เมนู

คำขอสติวินัย


ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้
โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ข้าพเจ้านั้นถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง....
พึงขอแม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ภิกษุเมตติยะ
และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทข้าพเจ้าด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล
ข้าพเจ้านั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะ
สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม.

[598] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สติวินัย


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ
เเละภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล
วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม
พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สติวินัย แก่ท่านพระ
ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะ
และภิกษุภุมมชกะนี้ โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีล

วิบัติอันไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัย
แก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
การให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความ
ไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็น
ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะนี้
โจทท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ท่าน
พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แต่งสติแล้ว ขอ
สติวินัยกะสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร
ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว การให้สติวินัยแต่ท่าน
พระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบ
แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงพูด
สติวินัย อันสงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลล-
บุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.

การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี 5 อย่าง


[599] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี 5 อย่าง
นี้ คือ ภิกษุเป็นผู้หมดจด ไม่ต้องอาบัติ 1 ผู้อื่นโจทเธอ 1 เธอ
ขอ 1 สงฆ์ให้สติวินัยแก่เธอ 1 สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่เป็นธรรมมี 5 อย่างนี้แล.

เรื่องพระคัคคะ


[600] โดยสมัยนั่นแล พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทพระคัคคะด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต
มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จง
ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า
วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ข้าพเจ้านั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
ได้ประพฤติละเมิดกิจอันไม่ควรแก่สมณะเป็นอันมาก ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ข้าพเจ้าระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ ข้าพเจ้าหลง ได้
ทำสิ่งนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้อันเธอกล่าวอยู่แม้อย่างนั้น ก็ยังโจทเธอ
อยู่ตามเดิมว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ บรรดา
ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้โจทพระคัคคะ ด้วยอาบัติที่เธอวิกลจริต มี
จิตแปรปรวน พระพฤติละเมิดต้องแล้วว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึก
อาบัติเห็นปานนี้ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าวิกลจริต