เมนู

11. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13. ไม่พึงทำการไต่สวน
14. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
วัตร 18 ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ

ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม


[164] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม คือ
ให้เธอขอขมาจิตตะคหบดี เธอถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้วไปเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้ จึงกลับมายังพระ-
นครสาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามอย่างนี้ว่า คุณสุธรรม คุณขอขมาจิตตคหบดีแล้ว
หรือ?
ท่านพระสุธรรมตอบว่า ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้ ผมได้ไปเมือง
มัจฉิกาสณฑ์แล้ว เป็นผู้เก้อ ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอ
ขมาจิตตคหบดี.

วิธีให้อนุทูต


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล อนุทูตพึงให้อย่างนี้ พึงขอให้ภิกษุรับ
ก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติทุติยกรรมวาจา


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูต
แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุมี
ชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมาจิตตคหบดี
การให้ภิกษุมีชื่อนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อขอขมา
จิตตคหบดี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุมีชื่อนี้ อันสงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม
แล้ว เพื่อขอขมาจิตตคหบดี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงควานนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.