เมนู

[ว่าด้วยหาบเป็นต้น]


บทว่า มุณฺฑวฏฺฏี มีอธิบายว่า เหมือนคนหาบของสำหรับใช้ ของ
พระราชาผู้เสด็จไปไหน ๆ.
บทว่า อนฺตรากาชํ ได้แก่ ภาระที่จะพึงคล้องไว้กลางคาน แล้ว
หามไป 2 คน.
บทว่า อจกฺขุสฺสํ คือเป็นของไม่เกื้อกูลแก่จักษุ ได้แก่ ยังความเสีย
ให้เกิดแก่ภิกษุ.
บทว่า น ฉาเทติ ได้แก่ ไม่ชอบใจ.
บทว่า อฏฺฐงฺคุลปรมํ ได้แก่ ไม้สีฟันยาว 8 นิ้วเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยนิ้วขนาดของมนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า อติมนฺทาหกํ ได้แก่ ไม้สีฟันที่สั้นนัก

[ว่าด้วยการจุดไฟ]


สองบทว่า ทายํ อาเฬเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟที่
ดงหญ้าเป็นต้น.
บทว่า ปฏคฺคึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุจุดไฟรับ.
บทว่า ปริตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตการป้องกันด้วยการทำให้
ปราศจากหญ้า หรือด้วยการขุดคู.
แต่ในการป้องกันนี้ เมื่อมีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเอง ย่อมไม่ได้,
เมื่อไม่มีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเองก็ดี จะถากถางพื้นดินนำหญ้าออกเสียก็ดี
จะขุดคูก็ดี จะหักกิ่งไม้สดดับไฟก็ดี ย่อมได้.
ไฟถึงเสนาสนะแล้วก็ตาม ยังไม่ถึงก็ตาม ภิกษุย่อมได้เพื่อยังไฟให้ดับ
ด้วยอุบายอย่างนั้นเป็นแท้.

แต่เมื่อจะให้ไฟดับด้วยน้ำ ย่อมได้เพื่อให้ดับด้วยน้ำที่ควรเท่านั้น
นอกนั้นไม่ได้.

[ว่าด้วยขึ้นต้นไม้]


ข้อว่า สติ กรณีเย มีความว่า เมื่อมีกิจที่จะต้องถือเอาฟืนแห้ง
เป็นต้น.
บทว่า โปริสิยํ ความว่า อนุญาตให้ภิกษุขึ้นต้นไม้ประมาณแค่ตัว
บุรุษ.
ข้อว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุเห็นอันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้น
หรือเป็นผู้หลงทาง หรือเป็นผู้ใคร่จะมองดูทิศ หรือเห็นไฟป่าลามมา หรือ
เห็นห้วงน้ำหลากมา ในอันตรายเห็นปานนี้ จะขึ้นต้นไม้แม้สูงเกินประมาณ
ก็ควร.

[ว่าด้วยคัมภีร์ทางโลก]


บทว่า กลฺยาณวากฺกรณา ได้แก่ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ.
สองบทว่า ฉนฺทโส อาโรเปม มีความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยก
พระพุทธวจนะขึ้นสู่ทางแห่งการกล่าวด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนเวท*.
โวหารที่เป็นของชาวมคธ มีประการอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว
ชื่อภาษาเดิม ในคำว่า สกาย นิรุตฺติยา นี้.
คัมภีร์เดียรถีย์ ซึ่งประกอบด้วยเหตุอันไร้ประโยชน์ มีอาทิอย่างนี้ว่า
สิ่งทั้งปวงเป็นเดน เพราะเหตุนี้ และนี้ สิ่งทั้งปวงไม่เป็นเดน เพราะเหตุนี้
และนี้ กาเผือก เพราะเหตุนี้ และนี้ นกยางดำ เพราะเหตุนี้ และนี้ ดังนี้
ชื่อคัมภีร์อันเนื่องด้วยโลก.
* คือแต่งเป็นกาพย์กลอนเป็นโศลกเหมือนคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์.