เมนู

ผู้อลัชชีนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งบุคคลผู้อลัชชี มี
แกล้งต้องเป็นต้น.
ผู้เป็นไปกับอนุวาทะนั้น คือ ผู้เป็นไปกับด้วยการโจท.
เหตุ 3 อย่างด้วยอำนาจองค์ 3 เหล่านี้ และความกระทำ 2 นี้
คือการที่สงฆ์ทำ 1 การที่สงฆ์พร้อมเพรียงทำโดยธรรม 1 รวมเป็น
ความกระทำแห่งตัสสปาปิยสิกากรรม 5 ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือใน
ตัสสปาปิยสิกากรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมเป็นต้นนั่นแล.
ส่วนเนื้อความเฉพาะคำในบทว่า ตสฺส ปาปิยสิกากมฺมํ นี้ พึง
ทราบดังนี้. จริงอยู่ กรรมนี้ท่านเรียก ตัสสปาปิยสิกากรรม เพราะ
ความเป็นกรรมที่สงฆ์พึงทำแก่บุคคลผู้เลวทราม โดยความเป็นคนบาป
หนา.

ติณวัตถารกะ


สองบทว่า กกฺขฬตาย วาฬตาย มีความว่า อธิกรณ์นั้นพึง
เป็นไปเพื่อความหยาบข้า และเพื่อความร้ายกาจ.
บทว่า เภทาย มีความว่า เพื่อความแตกแห่งสงฆ์.
ข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌํ มีความว่า ไม่พึงนำฉันทะของ
ใคร ๆ มา แม้ภิกษูผู้อาพาธก็พึงนำมาประชุมโดยความเป็นหมู่เดียวกัน ใน
ที่ประชุมนั้นนั่นเทียว.
ในคำว่า ติณวตฺถารเกน วูปสเมยฺย นี้ กรรมนี้ท่านเรียกว่า
ติณวัตถารกะ ก็เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.

เหมือนอย่างว่า คูถหรือมูตรอันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเบียดเบียน
โดยความเป็นของมีกลิ่นเหม็น, แต่เมื่อคูถหรือมูตรนั้น อันบุคคลกลบ
แล้วด้วยหญ้าปิดมิดชิดดีแล้ว กลิ่นนั้น ย่อมเบียดเบียนไม่ได้ฉันใด;
อธิกรณ์ใด ถึงความเป็นมูลใหญ่มูลน้อย (แห่งอธิกรณ์) อันสงฆ์ระงับอยู่
จะเป็นไปเพื่อความหยาบช้า เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน, อธิกรณ์
นั้น ระงับด้วยกรรมนี้แล้วย่อมเป็นอันระงับด้วยดี เหมือนคูถที่ปิดไว้
ด้วยเครื่องกลบคือหญ้า ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล เพราะเหตุนั้น กรรมนี้ท่าน
จึงเรียกว่า ติณวัตถารกะ เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.
อาบัติที่เป็นโทษล่ำนั้น ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
บทว่า คิหิปฏิสํยุตฺตํ คือเว้นอาบัติที่ต้อง เพราะคำว่าคฤหัสถ์
ด้วยคำเลว และรับแล้วไม่ทำตามรับที่เป็นธรรม.
ข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว เต ภิกฺขู ตาหิ อาปตฺตีหิ
วุฏฺฐิตา โหนฺติ
มีความว่า เมื่อติณวัตถารกกรรมวาจาอันภิกษุทั้ง 2
ฝ่าย ทำแล้วอย่างนั้นในขณะจบกรรมวาจา ภิกษุมีประมาณเท่าใด ซึ่ง
ประชุมในที่นั้น โดยที่สุดภิกษุผู้หลับก็ดี ผู้เข้าสมาบัติก็ดี ผู้ส่งใจไป
ในที่อื่นก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ต้องแล้วซึ่งอาบัติทั้งหลายที่เหลือ
เหล่าใด นอกจากอาบัติที่เป็นโทษล่ำ และอาบัติที่เนื่องเฉพาะด้วยคฤหัสถ์
จำเดิมแต่มณฑลแห่งอุปสมบท ย่อมเป็นผู้ออกแล้วจากอาบัติเหล่านั้น
ทั้งปวง.
บทว่า ทิฏฺฐาวิกมฺมํ มีความว่า ฝ่ายภิกษุเหล่าใด ทำความ
เห็นแย้งกันและกันว่า ข้อนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า หรือว่าภิกษุเหล่าใด

แม้ต้องอาบัติกับภิกษุเหล่านั้น แต่ไม่มาในที่ประชุมนั้น หรือว่าภิกษุเหล่า
ใดมาแล้ว มอบฉันทะแล้วนั่งในที่ทั้งหลายมีบริเวณเป็นต้น, ภิกษุเหล่า
นั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ออกจากอาบัติเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นผู้ทำความเห็นแย้ง เว้นผู้มีได้อยู่ในที่นั้น.

อธิกรณ์ 4


สองบทว่า ภิกฺขุนีนํ อนูปขชฺช ได้แก่ แทรกแซงภายใน
หมู่นางภิกษุณี. เนื้อความเฉพาะคำแห่งอธิกรณ์ทั้งหลายมีวิวาทาธิกรณ์
เป็นต้น ได้กล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งทุฏฐโทสสิกขาบท.
สองบทว่า วิปจฺจตาย โวหาโร ได้แก่ โวหารเพื่อทุกข์แก่
จิต, ความว่า คำหยาบ.
หลายบทว่า โย ตตฺถ อนุวาโท คือการโจทใด ในเมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นโจทอยู่.
บทว่า อนุวทนา นี้ เป็นคำแสดงอาการ. ความว่า กิริยา
ที่โจท.
สองบทว่า อนุลฺลปนา อนุภณนา สักว่าเป็นไวพจน์ของ
กิริยาที่โจทเท่านั้น.
บทว่า อนุสมฺปวงฺกตา มีความว่า ความเป็นผู้คล้อยตามคือ
ความเป็นผู้พลอยประสม ในการโจทนั้นนั่นแล ด้วยกายจิตและวาจา
บ่อย ๆ.
1. สมนุต. ทุติยา. 101.