เมนู

[322] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพิงฝาที่ขัดถูแล้ว ความงามย่อมเสีย
ไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ขัดถูแล้ว รูปใดพิง ต้อง
อาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักอิง พนักอิงส่วนล่างครูดพื้น
และส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน
ทั้งข้างล่างและข้างบน.

พุทธาญาตให้ปูลาดนอน


[323] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วย่อมรังเกียจที่จะนอน จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูลาดก่อนแล้วนอน

พุทธานุญาตภัตร


[324] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวีตาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึง
กรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่
พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.
[325] สมัยต่อมา กรุงราชคฤห์มีข้าวแพง ประชาชนไม่สามารถจะ
ทำสังฆภัตร แต่ปรารถนาจะทำอุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิก-
ภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฎิปทิกภัตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
สังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร
ปาฏิปทิกภัตร.

พุทธานุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์


[326] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารดี ๆ ไว้สำหรับพวกตน
ให้ภัตตาหารเลว ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นภัตตุเทสก์ คือ :-
1. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ .
2. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง
3. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย
4. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ
5. รู้จักภัตรที่แจกแล้วและยังมิได้แจก .

วิธีสมมติ


[327] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง
ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น
ภัตตเทสก์ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด