เมนู

แต่เมื่อจะให้ไฟดับด้วยน้ำ ย่อมได้เพื่อให้ดับด้วยน้ำที่ควรเท่านั้น
นอกนั้นไม่ได้.

[ว่าด้วยขึ้นต้นไม้]


ข้อว่า สติ กรณีเย มีความว่า เมื่อมีกิจที่จะต้องถือเอาฟืนแห้ง
เป็นต้น.
บทว่า โปริสิยํ ความว่า อนุญาตให้ภิกษุขึ้นต้นไม้ประมาณแค่ตัว
บุรุษ.
ข้อว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุเห็นอันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้น
หรือเป็นผู้หลงทาง หรือเป็นผู้ใคร่จะมองดูทิศ หรือเห็นไฟป่าลามมา หรือ
เห็นห้วงน้ำหลากมา ในอันตรายเห็นปานนี้ จะขึ้นต้นไม้แม้สูงเกินประมาณ
ก็ควร.

[ว่าด้วยคัมภีร์ทางโลก]


บทว่า กลฺยาณวากฺกรณา ได้แก่ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ.
สองบทว่า ฉนฺทโส อาโรเปม มีความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยก
พระพุทธวจนะขึ้นสู่ทางแห่งการกล่าวด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนเวท*.
โวหารที่เป็นของชาวมคธ มีประการอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว
ชื่อภาษาเดิม ในคำว่า สกาย นิรุตฺติยา นี้.
คัมภีร์เดียรถีย์ ซึ่งประกอบด้วยเหตุอันไร้ประโยชน์ มีอาทิอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงเป็นเดน เพราะเหตุนี้ และนี้ สิ่งทั้งปวงไม่เป็นเดน เพราะเหตุนี้
และนี้ กาเผือก เพราะเหตุนี้ และนี้ นกยางดำ เพราะเหตุนี้ และนี้ ดังนี้
ชื่อคัมภีร์อันเนื่องด้วยโลก.
* คือแต่งเป็นกาพย์กลอนเป็นโศลกเหมือนคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์.

สองบทว่า อนฺตรา อโหสิ มีความว่า ธรรมกถา ได้เป็นเรื่อง
ขาดตอน คือ ได้ถูกเสียงนั้นกลบเสีย.
บทว่า อาพาธปฺปจฺจยา มีความว่า กระเทียมเป็นยาเพื่ออาพาธใด
เพราะปัจจัย คืออาพาธนั้น.
วินิจฉัยในข้อว่า ปสฺสาวปาทุกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุจะทำเขียงรองเหยียบ ด้วยอิฐก็ดี ด้วยศิลาก็ดี ด้วยไม้ก็ดี ควรอยู่.
แม้ในวัจจปาทุกา ก็มีนัยเหมือนกัน.
บทว่า ปริเวณํ ได้แก่ ร่วมในแห่งเครื่องล้อมแห่งเวจกุฎี.
ข้อว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ในวัตถุแห่งทุกกฏ
พึงปรับทุกกฏ ในวัตถุแห่งปาจิตตีย์ พึงปรับปาจิตตีย์.

[ว่าด้วยของโลหะเป็นต้น]


ของโลหะที่เขาทำไว้ เพื่อประหาร เรียกว่า เครื่องประหาร.
ความว่า คำว่า เครื่องประหารนั้น เป็นชื่อของสิ่งของที่นับว่าอาวุธ
ชนิดใดชนิดหนึ่ง, เราอนุญาตของโลหะทั้งปวงอื่น นอกจากเครื่องประหารนั้น.
ในคำว่า กตกญฺจ กุมฺภการิกญฺจ นี้ มีวินิจฉัยว่า เครื่อง
เช็ดเท่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วแล.
กุฎีทำด้วยดินล้วน ดังกุฎีของพระธนิยะ เรียกว่า กุมภการิกา. คำที่
เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.
ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา จบ