เมนู

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม
ภิกษุผู้ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทรามด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจาว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับปัพพาชนียกรรม


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้
ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนีย-
กรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ
ปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้
ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับปัพพาชนียกรรม
สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความแม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนีย-
กรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้

ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพา-
ชนียกรรมแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ปัพพาชนียกรรม อันสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วย
อย่างนี้.

ปัพพาชนียกรรม ที่ 3 จบ

ปฏิสารณียกรรม ที่ 4


เรื่องพระสุธรรม


[129] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสุธรรมเป็นเจ้าอาวาส เป็น
ช่างก่อสร้าง รับภัตรประจำของจิตตคหบดี ในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ใน
คราวที่จิตตคหบดีประสงค์จะนิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล จะไม่บอก
ท่านพระสุธรรมก่อน นิมนต์สงฆ์ คณะ หรือบุคคล ไม่เคยมี
สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่าน
พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่าน
พระมหากัปปีนะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ
ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่านพระราหุล ได้เที่ยวจาริกไป
ในแคว้นกาสี เดินทางไปถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์