เมนู

[258] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านทั้งตังใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฎฐากภิกษุผู้
อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น
ปัจจัยของภิกษุอาพาธโดยเคารพ.

เรื่องช่างชุนเข็ญใจ


[259] ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มี
เหลือ โดยที่คนเหล่านี้ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึงช่วยทำการ
ก่อสร้างบ้าง จึงช่างชุนเข็ญใจนั้น ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่
เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง แม้ครั้งที่สอง . . .
แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง
เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และ
อำนวยการก่อสร้างแก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอน
หรืออำนวยการก่อสร้างแก่เรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผู้เข็ญใจนั้น เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงทำ
ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ๆ การก่อสร้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่า ทำไฉนหนอ
วิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อมสิ่งที่หักพัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม.
วาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้นวกรรม


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ
สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของ
ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้วิหารของคหบดี
ผู้มีชื่อนั้น เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ การให้วิหารของคหบดีผู้มี
ชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น
พึงเป็นผู้ฟังไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อ
นี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย
อย่างนี้.

เรื่องความเคารพ


[260] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครเวสาลี ตาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุอันเตวาสิก
ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปข้างหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองวิหาร
กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชญาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้
ของพวกเรา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข เมื่อภิกษุทั้งหลายจองวิหาร แลที่นอนหมดแล้ว หาที่นอนไม่ได้
จึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จลุกขึ้น ทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ