เมนู

บทว่า ชานาติ คือ เมื่อจับสลากรู้ว่า อธรรมวาทีบุคคล
มากกว่า.
บทว่า อปฺเปว นาม คือ อัธยาศัยของภิกษุนั้นย่อมเป็นดังนี้ว่า
เมื่อสลากอันเราให้ภิกษุทั้งหลายจับอยู่ด้วยอุบายนี้ ชื่อแม้ไฉนอธรรมวาที
บุคคลจะพึงเป็นผู้มากกว่า แม้ในอีก 2 บท ก็มีนัยเหมือนกัน.
สองบทว่า อธมฺเมน คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที จับ
สลากรูปละ 2 สลาก ด้วยคิดว่า พวกเราจักเป็นผู้มากกว่า ด้วยการ
จับสลากอย่างนี้.
สองบทว่า วคฺคา คณฺหนฺติ คือ พวกอธรรมวาที สำคัญอยู่
ว่า ธรรมวาที 2 รูป จับธรรมวาทีสลากอัน 1 ด้วยการจับสลากอย่าง
นี้ พวกธรรมวาที จักเป็นผู้ไม่มากกว่า
สองบทว่า น จ ยถาทิฏฺฐิยา คณฺหนฺติ คือ จับสลากฝ่าย
อธรรมวาที ด้วยคิดว่า เราเป็นพวกธรรมวาที จักเป็นฝ่ายมีกำลัง. ใน
การจับสลากที่เป็นธรรม พึงทราบเนื้อความเช่นนี้แล แต่กลับความเสีย.
ครั้นให้จับสลากแล้วอย่างนั้น ถ้าธรรมวาทีเป็นฝ่ายมากกว่า พวกเธอ
กล่าวอย่างใด พึงระงับอธิกรณ์นั้นอย่างนั้น; อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วย
เยภุยยสิกา ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นเนื้อความสังเขปในสมถักขันธกะนี้,
ส่วนเนื้อความพิสดาร จักมาข้างหน้าบ้าง.

ตัสสปาปิยสิกากรรม


ผู้ไม่สะอาดนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยกายกรรมและวจีกรรมอัน ไม่
สะอาด.

ผู้อลัชชีนั้น คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งบุคคลผู้อลัชชี มี
แกล้งต้องเป็นต้น.
ผู้เป็นไปกับอนุวาทะนั้น คือ ผู้เป็นไปกับด้วยการโจท.
เหตุ 3 อย่างด้วยอำนาจองค์ 3 เหล่านี้ และความกระทำ 2 นี้
คือการที่สงฆ์ทำ 1 การที่สงฆ์พร้อมเพรียงทำโดยธรรม 1 รวมเป็น
ความกระทำแห่งตัสสปาปิยสิกากรรม 5 ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือใน
ตัสสปาปิยสิกากรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมเป็นต้นนั่นแล.
ส่วนเนื้อความเฉพาะคำในบทว่า ตสฺส ปาปิยสิกากมฺมํ นี้ พึง
ทราบดังนี้. จริงอยู่ กรรมนี้ท่านเรียก ตัสสปาปิยสิกากรรม เพราะ
ความเป็นกรรมที่สงฆ์พึงทำแก่บุคคลผู้เลวทราม โดยความเป็นคนบาป
หนา.

ติณวัตถารกะ


สองบทว่า กกฺขฬตาย วาฬตาย มีความว่า อธิกรณ์นั้นพึง
เป็นไปเพื่อความหยาบข้า และเพื่อความร้ายกาจ.
บทว่า เภทาย มีความว่า เพื่อความแตกแห่งสงฆ์.
ข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌํ มีความว่า ไม่พึงนำฉันทะของ
ใคร ๆ มา แม้ภิกษูผู้อาพาธก็พึงนำมาประชุมโดยความเป็นหมู่เดียวกัน ใน
ที่ประชุมนั้นนั่นเทียว.
ในคำว่า ติณวตฺถารเกน วูปสเมยฺย นี้ กรรมนี้ท่านเรียกว่า
ติณวัตถารกะ ก็เพราะเป็นกรรมคล้ายกลบไว้ด้วยหญ้า.