินิจฉัย]


บรรดาการถือเสนาสนะ 3 อย่าง การถือ 2 อย่าง เป็นการถือยั่งยืน
คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก 1 ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง 1.
การถือเสนาสนะที่เป็นอันตราามุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-
ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ
ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา
ปวารณาแล้วจะไป.