เมนู

อธิกรณวิภาค


คำว่า อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ ? ดังนี้ เป็นต้น พึงทราบ
ด้วยอำนาจแห่งบาลีนั่นแล.
ในคำว่า วิวาทาธิกรณํ สิยา กุสลํ เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมวิวาทกันด้วยจิตตุปบาท
ใด, จิตตุปบาทนั้น ชื่อวิวาทและชื่ออธิกรณ์ เพราะความเป็นเหตุที่
จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจแห่งคำที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าหมายเอาตรัสไว้ในบาลีนี้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นอกุศลก็มี
ที่เป็นอัพยากฤตก็มี อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี.
จริงอยู่ กุศลจิตเป็นองค์ในอาปัตตาธิกรณ์ มีขุดแผ่นดินเป็นต้น
อันใด เมื่อกุศลจิตนั่น ซึ่งเป็นองค์แห่งอาปัตตาธิกรณ์นั่น ที่ถือเอา
โดยความเป็นอาบัติมีอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวได้ว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
กุศลไม่มี.
เพราะเหตุนั้น คำว่า อาปัตตาธิกรณ์ที่เป็นกุศลไม่มี นี้ชื่อว่า
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาจิตที่พอเป็นองค์ หามิได้. แต่ว่า
พระองค์ตรัสหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์ดังนี้ :-
อาปัตตาธิกรณ์ใด เป็น โลกวัชชะก่อน อาปัตตาธิกรณ์นั้นเป็น
อกุศลโดยส่วนเดียวเท่านั้น, ความกำหนดว่า กุศลพึงมี ดังนี้ย่อมไม่มี
ในโลกวัชชะนั้น.
ส่วนอาปัตตาธิกรณ์ใด เป็นปัณณัตติวัชชะ, อาปัตตาธิกรณ์นั้น
ย่อมเป็นอกุศลเฉพาะแก่ภิกษุผู้แกล้งก้าวล่วงอยู่ว่า เราจะก้าวล่วงอาบัตินี้,

แต่อาปัตตาธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นอัพยากฤต โดยความต้องด้วยอำนาจแห่ง
สหไสยเป็นต้น ของภิกษุผู้ไม่แกล้งไม่รู้อะไรเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงหมายเอาความมีแห่งวิกัปป์นี้ ด้วยอำนาจแห่งความแกล้ง
และไม่แกล้ง ในปัณณัตติวัชชะนั้น จึงตรัสคำว่าอาปัตตาธิกรณ์ที่เป็น
อกุศลก็มี. ที่เป็นอัพยากฤตมี, อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศลไม่มี.
ก็ถ้าว่า ใคร ๆ พึงกล่าวว่า ภิกษุมีจิตเป็นกุศล ย่อมต้องอาปัตตา
ธิกรณ์ใด, อาปัตตาธิกรณ์นี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็นกุศล.
กุศลจิตจะพึงเข้ากันได้แม้แก่เอฬกโลมสมุฏฐาน และปทโสธรรมเทศนา
สมุฏฐานเป็นต้น ซึ่งเป็นอจิตตกะ. แต่กุศลจิตแม้มีอยู่ในกิริยาที่ต้องนั้น
ก็ไม่จัดเป็นองค์แห่งอาบัติ.
ส่วนกายวาจาที่เคลื่อนไหวเป็นไป ด้วยอำนาจกายวิญญัติ และวจี
วิญญัติ อันใดอันหนึ่งนั้นแล ย่อมเป็นองค์เเห่งอาบัติ. ก็แต่ว่าองค์นั้น
จัดเป็นอัพยากฤต เพราะความที่องค์นั้นเป็นส่วนอันนับเนื่องในรูปขันธ์
ก็แล ในคำว่า ยํ ชานนฺโต เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ. รู้อยู่ซึ่งวัตถุด้วยจิตนั้น และรู้อยู่
รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วงว่า เรากำลังก้าวล่วงวัตถุนี้ และ
เเกล้งคือจงใจ ด้วยอำนาจวีตกกมเจตนา เหยียบย่ำอยู่ด้วยอำนาจความ
พยายาม ฝ่าฝืน คือ ส่งจิตอันปราศจากความรังเกียจไป ย่อมก้าว
ล่วงไป คือ ย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด. วีติกกมะใดของภิกษุนั้นผู้
ก้าวล่วงด้วยประการอย่างนั้น, วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่าอาปัตตาธิกรณ์
เป็นอกุศล.

เนื้อความแม้ในอัพยากตวาระ พึงทราบดังนี้:-
จิตใดย่อมเป็นองค์แห่งอาบัติ, ไม่รู้อยู่โดยความไม่มีแห่งจิตนั้นทั้ง
ไม่รู้อยู่ ไม่รู้พร้อมอยู่ กับด้วยอาการคือก้าวล่วง ไม่จงใจ โดยความ
ไม่มีวีติกกมะเจตนา ซึ่งเป็นองค์แห่งอาบัติ ไม่ฝ่าฝืน คือไม่ได้ส่งจิต
อันปราศจากความรังเกียจไป โดยความไม่มีความแกล้งเหยียบย่ำย่อมก้าว
ล่วงคือย่อมต้องอาปัตตาธิกรณ์ใด วีติกกมะใดของภิกษุนั้น ผู้ก้าวล่วง
อยู่ด้วยประการอย่างนั้น วีติกกมะนี้ ท่านกล่าวว่า อาปัตตาธิกรณ์เป็น
อัพยากฤต.
ในคำว่า อยํ วิวาโท โน อธิกรณํ เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า วิวาทนี้ ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็น
กิจที่จะต้องระงับด้วยสมถะทั้งหลาย.
ในคำว่า ยาวติกา ภิกฺขู กมฺมปฺปตฺตา นี้ พึงทราบว่า
ในกรรมที่จะกระทำด้วยสงฆ์จตุวรรค ภิกษุ 4 รูป เป็นผู้พอทำกรรมให้
เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงกระทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรค ภิกษุ 5 รูปเป็นผู้
พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์ทสวรรค ภิกษุ 10
รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ, ในกรรมที่จะพึงทำด้วยสงฆ์วีสติวรรคภิกษุ
20 รูปเป็นผู้พอทำกรรมให้เสร็จ.
บทว่า สุปริคฺคหิตํ มีความว่า อธิกรณ์นั้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้เจ้าถิ่น พึงกระทำให้เป็นการอันตนป้องกันรอบครอบดีแล้วจึงรับ.
ก็แล ครั้นรับแล้ว พึงกล่าวว่า วันนี้ พวกเราจะชักจีวร,

วันนี้ พวกเราจะระบมบาตร, วันนี้ มีกังวลอยู่อย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
ปล่อยให้ล่วงไป 2-3 วัน เพื่อประโยชน์แก่การข่มมานะ.

อุพพาหิกา


ข้อว่า อนนฺตานิ เจว ภสฺสานิ ชายนฺติ มีความว่า ถ้อยคำ
ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณเกิดขึ้นข้างนี้และข้างนี้. ปาฐะว่า ภาสานิ ก็มี
เนื้อความเหมือนกันนี้ .
สองบทว่า อุพฺพาหิกาย สมฺมนฺนิตพฺโพ มีความว่า ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 10 รูป อันสงฆ์พึงอุปโลกน์สมมติ หรือสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรมวาจา ซึ่งกล่าวแล้วข้างหน้า. ก็อันภิกษุทั้งหลายผู้ได้รับ
สมมติแล้วอย่างนั้น พึงนั่งต่างหากแล้ววินิจฉัยอธิกรณ์นั้น หรือพึง
ประกาศแก่บริษัทนั้นนั่นแลว่า ภิกษุเหล่าอื่นอย่าพึงกล่าวคำไร ๆ แล้ว
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นก็ได้.
บทว่า ตตฺรสฺส มีความว่า ภิกษุเป็นธรรมกถึก พึงมีใน
บริษัทนั้น.
สองบทว่า เนว สุตฺตํ อาคตํ คือ จำมาติกาไม่ได้.
สองบทว่า โน สุตฺตวิภงฺโค คือ วินัยไม่แม่นยำ.
ข้อว่า พฺยญฺชนฉายาย อตฺถํ ปฏิพาหติ มีความว่า พระ
ธรรมกถึกนั้นถือเอาเพียงพยัญชนะเท่านั้น ค้านใจความ คือ เห็นพวก
ภิกษุผู้อันภิกษุผู้วินัยธรทั้งหลายปรับอยู่ด้วยอาบัติ เพราะรับทองเงินและ
นาสวนเป็นต้น จึงกล่าวว่า ทำไมท่านทั้งหลายจึงปรับภิกษุเหล่านี้ด้วย