เมนู

นุ่นแห่งเครือวัลย์นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งเถาวัลย์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
เถาน้ำนมเป็นต้น.
นุ่นแห่งหญ้านั้น ได้แก่ นุ่นแห่งติณชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีหญ้า
คมบางเป็นต้น โดยที่สุด แม้นุ่นแห่งอ้อยและไม้อ้อเป็นต้น .
ภูตคามทั้งปวง เป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมเข้าด้วยต้นไม้
เถาวัลย์และหญ้า 3 ชนิดเหล่านี้.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ภูตคามอื่น ซึ่งพ้น จากรุกขชาติ วัลลิชาติและ
ติณชาติไป ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น นุ่นแห่งภาคตามชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อม
ควรในการทำหมอน.
แต่ครั้น มาถึงฟูกเข้า นุ่นนั้น แม้ทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เป็นนุ่นที่
ไม่ควร. และจะควรในการทำหมอนเฉพาะนุ่นนั้นอย่างเดียวหามิได้, แม้ขน
แห่งนกทุกชนิด มีหงส์และนกยูงเป็นต้น และแห่งสัตว์ 4 เท้าทุกชนิด มีสีหะ
เป็นต้น ก็ควร.
แค่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดอกประยงค์และดอกพิกุลเป็นต้น ไม่
ควร. เฉพาะใบเต่าร้างล้วน ๆ ทีเดียว ไม่ควร, แต่ปน ควรอยู่ แม้นุ่นคือ
ขนสัตว์เป็นต้น 5 อย่าง ที่ทรงอนุญาตสำหรับฟูก ก็ควรในการทำหนอน.

[ว่าด้วยมอน]


ในกุรุนทีกล่าวว่า บทว่า อฑฺฒกายิกานิ มีความว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมทอดกายตั้งแต่บั้นเอวจนถึงศีรษะบนหมอนเหล่าใด หมอนเหล่านั้น ชื่อ
มีประมาณกึ่งกาย.. หมอนที่จัดว่า ได้ขนาดกับ ศรีษะ คือ ด้านกว้าง เมื่อวัด
ในระหว่างมุมทั้ง 2 เว้น มุมหนึ่งเสียในบรรดา 3 มุม ได้คืบ 1 กับ 4 นิ้ว
ตรงกลางได้ศอกกำหนึ่ง ส่วนด้านยาว ยาวศอกคืบหรือ 2 ศอก.

นี้เป็นกำหนดอย่างสูงแห่งหมอนที่ได้ขนาดกับศรีษะ. กว้างเกินกว่า
กำหนดนี้ขึ้นไปไม่ควร. ต่ำลงมาควร.
หนอน 2 ชนิด คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนหนุนเท้า ควร
แก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธแท้. ภิกษุผู้อาพาธจะวางหมอนหลายใบแล้วปูเครื่องลาดข้าง
บนแล้วนอน ก็ควร.
อนึ่ง พรุปุสสเทวเถระกล่าวว่า นุ่นที่เป็นกัปปิยะะ 5 อย่างเหล่าใด
ที่ทรงอนุญาต สำหรับฟูกทั้งหลาย, หมอนที่ทำด้วยนุ่นเหล่านั้นแม้ใหญ่ก็ควร
ฝ่างพระอุปติสสเถระผู้วินัยธรกล่าวว่า ประมาณนั่นแล ควรแก่ภิกษุ
ผู้ยัดนุ่นเป็นกัปปิยะ หรือนุ่นที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยคิดว่า จักทำหมอน.

[ว่าด้วยฟูก]


ฟูก 5 อย่างนั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดด้วยของ 5 อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำนวนแห่งฟูกเหล่านี้ ตามจำนวน
แห่งนุ่น
บรรดานุ่นเหล่านั้น ขนแกะอย่างเดียวเท่านั้น มิได้ทรงถือเอาด้วย
อุณณศัพท็, แต่ว่า เว้นขนมนุษย์เสียแล้ว ขนแห่งนกและสัตว์ 4 เท้าซึ่งเป็น
ชาติที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดามี ขนทั้งหมด
นั้น ทรงถือเอาในอธิการว่าด้วยฟูกนี้ ด้วยอุณณศัพท์ทั่งนั้น.
เพราะฉะนั้น บรรดาจีวร 6 ชนิด และอนุโลมจีวร 6 ชนิด ภิกษุ
ทำเปลือกฟูกด้วยชนิดหนึ่งแล้ว ยัดขนสัตว์ทุกอย่างนั้นทำเป็นฟูก ก็ควร.
อนึ่ง แม้ฟูกที่ภิกษุมิได้ขัดขนแกะ ใส่แต่ผ้ากัมพล 4 ชั้นหรือ 5 ชั้น
ย่อมถึงความนับว่าฟูกขนสัตว์เหมือนกัน.