เมนู

วิธีสมมติ


[335] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง
ภิกษุก่อน ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร นี้เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้ใช้สามเณร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ใช้สามเณรแล้ว ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ด้วยอย่างนี้.
ภาณวาร ที่ 3 จบ
เสนาสนขันธกะ ที่ 6 จบ

หัวข้อประจำขันธกะ


[336] 1. เรื่องพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยังมิได้ทรงบัญญัติวิหาร ใน
ครั้งนั้น สาวกของพระชินเจ้าเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น ๆ ย่อมออกมาจากที่อยู่ 2.
เรื่องเศรษฐีคหบดีเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า
ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร ท่านทั้งหลายพึงอยู่ ภิกษุทูลถามพระโลกนายก 3.

เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตที่เร้น 5 อย่าง คือ ก. วิหาร ช. เรือนมุง
แถบเดียว ค. เรือนชั้น ง. เรือนโล้น จ. ถ้า 4. เรื่องเศรษฐีสร้างวิหาร
60 หลัง 5. เรื่องมหาชนสร้างวิหารไม่มีบานประตู 6. เรื่องภิกษุไม่ระวัง
7. เรื่องทรงอนุญาตบานประตู 8. เรื่องทรงอนุญาตกรอบเช็ดหน้า ครก-
รองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน 9. เรื่องทรงอนุญาตช่องเชือกชัก และเชือก
สำหรับชัก 10. เรื่องทรงอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน 11. เรื่อง
ทรงอนุญาตช่องลูกดาลทำด้วยโลหะ ไม้ และเขา 12. เรื่องทรงอนุญาต
ลิ่มยนต์ 13. เรื่องหลังคาฉาบด้วยดิน ทั้งข้างนอกข้างใน 14. เรื่องหน้าต่าง
มีชุกชี หน้าต่างมีตาข่าย หน้าต่างมีซี่กรง 15. เรื่องผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง
16. เรื่องมู่ลี่หน้าต่าง 17. เรื่องทรงอนุญาตเครื่องปูลาด 18. เรื่องทรง
อนุญาตแผ่นกระดานคล้ายตั่ง 19. เรื่องทรงอนุญาตเตียงถักหรือสาน 20.
เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแน่แคร่สอดเข้าในเท้า 21. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่-
แคร่สอดเข้าในเท้า 22. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า 23.
เรี่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า 24. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีเท้าดั่ง
ก้ามปู 25. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าดั่งก้ามปู 26. เรื่องทรงอนุญาตเตียง
มีเท้าจดแม่แคร่ 27. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ 28. เรื่องทรง
อนุญาตม้าสี่เหลี่ยม 29. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูง 30. เรื่องทรง
อนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูงมีพนักสามด้าน 31. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม
มีพนักสามด้านชนิดสูง 32. เรื่องทรงอนุญาตตั่งหวาย 33. เรื่องทรง
อนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า 34. เรื่องทรงอนุญาตตั่งขาทราย 35. เรื่องทรง
อนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม 36. เรื่องทรงอนุญาตแผ่นกระดาน 37. เรื่อง
ทรงอนุญาตเก้าอี้ 38. เรื่องทรงอนุญาตตั่งฟาง 39. เรื่องทรงห้ามนอน

บนเตียงสูง 40. เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำถูกงูกัด จึงทรงอนุญาตเขียงรองเท้า
เตียง 41. เรื่องทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียงสูง 8 นิ้วเป็นอย่างยิ่ง 42.
เรื่องทรงอนุญาตด้ายสำหรับถักเตียง 43. เรื่องทรงอนุญาตให้เจาะตัวเตียง
แล้วถักเป็นตาหมากรุก 44. เรื่องทรงอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น 45.
เรื่องทรงอนุญาตให้รื้อออกทำเป็นหมอน 46. เรื่องทรงห้ามใช้หมอนกึ่งกาย
47. เรื่องมีมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก 5 ชนิด 48. เรื่องทรง
อนุญาตผ้าสำหรับเสนาสนะ 49. เรื่องทรงอนุญาตเตียงและตั่งบุ 50. เรื่อง
ฟูกย้อยลงข้างล่าง 51. เรื่องโจรลักเลิกผ้าหุ้มนำไป ทรงอนุญาตให้ทำรอยไว้
52. เรื่องทรงอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือ 53. เรื่องที่อยู่อาศัยของพวก
เดียรถีย์ ทรงอนุญาตสีขาว สีดำ ทำบริกรรมด้วยสีเหลือง ในวิหาร 54.
เรื่องทรงอนุญาตดินปนแกลบ 55. เรื่องทรงอนุญาตดินละเอียด 56. เรื่อง
ทรงอนุญาตยางไม้ 57. เรื่องทรงอนุญาตดินปนรำ 58. เรื่องทรงอนุญาต
แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด 59. เรื่องทรงอนุญาตขี้ผึ้งเหลว 60. เรื่องขี้ผึ้งเหลว
หนา ทรงอนุญาตใช้ผ้า เช็ด 61. เรื่องพื้นหยาบสีดำไม่จับ ทรงอนุญาตดินขุย
ไส้เดือน 62. เรื่องทรงอนุญาตยางไม้ 63. เรื่องรูปภาพ 64. เรื่องวิหาร
มีพื้นที่ต่ำ 65. เรื่องก่อ 66. เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตก 67. เรื่องวิหารมี
พื้นโล่งโถง ทรงอนุญาตฟากกึ่งหนึ่ง 68. เรื่องทรงอนุญาตห้องอีก 3 ห้อง
69. เรื่องวิหารเล็ก 70. เรื่องเชิงฝา 71. เรื่องฝนสาด 72. เรื่องภิกษุ
ร้องโวยวาย 73. เรื่องไม้เดือยติดฝา 74. เรื่องราวจีวร 75. เรื่อง
ระเบียงกับฝาค้ำ 76. เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึด 77. เรื่องผงหญ้า
มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง 78. เรื่องที่กลางแจ้ง น้ำฉันถูกแดดเผา
ทรงอนุญาตโรงน้ำฉัน 79. เรื่องภาชนะน้ำฉัน 80. เรื่องวิหาร 81.
เรื่องซุ้ม 82. เรื่องบริเวณ เรื่องโรงไฟ 83. เรื่องอาราม 84. เรื่อง

ซุ้มประตูมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง 85. เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธา
ผ่องใส ได้ไปสู่ป่าสีตวัน ได้เห็นธรรมแล้วทูลอาราธนาสมเด็จพระนายก
พร้อมกับภิกษุสงฆ์ในระหว่างหนทางได้ชักชวนประชาชนให้สร้างอาราม 86.
เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองเวสาลี เรื่องนวกรรม เรื่องพระศิษย์
ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปจองเสนาสนะ 87. เรื่องใครควรได้ภัตรอันเลิศ 88.
เรื่องติดติรพรหมจรรย์ 89. เรื่องบุคคลไม่ควรไหว้ 90. เรื่องพระศิษย์
ของพระฉัพพัคคีย์เกียดกันเสนาสนะ 91. เรื่องประชาชนตกแต่งปูที่นั่งที่
นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน 92. เรื่องเตียงดังหุ้นนุ่น 93. เรื่องพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จเมืองสาวัตถี อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างอารามถวาย 94. เรื่อง
เกิดโกลาหลในโรงภัตร 95. เรื่องพระอาพาธ 96. เรื่องที่นอนดี 97.
เรื่องอ้างเลศ 98. เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น 99.
เรื่องภิกษุมีความสงสัยว่า ใครหนอควรให้ถือเสนาสนะ 100. เรื่องเสนาสน-
คาหาปกภิกษุมีความสงสัยว่า ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ 101. เรื่องให้
แจกตามจำนวนวิหาร 102. เรื่องให้แจกตามจำนวนบริเวณ 103. เรื่อง
ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่ม แต่ไม่ปรารถนาก็อย่าให้ 104. เรื่องให้ภิกษุ
อยู่นอกสีมา 105. เรื่องทรงห้ามเกียดกัน เสนาสนะตลอดกาลเป็นนิตย์ 106.
เรื่องการให้ถือเสนาสนะ 3 ประการ 107. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 108.
เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระวินัย 109. เรื่องภิกษุยืนเรียน
พระวินัย 110. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งอาสนะเสมอกัน 111. เรื่องภิกษุมี
อาสนะเสมอกันทำเตียงตั่งหัก 112. ทรงอนุญาตให้นั่งได้ 3 รูป และ 2 รูป
113. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้นีอาสนะไม่เสมอกันไ่ด้
114. เรื่องทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีเฉลียงรอบ 115. เรื่องสมเด็จ
พระอัยยิกา 116. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นในห่างเมืองสาวัตถีแบ่งเสนาสนะของสงฆ์

117. เรื่องกิฏาคิรีชนบท 118. เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรมด้วย
เหตุเพียงวางก้อนดินฉาบทาฝา ตั้งประตู ติดสายยู ติดกรอบเช็ดหน้า ทำให้
มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา ปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ
ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง ขัดถู ให้นวกรรมทั้ง 20 ปี 30 ปี ตลอดปี ชั่วเวลา
ควันขึ้น ในเมื่อวิหารสำเร็จแล้ว เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้
นวกรรมแก่วิหารที่ยังไม่ได้ทำ ที่ทำยังไม่เสร็จ ให้ตรวจการงานในวิหารเล็ก
แล้วให้นวกรรม 5-6 ปี ให้ตรวจการงานในวิหารมุงแถบเดียว แล้วให้
นวกรรม 7-8 ปี ให้ตรวจการงานในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม
10 ปี 12 ปี 119. เรื่องภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง 120. เรื่องภิกษุ
ให้นวกรรม 2 แก่วิหารหนึ่งหลัง 121. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วให้ภิกษุ
อื่นอยู่ 122. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ 123.
เรื่องภิกษุให้นวกรรมแก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา 124. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรม
แล้วเกียดกันตลอดฤดูกาล 125. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเสียบ้าง
สึกเสียบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง บอกลาสิกขาบ้าง ต้อง
อันติมวัตถุบ้าง วิกลจริตบ้าง มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
บ้าง ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ฐานไม่สละคืน
ทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง เป็นเถยยสังวาสบ้าง เข้ารีต
เดียรถีย์บ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง
ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ผู้ทำโลหิ-
ตุปบาทบ้าง เป็นอุภโตพยัญชนกบ้าง พึงมอบแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้
ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จ ควรมอบให้แก่ภิกษุอื่น เมื่อทำเสร็จ แล้ว
หลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นนั่งเอง สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น
สามเถร บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน

กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกยกวัตร ฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นนั่นเอง เป็น
บัณเฑาะก์ เป็นเถยยสังวาส เข้ารีต เดียรถีย์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่ามารดา
ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายภิกษุณี ทำลายสงฆ์ ทำโลหิตุปบาท
ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ 126. เรื่องภิกษุนำเสนาสนะ
ไปใช้ในที่อื่น 127. เรื่องภิกษุรังเกียจ 128. เรื่องวิหารใหญ่ชำรุด 129.
เรื่องผ้ากัมพล 130. เรื่องผ้ามีราคามาก 131. เรื่องหนังหุ้ม 132. เรี่อง
ผ้าเช็ดเท้ารูปวงล้อ 133. เรื่องผ้าผืนเล็ก 134. เรื่องภิกษุ เหยียบเสนาสนะ
เรื่องเท้าเปียก 136. เรื่องสวมรองเท้า 137. เรื่องถ่มเขฬะ 138. เรื่อง
เท้าเตียงตั่งครูดฟัน 139. เรื่องภิกษุพิงฝา ทรงอนุญาตพนักอิง พนักอิง
ครูดฝาอีก 140. เรื่องล้างเท้า ทรงอนุญาตให้ปูเครื่องลาดนอน 141.
เรื่องประทับในกรุงราชคฤห์ ประชาชนไม่อาจถวายสังฆภัตร 142. เรื่อง
แจกภัตรเลว สมมติพระภัตตุเทสก์ เรื่องแจกภัตรอย่างไร 143. เรื่องสมมติ
ภิกษุเป็นผู้ทั้งเสนาสนะ สมมติภิกษุเป็นผู้รักษาเรือนคลัง .. . เป็นผู้รับจีวร...
เป็นผู้รับแจกจีวร . . . เป็นผู้แจกข้าวยาคู . . . เป็นผู้แจกผลไม้... เป็นผู้แจก
ของเคี้ยว . . . เป็นผู้แจกของเล็กน้อย . . . เป็นผู้แจกผ้า . . . เป็นผู้แจกบาตร...
เป็นผู้ใช้คนวัด. .. เป็นผู้ใช้สามเณร พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงครอบงำ
ซึ่งสรรพธรรม ทรงรู้จักโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำชั้นเยี่ยม ทรง
บัญญัติแล้วเพื่อหลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อเพ่ง และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

เสนาสนักขันธกวรรณนา


[วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ]


วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า เสนาสนะเป็นของยังมิได้ทรงบัญญัติ ได้แก่ เป็นของ
ยังมิได้อนุญาต .
ที่อยู่ที่เหลือ พ้นจากเรือนมุงแถบเดียวเป็นต้นไป ชื่อวิหาร.
เรือนมุงแถบเดียวนั้น ได้แก่ เรือนที่โค้งดังปีกครุฑ.
ปราสาทนั้น ได้แก่ ปราสาทยาว.
เรือนโล้นนั้น ได้แก่ ปราสาทนั่งเอง แต่มีเรือนยอดตั้งอยู่บนพื้น
บนอากาศ.
ถ้ำ นั้น ได้แก่ ถ้ำอิฐ ถ้ำศิลา ถ้ำไม้ ถ้ำดิน
คำว่า เพื่อสงฆ์ทั้ง 4 ทิศที่มาแล้ว และยังไม่มา คือเพื่อสงฆ์
ผู้อยู่ใน 4 ทิศ ทั้งที่มาแล้ว ทั้งที่ยังมิได้มา.

[ว่าด้วยวิหารทาน]


วินิจฉัยในอนุโมทนาคาถา พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า เย็น ร้อน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าด้วยอำนาจฤดูผิด
ส่วนกัน.
ลมเจือหยาดน้ำ ท่านเรียกว่า ลมในสิสิรฤดู ในคำนี้ว่า สิสิเร จาปิ
วุฎฐิโย.

ฝนนั้น คือ ฝนที่เกิดแต่เมฆโดยตรงนั่นเอง.