เมนู

3. อาปัตตาธิกรณ์


[635] ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์ เป็นไฉน?
อาบัติทั้ง 5 กอง ซึ่งอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่ออาปัตตา
ธิกรณ์ นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์.

4. กิจจาธิกรณ์


[636] ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น กิจจาธิกรณ์ เป็นไฉน? ความ
เป็นหน้าที่ ความเป็นกรณีย์แห่งสงฆ์อันใด คือ อปโลกนกรรม ญัตติ
กรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์.
อธิกรณ์ 4 อย่าง จบ

มูลแห่งวิวาทาธิกรณ์


[637] อะไรเป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งการเถียงกัน 6
อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ รากแห่งอกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทา
ธิกรณ์ รากแห่งกุศลทั้ง 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์
รากแห่งการเถียงกัน 6 อย่าง เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ เป็น
ผู้ถือโกรธ ภิกษุที่มักโกรธ ถือโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง
ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์
แม้ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม
ในพระสงฆ์ แม้ในสิกขาก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดใน

สงฆ์ การวิวาทย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุข
แก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์
แก่เทพยดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่ง
การเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้น
พึงพยายามละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็ง
เห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอ
ในบริษัทนั้นพึงปฏิบัติเพื่อความยืดยาวไป แห่งรากแห่งการเถียงกันอัน
ลามกนั้นแหละ ความละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วย
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอย่างนี้.
[638] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่
ตีเสมอท่าน.....
ภิกษุเป็นผู้มีปรกติอิสสา ตระหนี่....
ภิกษุเป็นผู้อวดดี เจ้ามายา...
ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด....
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้
ยาก ภิกษุผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถืออย่างแน่นแฟ้น ปลดได้ยากนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ใน
พระสงฆ์อยู่ ย่อมไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ
ยำเกรง ในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์อยู่ แม้ในสิกขา
ก็ไม่ทำให้บริบูรณ์นั้น ย่อมยังวิวาทให้เกิดในสงฆ์ การวิวาทย่อมเป็น
ไปเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนมาก เพื่อความ

พินาศแก่ขนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเล็งเห็นรากแห่งการเถียงกันเห็นปานนี้
ทั้งภายในและภายนอกได้ พวกเธอในบริษัทนั้นพึง พยายามมละรากแห่ง
การเถียงกันอันลามกนั้นแหละเสีย ถ้าพวกเธอไม่เล็งเห็นรากแห่งการเถียง
กันเห็นปานนี้ ทั้งภายในและภายนอก พวกเธอในบริษัทนั้น พึง
ปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อแห่งรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้นแหละ ความ
ละรากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่ง
รากแห่งการเถียงกันอันลามกนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอย่างนี้ รากแห่งการ
วิวาท 6 อย่างนี้ เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์.

อกุศลมูล 3


[639] รากแห่งอกุศล 3 เป็นมูลแห่งวิวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ มีจิตโลภวิวาทกัน
มีจิตโกรธวิวาทกัน มีจิตหลงวิวาทกันว่า
1. นี้เป็นธรรม นี้ไม่เป็นธรรม
2. นี้เป็นวินัย นี้ไม่เป็นวินัย
3. นี้พระตถาคตเจ้าตรัสภาษิตไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ตรัส
ภาษิตไว
4. นี้พระตถาคตเจ้าทรงประพฤติมา นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
ประพฤติมา
5. นี้พระตถาคตเจ้าทรงบัญญัติไว้ นี้พระตถาคตเจ้าไม่ได้ทรง
บัญญัติไว้