เมนู

สมถักขันธกวรรณนา


สัมมุขาวินัย


วินิจฉัยในสมถักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางบทมาติกา 6 มีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล
เป็นต้น ตรัสความพิสดารโดยนัยมีคำว่า อธมฺมวาที
ปุคฺคโล ธมฺมวาทึ ปุคฺคลํ สญฺญาเปติ
เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญาเปติ ได้แก่ กล่าวถ้อยคำ
ที่สมกับเหตุ ขู่ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺเฌเปติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะจ้องดู คือเล็งแล
เนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำด้วยประการนั้น.
สองบทว่า เปกฺเขติ อนุเปกฺเขติ คือธรรมวาทีบุคคลนั้นจะ
เพ่งเล็งและเพ่งเล็งบ่อย ๆ ซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยประการใด, ย่อมทำ
ด้วยประการนั้น .
สองบทว่า ทสฺเสติ อนุทสฺเสติ เป็นคำบรรยาแห่งสองบทว่า
เปกฺเขติ อนุปกฺเขติ นั้นแล.
สองบทว่า อธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่
อธรรมวาทีบุคคลนั้น ยังธรรมวาทีบุคคลนั้นให้หลงแล้ว แสดงอธรรม
นั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นธรรม, อธิกรณ์จึงชื่อว่าระงับโดย
อธรรม.

สองบทว่า ธมฺเมน วูปสมติ มีความว่า เพราะเหตุที่ธรรม-
วาทีบุคคล ไม่ยังอธรรมวาทีบุคคลให้หลงแสดงธรรมนั่นเอง โดยนัยมี
คำว่า นี้เป็นธรรม เป็นต้น. อธิกรณ์จึงชื่อว่า ระงับโดยธรรม.

สติวินัย


ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว ธมฺมิกานิ สติวินยสฺส
ทานานิ
นี้ การให้มี 5 อย่างนี้ คือให้แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
1 ให้แก่ภิกษุถูกโจท 1 ให้แก่ภิกษุผู้ขอ 1 สงฆ์ให้เอง 1 สงฆ์
พร้อมเพรียงกันตามธรรมให้ 1
ในคำว่า ปญฺจิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า
อันการให้สติวินัย 5 นี้ ภิกษุย่อมได้ด้วยอำนาจองค์หนึ่ง ๆ หามิได้
เพราะฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นสักว่าเทศนาเท่านั้น. แต่การให้สติวินัย
ประกอบด้วยองค์ 5 จึงชอบธรรม.
ก็แล บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนุวทนฺติ ได้แก่ โจท. บทที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
อนึ่ง สติวินัยนี้ พึงให้แก่พระขีณาสพเท่านั้น, ไม่พึงให้แก่ภิกษุ
อื่น โดยที่สุดแม้เป็นพระอนาคามี.
ก็สติวินัยนั้นแล พึงให้แก่พระขีณาสพซึ่งถูกภิกษุอื่นโจทเท่านั้น
ไม่พึงให้แก่พระขีณาสพผู้ไม่ถูกโจท.
ก็แล ครั้นเมื่อสติวินัยนั้นอันสงฆ์ให้แล้ว ถ้อยคำของโจทย่อม
ไม่ขึ้น. แม้บุคคลผู้ขืนโจท ย่อมถึงความเป็นผู้อันภิกษุทั้งหลายพึง