เมนู

อาบัติเล่า? กิริยาสักว่างดเว้นเท่านั้น อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้วในสูตรอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมเป็นผู้งดเว้นจากการรับทองและ
เงิน ดังนี้ มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ ไม่มี. พระธรรมกถึกรูปหนึ่ง
เมื่อพระวินัยธรบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้นุ่งผ้าเลื้อยรุ่มร่าม เพราะ
พระสูตรที่มาแล้ว จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงยกอาบัติแก่ภิกษุ
เหล่านี้เล่า ? ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่เพียงการทำความศึกษา
อย่างนี้ว่า พึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งให้เรียบร้อย ดังนี้ เท่านั้น
มิใช่หรือ ? อาบัติในสูตรนี้ไม่มี.

เยภุยยสิกา


วินิจฉัยในคำว่า ยถา พหุตรา ภิกฺขู นี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีเกินแม้เพียงรูปเดียว ก็จัดเป็นฝ่ายมากกว่าได้.
ก็จะต้องกล่าวอะไรถึง 2-3 รูปเล่า.
บทว่า สญฺญตฺติยา มีความว่า เราอนุญาตการจับสลาก 3 วิธี
เพื่อต้องการให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม.
วินิจฉัยในคำว่า คูฬฺหกํ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกอลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างปกปิด.
ในบริษัทที่หนาแน่นด้วยพวกลัชชี พึงทำการจับสลากอย่างเปิดเผย. ใน
บริษัทที่หนาแน่นด้วยภิกษุพาล พึงทำการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
สองบทว่า วณฺณาวณฺณาโย กตฺวา มีความว่า สลากของฝ่าย
ธรรมวาที และฝ่ายอธรรมวาที ต้องบอกสำคัญคือเครื่องหมาย แล้ว

ทำให้มีส่วนต่างกันและกันเสีย. ภายหลังพึงเอาสลากเหล่านั้นทั้งหมดใส่ใน
ขนดจีวรแล้วให้จับตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ข้อว่า ทุคฺคโหติ ปจฺจุกฺกฑฺฒิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกว่า
สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ เพียงครั้งที่ 3.
ข้อว่า สุคโหติ สาเวตพฺพํ มีความว่า ครั้นเมื่อภิกษุผู้เป็นธรรม
วาทีเกินกว่า แม้รูปเดียว พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ก็ภิกษุพวก
ธรรมวาทีเหล่านั้น ย่อมกล่าวอย่างใด, อธิกรณ์นั้น พึงให้ระงับอย่างนั้น
ฉะนี้แล.
หากว่า ภิกษุพวกอธรรมวาทีคงเป็นฝ่ายมากกว่าแม้ถึงครั้งที่ 3
พึงกล่าวว่า วันนี้เวลาไม่เหมาะ พรุ่งนี้ เราทั้งหลายรู้จักกัน แล้วเลิกเสีย
แล้ว เสาะหาผ่ายธรรมวาที เพื่อประโยชน์แก่การทำลายฝ่ายอลัชชีเสีย
ทำการจับสลากในวันรุ่งขึ้น นี้เป็นการจับสลากอย่างปกปิด.
ก็แล พึงทราบวินัยในการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
ในคำว่า คหิเต วตฺตพฺโพ มีความว่า ถ้าพระสังฆเถระจะจับ
สลากอธรรมวาทีไซร้, พึงเรียนให้ท่านทราบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
เป็นผู้แก่เจริญวัยแล้ว การจับสลากนั่น ไม่ควรแก่ท่าน, อันนี้เป็นอธรรม
วาทีสลาก. พึงแสดงสลากนอกนี้แก่ท่าน, ถ้าท่านจะจับธรรมวาทีสลาก
นั้น, พึงให้. ถ้าว่า ท่านยังไม่ทราบ, ลำดับนั้น พึงเรียนท่านว่า
อย่าบอกแก่ใคร ๆ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า เปิดเผย นั้น คือ เปิดเผยเนื้อความนั่นเอง.

ตัสสปาปียสิกา


วินิจฉัยในคำว่า ปาราชิกสามนฺตํ วา นี้ พึงทราบดังนี้ :-
ในเพราะเมถุนธรรม อาบัติทุกกฏ ชื่อว่า เฉียดปาราชิก. ในเพราะ
อทินนาทานเป็นต้นที่เหลือ อาบัติถุลลัจจัย ชื่อว่า เฉียดปาราชิก
บทว่า นิเวเฐนฺตํ มีความว่า ผู้อำพรางอยู่ด้วยคำว่า ข้าพเจ้า
ระลึกไม่ได้ ดังนี้:-
บทว่า อติเวเฐติ มีความว่า เธอยิ่งคาดคั้นด้วยคำว่า อิงฺฆา-
ยสฺมา
เป็นอาทิ.
ข้อว่า สรามิ โข อหํ อาวุโส มีความว่า ภิกษุนั้น ปฏิญญา
อย่างนั้น เพื่อต้องการปกปิดอาบัติปาราชิก. เมื่อถูกเธอคาดคั้นยิ่งขึ้นอีก
จึงให้ปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าระลึกได้แล แล้วกล่าวคำว่า คำนั้นข้าพเจ้าพูด
เล่น ดังนี้ เป็นต้น เพราะกลัวว่า ภิกษุเหล่านี้จักยังเราให้ฉิบหายในบัดนี้
สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุนั้น.
หากว่า เธอยังเป็นผู้มีศีล, เธอยังวัตรให้เต็มแล้ว จักได้ความระงับ.
หากว่า เธอจักเป็นผู้ไม่มีศีล, เธอจักเป็นผู้อันสงฆ์ให้ฉิบหายอย่างนั้นเทียว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
สมถักขันธกวรรณนา จบ.