เมนู

เสนาสนักขันธกวรรณนา


[วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ]


วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า เสนาสนะเป็นของยังมิได้ทรงบัญญัติ ได้แก่ เป็นของ
ยังมิได้อนุญาต .
ที่อยู่ที่เหลือ พ้นจากเรือนมุงแถบเดียวเป็นต้นไป ชื่อวิหาร.
เรือนมุงแถบเดียวนั้น ได้แก่ เรือนที่โค้งดังปีกครุฑ.
ปราสาทนั้น ได้แก่ ปราสาทยาว.
เรือนโล้นนั้น ได้แก่ ปราสาทนั่งเอง แต่มีเรือนยอดตั้งอยู่บนพื้น
บนอากาศ.
ถ้ำ นั้น ได้แก่ ถ้ำอิฐ ถ้ำศิลา ถ้ำไม้ ถ้ำดิน
คำว่า เพื่อสงฆ์ทั้ง 4 ทิศที่มาแล้ว และยังไม่มา คือเพื่อสงฆ์
ผู้อยู่ใน 4 ทิศ ทั้งที่มาแล้ว ทั้งที่ยังมิได้มา.

[ว่าด้วยวิหารทาน]


วินิจฉัยในอนุโมทนาคาถา พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า เย็น ร้อน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าด้วยอำนาจฤดูผิด
ส่วนกัน.
ลมเจือหยาดน้ำ ท่านเรียกว่า ลมในสิสิรฤดู ในคำนี้ว่า สิสิเร จาปิ
วุฎฐิโย.

ฝนนั้น คือ ฝนที่เกิดแต่เมฆโดยตรงนั่นเอง.

บทเหล่านี้ทั้งหมด พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า ปฏิหนติ.
บทว่า ปฏิหญฺญติ ได้แก่ ลมและแดดอันวิหารย่อมป้องกัน.
บทว่า เลณตถ คือ เพื่อหลีกเร้นอยู่.
บทว่า สุขตถํ คือ เพื่อความอยู่สบาย เพราะไม่มีอันตราย มีเย็น
เป็นต้น .
สองบทนี้ว่า ฌายิตุญจ วิปสสิตุํ พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า
สุขตถญฺจ.
จริงอยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายดังนี้ :-
การถวายวิหาร เพื่อความสุข. การถวายวิหารเพื่อความสุข เป็นไฉน ?
ความสุขใด มีเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง, การถวายวิหารเพื่อความสุขนั้น.
อีกประการหนึ่ง สองบทว่า ฌายิตุญฺจ วิปสสิตุ นี้ พึงประกอบ
กับบทหลังบ้างว่า ถวายวิหารเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง.
การถวายวิหารแก่สงฆ์ ของทายกผู้ถวายด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลาย
จักเพ่งพินิจ จักเห็นแจ้ง ในกุฎีนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญว่าเลิศ. จริง
อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดำนี้ว่า ผู้ใดให้ที่อยู่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ครบทุกอย่าง.
จริงอยู่ การถวายวิหาร ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญว่าเลิศ เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประพันธ์คาถาว่า ตสฺมา หิ ปณฑิโต โปโส.
คำว่า วาสเยตถ พหุสสุเต มีความว่า พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นพหูสูตด้วยการเล่าเรียน และผู้เป็นพหูสูตด้วยความตรัสรู้ ให้อยู่ในวิหาร.
นี้.
หลายบทว่า เตสํ อนฺนญฺจ เป็นต้น มีความว่า ข้าว น้ำ ผ้า
และเสนาสนะ มีเตียงตั่งเป็นต้น อันใด สมควรแก่ภิกษุเหล่านั้น, พึงมอบถวาย
ปัจจัยทั้งปวงนั้น ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ซื่อตรง คือมีจิตไม่คดโกง

บทว่า ทเทยฺย คือ พึงมอบถวาย (หรือเพิ่มถวาย).
ก็แล พึงถวายปัจจัยนั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใส ไม่ยังความเลื่อมใสแห่ง
จิตให้คลายเสีย. จริงอยู่ ทายกนั้นจะรู้ทั่วถึงธรรมใดในพระศาสนานี้แล้ว เป็น
ผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมนั้น ซึ่ง
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง แก่เขาผู้มีจิตผ่องใสอย่างนั้น ฉะนี้แล.

[ว่าด้วยลายยูเป็นต้น]


วินิจฉัยในคำว่า อาวิญฉนฉิททํ อาวิญฉนชฺชุํ นี้ มีความว่า
ขึ้นชื่อว่าเชือก แม้ถ้าเป็นของที่ทำด้วยหางเสือ ควรแท้. เชือกบางอย่างไม่
ควรหามิได้.
ดาล 3 ชนิดนั้น ได้แก่ กุญแจ 3 อย่าง.
วินิจฉัยในคำว่า ยนตกํ สูจิกํ นี้ว่า ภิกษุควรทำกุญแจยนต์ที่ตน
รู้จัก และลูกกุญแจสำหรับไขกุญแจยนต์นั้น.
ที่ชื่อว่าหน้าต่างสอบบน คล้ายเวทีแห่งเจดีย์
ที่ชื่อว่าหน้าต่างตาข่าย ได้แก่ หน้าต่างที่ขึงข่าย.
มีชื่อว่าหน้าต่างซี่ ได้แก่ หน้าต่างลูกรง.
ในคำว่า จกกลิกํ นี้ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกผ้าเล็ก ๆ คล้าย
ผ้าเช็ดเท้า.
คำว่า วาตปานภิสิกํ มีความว่า เราอนุญาตให้ทำเสื่อ ได้ขนาด
หน้าต่างผูกไว้.

[ว่าด้วยเตียงและตั่ง]


บทว่า มิฒึ ได้แก่ กระดานตั่ง
บทว่า วิทลมญฺจํ ได้แก่ เตียงหวาย หรือเตียงที่สานด้วยดอกใม้ไผ่.