เมนู

คำขอสติวินัย


ท่านเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทข้าพเจ้าด้วยศีล
วิบัติ อันไม่มีมูล ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์
แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[684] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สติวินัย


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้
ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมโจทภิกษุมีชื่อนี้ ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล เธอถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้
สติวินัยแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง.......
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม.......
สติวินัยอันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วย
อะไร? ด้วยสัมมุขาวินัยกับสติวินัย ในสัมมุขาวินัยนั้นมีอะไรบ้าง? มี
ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ความพร้อมหน้าบุคคล....
ก็ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขาวินัยนั้นอย่างไร? คือ โจทก์และ
จำเลยทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน นี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าบุคคลในสัมมุขา
วินัยนั้น
ในสติวินัยนั้นมีอะไรบ้าง ? มีกิริยา ความกระทำ ความเข้าไป
ความเข้าไปเฉพาะ ความรับรอง ความไม่คัดค้านกรรม คือสติวินัย
อันใด นี้มีในสติวินัยนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน
[685] บางทีอนุวาทาธิกรณ์ไม่อาศัยสมถะ 2 อย่าง คือ สติ
วินัย 1 ตัสสปาปิยสิกา 1 พึงระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง สัมมุขาวินัย 1
อมูฬหวินัย 1 บางทีพึงตกลงกันได้ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ วิกลจริต มีจิต
แปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่
กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทเธอด้วยอาบัติ
ที่เธอวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้อง
อาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่
สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้า
ระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอ
กล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธออยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น ผู้หายหลง
แล้ว ก็แล สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคอง
อัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-

คำขออมูฬหวินัย


ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้ง
ที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลาย
โจทข้าพเจ้า ด้วยอาบัติที่ข้าพเจ้าวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก