เมนู

นุ่นแห่งเครือวัลย์นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งเถาวัลย์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี
เถาน้ำนมเป็นต้น.
นุ่นแห่งหญ้านั้น ได้แก่ นุ่นแห่งติณชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีหญ้า
คมบางเป็นต้น โดยที่สุด แม้นุ่นแห่งอ้อยและไม้อ้อเป็นต้น .
ภูตคามทั้งปวง เป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมเข้าด้วยต้นไม้
เถาวัลย์และหญ้า 3 ชนิดเหล่านี้.
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ภูตคามอื่น ซึ่งพ้น จากรุกขชาติ วัลลิชาติและ
ติณชาติไป ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น นุ่นแห่งภาคตามชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อม
ควรในการทำหมอน.
แต่ครั้น มาถึงฟูกเข้า นุ่นนั้น แม้ทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เป็นนุ่นที่
ไม่ควร. และจะควรในการทำหมอนเฉพาะนุ่นนั้นอย่างเดียวหามิได้, แม้ขน
แห่งนกทุกชนิด มีหงส์และนกยูงเป็นต้น และแห่งสัตว์ 4 เท้าทุกชนิด มีสีหะ
เป็นต้น ก็ควร.
แค่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดอกประยงค์และดอกพิกุลเป็นต้น ไม่
ควร. เฉพาะใบเต่าร้างล้วน ๆ ทีเดียว ไม่ควร, แต่ปน ควรอยู่ แม้นุ่นคือ
ขนสัตว์เป็นต้น 5 อย่าง ที่ทรงอนุญาตสำหรับฟูก ก็ควรในการทำหนอน.

[ว่าด้วยมอน]


ในกุรุนทีกล่าวว่า บทว่า อฑฺฒกายิกานิ มีความว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมทอดกายตั้งแต่บั้นเอวจนถึงศีรษะบนหมอนเหล่าใด หมอนเหล่านั้น ชื่อ
มีประมาณกึ่งกาย.. หมอนที่จัดว่า ได้ขนาดกับ ศรีษะ คือ ด้านกว้าง เมื่อวัด
ในระหว่างมุมทั้ง 2 เว้น มุมหนึ่งเสียในบรรดา 3 มุม ได้คืบ 1 กับ 4 นิ้ว
ตรงกลางได้ศอกกำหนึ่ง ส่วนด้านยาว ยาวศอกคืบหรือ 2 ศอก.