เมนู

ไปแทน. พึงบอกแก่ภิกษุ 4 รูปซึ่งนางภิกษุเหล่านั้นนำมา. ถ้าวัดอยู่
ไกลทั้งน่ารังเกียจ, พึงชวนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายไปด้วย.
ก็ถ้านางภิกษุณีนี้อยู่ตามลำพัง, ย่อมต้องอาบัติเพราะรัตติวิปปวาส;
เพราะเหตุนั้น สงฆ์พึงสมมตินางภิกษุณีผู้ปกตัตตะรูป 1 ให้แก่นางภิกษุณี
นั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน. นางภิกษุณีประพฤติ
มานัตไม่ขาด อย่างนั้นแล้ว พึงทำอัพภานตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุ
สงฆ์ ซึ่งมี 1 รูปเป็นคณะนั้นแล.
ในกุรุนทีแก้ว่า ถ้ากำลังประพฤติมานัต ต้องอันตราบัติ สงฆ์
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว ให้มานัต เพื่ออาบัตินั้น. นี้ชื่อว่าปักขมานัต.

สโมธานมานัต


ส่วนสโมธานมานัต มี 3 อย่าง คือ โอธานสโมธาน 1 อัคฆ-
สโมธาน 1 มิสสกสโมธาน 1.
ใน 3 อย่างนั้น ที่ชื่อโอธานสโมธาน ได้แก่ มานัตที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ข้างหน้า สำหรับพระอุทายีเถระ ผู้กำลังอยู่
ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ 5 วัน ต้องอันตราบัติในปริวาส และในฐานะ
ที่เป็นผู้ควรแก่มานัต ถูกสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 3 ตัว แก่
ภิกษุอุทายี ดังนี้ .

จริงอยู่ มานัตชนิดนี้ สงฆ์เลิกล้มวันที่อยู่ปริวาสแล้วเสียด้วย
มูลายปฏิกัสสนะซ้ำ ๆ กัน ประมวลให้พร้อมกับอาบัติเดิมทั้งหลาย เพราะ
ฉะนัน จึงเรียกว่า โอธานสโมธาน.
ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า มานัตที่สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้อยู่สโมธานปริวาส
แล้ว ชื่อว่าสโมธานมานัต แม้คำนั้น ก็ถูกโดยปริยายนั้น.
ส่วนอัคฆสโมธานและมิสสกสโมธาน ท่านเรียกเฉพาะมานัตที่สงฆ์
พึงให้ในที่สุดแห่งอัคฆสโมธานปริวาสและมิสสกสโมธานปริวาส.
อัคฆสโมธานและมิสสกสโมธานนั้น พึงประกอบให้ตามทำนอง
กรรมวาจาแห่งปริวาส.
คำใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในบาลีโดยอาการมากมาย ตามนัยมีคำว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า
กระนั้นสงฆ์จงให้ปริวาส 1 วัน เพื่ออาบัติ 1 ตัว ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ซึ่งปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด ดังนี้เป็นอาทิ, วินิจฉัย
อย่างนี้ ที่ท่านกล่าวไว้ในอาคตสถานแห่งปริวาสและมานัตนั้น ย่อมถึง
ความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี, ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใคร ๆ ไม่อาจกำหนด
ได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัตนั้น
แสดงในอธิการนี้ทีเดียว ดังนี้ คำนี้นั้นเป็นอันข้าพเจ้าให้สำเร็จพร้อม
โดยอธิบาย ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ .
บัดนี้พระบาลีนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสก่อน ด้วยอำนาจ
อาบัติตัวเดียวที่มิได้ปิด, พระบาลีนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปริวาสไว้ในพระบาลี
ด้วยอำนาจแห่งอาบัติที่ปิดไว้ 2 วัน 3 วัน 4 วัน 5 วันเท่านั้น แล้วทรง
แสดงอันตราบัติ จำเดิมแต่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ 5 วัน.
ก็พระอุทายีต้องอาบัตินั้นแล้ว ย่อมจัดเป็นผู้ควรแก่มุลายปฏิกัสสนะ;
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตมูลายปฏิกัสสนะในอาบัติ
ที่ปิดไว้ 5 วันเหล่านั้น แก่พระอุทายีนั้น.
แต่ถ้าเธอเก็บวัตรแล้วต้องไซร้ ย่อมเป็นผู้ไม่สนควรแก่มูลาย-
ปฏิกัสสนะ.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุที่เธอมิได้ต้องกำลังอยู่ปริวาส เธอตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้
ปกตัตตะแล้วต้อง เธอพึงควรแยกประพฤติมานัตเพื่ออาบัตินั้น. ถ้าเธอ
ผู้เก็บวัตรต้องอาบัติแล้วปิดไว้ไซร้ ต้องอยู่ปริวาสด้วย.
เมื่อมูลายปฏิกัสสนะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อันสงฆ์ทำแล้ว,
วันที่เธออยู่ปริวาสแล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอันตราบัติในปริวาสแล้ว ทรงแสดง
อันตราบัติแห่งภิกษุผู้ควรแก่มานัตอีก แล้วจึงตรัสมูลายปฏิกัสสนะ ด้วย
ประการฉะนี้
จริงอยู่ เมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว. วันที่อยู่ปริวาส
แล้วทั้งหลาย ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับนั้น จึงทรงแสดง
สโมธานมานัต เพื่ออาบัติทั้ง 3 ตัวนั้น แห่งภิกษุผู้อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว.

ลำดับนั้น ได้ทรงแสดงอันตราบัติของภิกษุผู้มานัตตจาริกะแล้ว ตรัส
มูลายปฏิกัสสนะ.
ก็ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะนั้น อันสงฆ์ทำแล้ว; วันที่ประพฤติ
มานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสแล้วก็ดี ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้. ลำดับ
นั้นทรงแสดงอันตราบัติแห่งภิกษุผู้ควรแก่อัพภานแล้วตรัสมูลายปฏิกัสสนะ.
ครั้นเมื่อมูลายปฏิกัสสนะแม้นั้น อันสงฆ์ทำแล้ว. วันที่อยู่ปริวาส
และประพฤติมานัตแล้ว เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันเลิกล้มไปแท้.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภานกรรม.
กรรมวาจา 5 ชนิด ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ ที่ปิดไว้วันเดียวเป็น
ต้น กรรมวาจา 4 ชนิด ด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติทั้งหลาย รวม
เป็นกรรมวาจา 9 ชนิด เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วใน
ปฏิจฉันนวาระ ด้วยประการฉะนี้.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงแสดงสโมธานปริวาสและสโมธานมานัต
ด้วยอำนาจแห่งอันตราบัติที่ปิดไว้ 5 วัน จำเดิมแต่ภายในแห่งปริวาส
เพื่ออาบัติที่ปิดไว้ปักษ์ 1.
ก็ในอธิการว่าด้วยสโมธานปริวาสและสโมธานมานัตนี้ เมื่อสงฆ์
ทำมูลายปฏิกัสสนะเพื่ออาบัติที่ต้อง แม้ในเวลาที่เป็นมานัตจาริกะ และ
เป็นมานัตตารหะ. วันที่ประพฤติมานัตแล้วก็ดี วันที่อยู่ปริวาสเสร็จแล้ว
ก็ดี เป็นอันเลิกล้มไปทั้งหมดทีเดียว.
เพราะเหตุไร?

เพราะเหตุที่ปิดอันตราบัติไว้. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า สงฆ์จงชักเข้าหาอาบัติเดิม จงให้สโมธานปริวาส เพื่อ
อาบัติเดิมแล้ว จงให้มานัต 6 ราตรี.
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงประกอบอันตราบัติทั้งปวงแสดงอัพภาน-
กรรม ให้จบเรื่องแห่งอาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ.
ลำดับนั้น ทรงแสดงนัย 2 อย่าง คือ เอกาปัตติมูลกนัย 1
อาปัตติวัฑฒนกนัย 1 แล้วทรงแสดงอัคฆสโมธานปริวาส.
แต่นั้น ทรงแสดงเรื่องอาบัติที่ภิกษุแกล้งไม่บอกแล้ว ทรงตั้ง
บาลีโดยนัยมีคำว่า อิธ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น เพื่อแสดงกรรมที่จะพึง
กระทำสำหรับอาบัติที่ภิกษุมิได้บอก ด้วยความไม่แกล้งไม่รู้สึกระลึกไม่ได้
และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรมหรือความรู้สึก ความ
ระลึกได้ และความเป็นผู้ไม่มีความสงสัย เกิดขึ้นบ้างในภายหลัง.
ลำดับนั้น ทรงตั้งบาลีเหมือนอย่างนั้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติ
ทั้งหลาย ซึ่งปิดไว้ด้วยความไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความ
สงสัย ไม่เป็นอันปิด.
ลำดับนั้น ทรงแสดงเรื่องขอปริวาสเดือน 1 เพื่ออาบัติ 2 ตัว
ปิดไว้ 2 เดือน แล้วทรงตั้งบาลีโดยนัยหนหลังนั่นแล เพื่อแสดงกรรม
ที่จะพึงกระทำ สำหรับเดือนนอกนี้ ซึ่งไม่ได้บอก ด้วยไม่ได้แกล้ง
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ในเมื่อลัชชีธรรม
เป็นต้นเกิดขึ้นในภายหลัง เเลเพื่อแสดงข้อที่เดือนซึ่งปิดไว้ ด้วยความ
ไม่รู้สึกระลึกไม่ได้ และความเป็นผู้มีความสงสัย ไม่เป็นอันปิด.

ลำดับนั้น ทรงแสดงสุทธันตปริวาสโดยนัยมีคำว่า อาปตฺติ
ปริยนฺตํ น ชานาติ รตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ
เป็นอาทิ
เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงตั้งบาลีเพื่อทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นตัวอย่าง
แสดงข้อปฏิบัติในคำว่า "สึกแล้วอุปสมบทใหม่" เป็นต้น .
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย
ในระหว่าง กำหนดนับได้ ไม่ได้ปิดไว้ เป็นต้น มีความว่า กำหนด
นับได้ด้วยอำนาจกำหนดอาบัติ และไม่ได้ปิดไว้.
สองบทว่า ปจฺฉิมสฺมึ อาปตฺติกฺขนฺเธ คือกองอาบัตินั้นคงเป็น
อันเดียวกัน, แต่เพราะปกปิดไว้ในภายหลัง ท่านจึงกล่าวว่า ในกอง
อาบัติ ซึ่งมีในภายหลัง. ถึงในคำว่า ปุริมสฺมึ นี้ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำว่า ววตฺถิตา สมฺภินฺนา นี้ เป็นคำยักเรียกอาบัติทั้งหลาย
ที่เป็นสภาคกันและที่เป็นวิสภาคกันนั่นเอง.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า เทฺว ภิกฺขู เป็นต้น เพื่อแสดง
ข้อปฏิบัติในภิกษุผู้ปิดไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิสฺสกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส ที่เจือ
ด้วยลหุกาบัติ มีถุลลัจจัยเป็นต้น.
บทว่า สุทฺธกํ ได้แก่ สังฆาทิเสส เว้นกองลหุกาบัติเสียทั้งนั้น.
เบื้องหน้าแต่นั้น ตรัสคำว่า อิธ ปน ภิกขเว ภิกฺขู สมฺพหุลา
สงฺฆาทิเสสา
เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่อาบัติเหล่านั้นไม่พ้องกันและ
พ้องกัน .

บทไรๆ ที่ชื่อว่า ไม่ชัดเจนโดยพยัญชนะหรือโดยอธิบาย ย่อม
ไม่มีในคำนั้น......
เพราะฉะนั้น คำนั้นและคำทั้งปวงที่ไม่ได้กล่าวไว้ก่อนแต่นี้ พึง
ทราบตามแนวเเห่งพระบาลีนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
สมุจจยักขันธกวรรณนา จบ.

สมถขันธกะ


เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[585] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่
ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้นแล พระฉัพพัคคีย์ กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยส-
กรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรม
บ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย....ต่างก็
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้กระทำกรรม คือ
ตัชชชียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณีย-
กรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
บ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง
อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ลับหลัง จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ