เมนู

สองบทว่า ธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่ธรรม-
วาทีบุคคล ไม่ยังอธรรมวาทีบุคคลให้หลงแสดงธรรมนั่นเอง โดยนัยมี
คำว่า นี้เป็นธรรม เป็นต้น. อธิกรณ์จึงชื่อว่า ระงับโดยธรรม.

สติวินัย


ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ธมฺมิกานิ สติวินยสฺส
ทานานิ
นี้ การให้มี 5 อย่างนี้ คือให้แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
1 ให้แก่ภิกษุถูกโจท 1 ให้แก่ภิกษุผู้ขอ 1 สงฆ์ให้เอง 1 สงฆ์
พร้อมเพรียงกันตามธรรมให้ 1
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
อันการให้สติวินัย 5 นี้ ภิกษุย่อมได้ด้วยอำนาจองค์หนึ่ง ๆ หามิได้
เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นสักว่าเทศนาเท่านั้น. แต่การให้สติวินัย
ประกอบด้วยองค์ 5 จึงชอบธรรม.
ก็แล บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนุวทนฺติ ได้แก่ โจท. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
อนึ่ง สติวินัยนี้ พึงให้แก่พระขีณาสพเท่านั้น, ไม่พึงให้แก่ภิกษุ
อื่น โดยที่สุดแม้เป็นพระอนาคามี.
ก็สติวินัยนั้นแล พึงให้แก่พระขีณาสพซึ่งถูกภิกษุอื่นโจทเท่านั้น
ไม่พึงให้แก่พระขีณาสพผู้ไม่ถูกโจท.
ก็แล ครั้นเมื่อสติวินัยนั้นอันสงฆ์ให้แล้ว ถ้อยคำของโจทย่อม
ไม่ขึ้น. แม้บุคคลผู้ขืนโจท ย่อมถึงความเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึง

รุกรานว่า ภิกษุนี้ เป็นพระขีณาสพ ได้สติวินัยแล้ว, ใครจักเชื่อถือ
ถ้อยคำของท่าน.

อมูฬหวินัย


บทว่า ภาสิตปริกนฺตํ ได้แก่ กล่าวด้วยวาจา พยายามด้วยกาย
นั่นเทียว อธิบายว่า ฝ่าฝืนกระทำ.
ในคำว่า สรตายสฺมา เอวรูปี อาปตฺตึ อาปชฺชิตา นี้ มี
เนื้อความดังนี้ว่า ผู้มีอายุ จงระลึกถึงอาบัติเห็นปานนี้, ผู้มีอายุ ต้อง
ซึ่งอาบัติเห็นปานนี้ ปาฐะว่า อาปชฺชิตฺวา ก็มี. ความแห่งปาฐะ
นั้นว่า ผู้มีอายุต้องก่อนแล้ว ภายหลังจงระลึกถึงอาบัตินั้น.

เยภุยยสิกา


ในคำว่า เยภุยฺยสิกาย วูปสเมตุํ นี้ ธรรมวาทีบุคคลแห่งกิริยา
ใด เป็นผู้มากกว่า กิริยานั้นชื่อ เยภุยยสิกา.
วินิจฉัยการจับสลากที่ไม่เป็นธรรม พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า โอรมตฺตกํ คือ อธิกรณ์เป็นเรื่องเล็ก คือ มีประมาณ
น้อย เป็นแต่เพียงความบาดหมางเท่านั้น.
บทว่า น จ คติคตํ คือ อธิกรณ์ไม่ลุกลามไปถึง 2-3 อาวาส
หรือไม่ได้วินิจฉัยถึง 2-3 ครั้งในอาวาสนั้น ๆ เท่านั้น
บทว่า น จ สริตสาริตํ คือ อธิกรณ์นั้น ไม่เป็นเรื่องที่ภิกษุ
เหล่านั้นระลึกได้เอง หรือภิกษุเหล่าอื่นเตือนให้ระลึกได้ถึง 2-3 ครั้ง