เมนู

อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน


[256] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา
ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี
ได้ชักชวนชาวบ้านระหว่างทางว่า ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วย
กันสร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว
อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้น ชาว
บ้านเหล่านั้นที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอาราม สร้างวิหาร
เริ่มบำเพ็ญทานแล้ว ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยว
ตรวจดูพระนครสาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะประทับอยู่ที่ไหน
ดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มีคมนาคมสะดวก
ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ
มีเสียงอึกทึกน้อยปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรม
ในที่ลับของมนุษย์ชนสมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระ-
อุทยานของเจ้าเชตราชกุมารซึ่งเป็นสถานไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มี
การคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมี
คนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอคน เป็นสถาน
ควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้น
แล้ว จึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทานพระ
อุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า ท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้อง
ซื้อด้วยลาดทรัพย์เป็นโกฏิ
อ. อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้า
ช. อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี

เจ้าชายกับคหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตก
ลงขายหรือไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาตอบว่า เมื่อพระองค์ตีราคา
แล้ว อารามเป็นอันตกลงขาย
จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาด
ริมจดกัน ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาส
หน่อยหนึ่งใกล้ซุ้มประตู จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งคนทั้งหลายว่า พนาย
พวกเธอจงไปขนเงินมาเรียงในโอกาสนี้ ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารทรงรำพึง
ว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คหบดีนี้บริจาคเงินมากเพียงนั้น จึงเจ้า
เชตราชกุมารตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านอย่าได้
ลาดโอกาสนี้เลย ท่านจงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้ ดังนั้น อนาถ-
บิณฑิกคหบดี คร่ำครวญว่า เจ้าเชตคราชกุมารนี้ ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก
อันความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่
นักแล จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้าง
ซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิกคหบดีได้ให้สร้างวิหารหลายหลัง ไว้
ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ
สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้า
สร้างศาลาบ่อนำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้าง
มณฑป.
[257] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไนพระนครราชคฤห์ ตาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วได้เสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ
ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลีนั้น.

[258] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านทั้งตังใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฎฐากภิกษุผู้
อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น
ปัจจัยของภิกษุอาพาธโดยเคารพ.

เรื่องช่างชุนเข็ญใจ


[259] ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มี
เหลือ โดยที่คนเหล่านี้ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึงช่วยทำการ
ก่อสร้างบ้าง จึงช่างชุนเข็ญใจนั้น ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่
เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง แม้ครั้งที่สอง . . .
แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง
เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และ
อำนวยการก่อสร้างแก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอน
หรืออำนวยการก่อสร้างแก่เรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผู้เข็ญใจนั้น เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงทำ
ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ๆ การก่อสร้าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่า ทำไฉนหนอ
วิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อมสิ่งที่หักพัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม.
วาจา ว่าดังนี้ :-