เมนู

วิธีสมมติ


[278] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง
ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ นี้
เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้
เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ การสมมตภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ถือเสนาสนะ ชอบแก่สงฆ์
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[279] ต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้ถือเสนาสนะหารือกันว่า เราจะพึง
ให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุก่อน
ครั้นแล้วนับที่นอน ครั้นแล้ว จึงให้ถือตามจำนวนที่นอน เมื่อให้ถือตาม
จำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ถือตามจำนวนวิหารเมื่อให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือเป็นอันมาก..
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ เมื่อให้ถือ

ตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลืออีกมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ให้ส่วนซ้ำอีก เมื่อให้ถือส่วนซ้ำอีกแล้ว ภิกษุ
รูปอื่นมา ไม่ปรารถนาก็อย่าพึงให้.
[280] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
[281] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงกันไว้ตลอดเวลา
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุถือเสนาสนะแล้ว ไม่พึงหวงกันไว้ตลอดทุกเวลา รูปใดหวงกัน
ไว้ ต้องอาบัติทุกกฎ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงกันไว้ได้ตลอดพรรษา 3 เดือน
หวงกันไว้ตลอดฤดูกาลไม่ได้.

การให้ถือเสนาสนะ 3 อย่าง


[282] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง
หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี 3 อย่าง คือ ให้ถือเมื่อวันเข้าปุริม
พรรษา 1 ให้ถือเมื่อวันเข้าปัจฉิมพรรษา 1 ให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น 1
การให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษา พึงให้ถือในวันแรม 1 ค่ำเดือนอาสาฬหะ
การให้ถือในวันเข้าปัจฉิมพรรษา พึงให้ถือเมื่อเดือนอาสาฬหะล่วงแล้ว 1 เดือน