เมนู

พึงให้ภิกษุนั้นขอ 3 ครั้งว่า อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺนิโย อาปชฺชึ เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐิ เอกํ กายสํสคฺคํ
เอกํ ทุฏฺฐุลฺลวาจํ เอกํ อตฺตกามํ เอกํ สญฺจริตํ เอกํ กุฏิการํ
เอกํ วิหารการํ เอกํ ทุฏฺฐโทสํ เอกํ อญฺญภาคิยํ เอกํ สงฺฆ-
เภทกํ เอกํ เภทานุวตฺตกํ เอกํ ทุพฺพจํ เอกํ กุลทูกํ, โสหํ
ภนฺเต สงฺฆํ ตาสํ อาปตฺตีนํ สโนธานปริวาสํ ยาจามิ.
ดังนี้
แล้วพึงให้ปริวาสด้วยกรรมวาจาสมควรแก่คำขอนั้น.
ก็ในมิสสกสโมธานนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งกรรมวาจาประกอบด้วย
อำนาจวัตถุบ้าง ด้วยอำนาจโคตรบ้าง ด้วยอำนาจชื่อบ้าง ด้วยอำนาจ
อาบัติบ้าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล อย่างนี้ว่า สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตฺถุกาโย
ดังนี้ก็ได้ ว่า
สงฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ ดังนี้ก็ได้. นี้ชื่อว่า มิสสก-
สโมธาน.
ส่วนกถาแสดงเรื่องมีอาทิ คือ วัตรที่เก็บและมิได้เก็บในที่สุดแห่ง
กรรมวาจาให้ปริวาสทั้งปวง พึงทราบตามนัยก่อนนั่นแล.
ปริวาสกถา จบ.

ปักขมานัต


บัดนี้ถึงโอกาสแห่งคำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าจักกล่าว
ปักขมานัต และสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาสกถาที่เหลือ เพราะ
ฉะนั้น มานัต 2 อย่างนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมานัตที่สงฆ์พึงให้แก่นาง
ภิกษุณี ชื่อปักขมานัต .

ก็ปักขมานัต สงฆ์พึงให้กึ่งเดือนเท่านั้น ทั้งอาบัติที่ปิด ทั้งอาบัติ
ที่มิได้ปิด. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุณีผู้ล่วง
ครุกรรม พึงพระพฤติปักขมานัตในอุภโตสงฆ์.
ก็ปักขมานัตนั้น อันนางภิกษุณีทั้งหลาย พึงชำระสีมาของตนให้
หมดจดแล้วให้ในวิหารสีมา หรือเมื่อไม่อาจชำระวิหารสีมาให้หมดจด
พึงให้ประชุมคณะจตุวรรค โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดแล้วให้ในขัณฑสีมา
ก็ได้.
ถ้ามีอาบัติตัวเดียว. พึงแต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจอาบัติ
ตัวเดียว. ถ้ามีอาบัติ 2 ตัว หรือ 3 ตัว หรือมากมาย มีวัตถุเดียว
หรือต่าง ๆ วัตถุกัน, พึงถือเอาวัตถุ โคตร นาม และอาบัติที่คน
ปรารถนา แต่งกรรมวาจาประกอบด้วยอำนาจแห่งอาบัติเหล่านั้น ๆ.
อุทาหรณ์ที่พอเป็นทาง ด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว ในปักขมานัต
นั้น ดังนี้:-
นางภิกษุณีผู้ต้องอาบัติ แล้วนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ทำ
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้านางภิกษุณีทั้งหลายผู้แก่กว่านั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ว่า อหํ อยฺเย เอกํ อาปตฺตึ
อาปชฺชึ คามนฺตรํ, สาหํ อยฺเย สงฺฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา
คามนฺตราย ปกฺมานตฺตํ ยาจามิ.
ครั้นให้ขอ 3 ครั้งอย่างนั้นแล้ว
นางภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า ข้าแต่แม่เจ้า
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางภิกษุณีซึ่งนี้รูปนี้ ต้องอาบัติตัว 1 ชื่อ
คามันตรา, เธอขอปักขมานัตต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัว ชื่อคามันตรา

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติ
ตัว 1 ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อนี้. นี้เป็นวาจาประกาศให้รู้.
ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า นางภิกษุณีชื่อนี้ ต้องอาบัติตัว 1
ชื่อคามันตรา, เธอขอปักขมานัต ต่อสงฆ์เพื่ออาบัติตัว 1 ชื่อคามันตรา
สงฆ์ให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว 1 ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณีชื่อ
นี้; การให้ปักขมานัต เพื่ออาบัติตัว 1 ชื่อคามันตรา แก่นางภิกษุณี
ชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง; ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูป
ใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ เป็นครั้งที่ 2 ฯลฯ
เป็นครั้งที่ 3. ข้าแต่แม่เจ้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ฯลฯ ปักขมานัตเพื่อ
อาบัติตัว 1 ชื่อคามันตรา สงฆ์ให้แล้วแก่นางภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่
สงฆ์. เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความข้อนี้ไว้ อย่างนี้ .
ในที่สุดแห่งกรรมวาจา นางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกานั้น พึงสมา-
ทานวัตรแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ ตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุมานัตตกถา
นั่นแล ใคร่จะเก็บวัตรอยู่ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์นั้นนั่นแลก็ได้ เมื่อ
นางภิกษุณีทั้งหลายหลีกไปเสียแล้ว พึงเก็บในสำนักนางภิกษุณีรูปเดียว
หรือในสำนักนางภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน ตามนัยที่กล่าวแล้วก็ได้.
อนึ่ง พึงบอกเก็บในสำนักนางภิกษุณีอื่นผู้เป็นอาคันตุกะ จำเดิม
แต่เวลาที่เก็บวัตรไป ตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตตะ. แต่เมื่อสมาทานใหม่จะรับ
อรุณ ไม่ได้เพื่ออยู่ในสำนักนางภิกษุณีทั้งหลายเป็นแท้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ปักขมานัตอันนางภิกษุณี
พึงประพฤติในอุภโตสงฆ์. เพราะฉะนั้น อาจารย์เละอุปัชฌาย์ของนาง

ภิกษุณีผู้มานัตตจาริกานั้น พึงไปยังวัดแล้วบอกพระมหาเถระ หรือภิกษุ
ผู้เป็นธรรมกถึกรูป 1 ซึ่งตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งผู้สงเคราะห์ว่า วินัยกรรมที่
จะพึงทำแก่นางภิกษุณีรูป 1 มีอยู่, พระผู้เป็นเจ้าโปรดส่งภิกษุ 4 รูป
ไปในสถานที่ทำวินัยกรรมนั้นของเราทั้งหลายเถิด พระมหาเถระหรือภิกษุ
ผู้เป็นธรรมกถึก จะไม่ทำการสงเคราะห์ไม่ได้, ต้องบอกว่า เราจักส่ง
ไปให้.
ในกุรุนทีแก้ว่า นางภิกษุณีผู้ปกตัตตะ 4 รูป พึงพานางภิกษุณีผู้
ประพฤติมานัตออกไปแต่ภายในอรุณ ให้เกิน2 เลฑฑุบาตแต่อุปจาระบ้าน
ออกไป แวะออกจากทางใหญ่ นั่งในที่ซึ่งกอไม้และรั้วเป็นต้นกำบังไว้.
พึงให้เกิน 2 เลฑฑุบาต แม้แต่อุปจาระแห่งวัดออกไป ฝ่ายภิกษุผู้
ปกตัตตะ 4 รูป พึงไปในที่นั้น. ก็แลครั้นไปแล้ว ไม่พึงนั่งในที่เดียว
กับนางภิกษุณีทั้งหลาย พึงหลีกไปนั่งในที่ไม่ไกลกัน .
ส่วนในมหาปัจจรีเป็นต้นแก้ว่า แม้นางภิกษุณีทั้งหลายก็ควรชวน
อุบาสิกา 1 คน หรือ 2 คน ซึ่งเป็นผู้ฉลาดไปด้วย เพื่อประโยชน์แก่
การรักษาตน ฝ่ายภิกษุทั้งหลายพึงชวนอุบาสก 1 คน หรือ 2 คนไปด้วย
เพื่อประโยชน์แก่การรักษาตน.
เฉพาะในกุรุนทีแก้ว่า จะละอุปจาระแห่งสำนักภิกษุณีและวัดของ
ภิกษุ ก็ควร, ไม่แก้ว่า จะละอุปจาระแห่งบ้าน ก็ควร. ครั้นภิกษุ
ทั้งหลายและนางภิกษุณีทั้งหลาย นั่งแล้วอย่างนั้น นางภิกษุณีนั้นพึง
สมาทานวัตรว่า มานตฺตํ สมาทิยามิ วตฺตํ สมาทิยามิ แล้วพึงบอก
แก่ภิกษุณีสงฆ์ก่อนอย่างนี้ว่า อหํ อยฺเย เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ

คามนฺตรํ, สาหํ สงฆํ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺตราย ปกฺข-
มานตฺตํ ยาจึ. ตสฺมา เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา คามนฺ-
ตราย ปกฺขมานตฺตํ อทาสิ. สาหํ ปกฺขมานตฺตํ จรามิ. เวทยา-
มหํ อยฺเย, เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ.

ภายหลัง พึงไปบอกในสำนักภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า อหํ อยฺยา
เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ คามนฺตรํ ฯลฯ เวทยามหํ อยฺยา,
เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ.

แม้ในปักขมานัตนี้ นางภิกษุณีจะบอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ควร. พึงนั่งบอกในสำนักแห่งภิกษุณีสงฆ์เท่านั้น. จำเดิมแต่กาลที่บอก
แล้วไป จึงควรไปสู่สำนักแห่งภิกษุทั้งหลาย ถ้าที่นั้นเป็นที่ประกอบ
ด้วยความรังเกียจ. ภิกษุณีทั้งหลายจำนงเฉพาะสถานแห่งภิกษุทั้งหลายใน
ที่เท่านั้น; ภิกษุทั้งหลายพึงคอยอยู่.
ถ้าภิกษุ หรือภิกษุณีรูปอื่น มายังที่นั้น, เมื่อเห็นต้องบอก,
ถ้าไม่บอก เป็นรัตติเฉท, และเป็นทุกกฏ เพราะวัตตเภท. ถ้าเมื่อ
นางภิกษุณีผู้มานัตตจาริกา ไม่รู้ ภิกษุหรือภิกษุณีอื่นล้ำอุปจารเข้ามา
อย่างนั้นแล้ว ไปเสีย. เป็นแต่รัตติเฉท ไม่เป็นทุกกฏเพราะวัตตเภท
ถ้านางภิกษุณีทั้งหลายเป็นผู้ประสงค์จะรีบไปก่อน เพื่อทำวัตรแก่อุปัชฌาย์
เป็นต้น พึงเว้นนางภิกษุณีไว้ 1 รูปเพื่อป้องกันรัตติวิปปวาสาบัติ คณ-
โอหายนาบัติ และคามันตราบัติ จึงไป. เมื่ออรุณขึ้นแล้ว นางภิกษุณี
นั้น พึงเก็บวัตรในสำนักนางภิกษุณีรูปนั้น. นางภิกษุณีนั้น พึงประพฤติ

มานัตครบ 15 ราตรีไม่ขาดด้วยอุบายนี้. ฝ่ายนางภิกษุณีผู้มีได้เก็บวัตร
พึงประพฤติชอบตามนัยที่กล่าวแล้วในปาริวาสิกขันธกะนั้นแล.
ส่วนเนื้อความที่แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า พึงบอกแก่อาคันตุกะ นี้ มีวินิจฉัยว่า ในปุเรภัตหรือ
ปัจฉาภัต ภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายมีประมาณเท่าใดมาสู่บ้านนั้น. ควร
บอกทั้งหมด. เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฏเพราะวัตต-
เภทด้วย, แม้ถ้าภิกษุบางรูปล้ำคามูปจาระนั้น เข้ามาในราตรีแล้วไปเสีย
เป็นรัตติเฉทเท่านั้น, ย่อมพ้นจากวัตตเภท เพราะความไม่รู้เป็นปัจจัย.
ส่วนในกุรุนทีเป็นต้นแก้ว่า วัตรที่นางภิกษุณีมิได้เก็บ บัณฑิต
พึงกล่าว ตามนัยที่กล่าวแล้วในวัตรของภิกษุทั้งหลาย. คำนั้นปรากฎว่า
สมควรยิ่ง เพราะวัตรทั้งหลายมีปริวาสวัตรเป็นต้น ท่านกำหนดด้วย
อุปจารสีมา. พึงบอกในวันอุโบสถ. พึงบอกในวันปวารณา. ต้องบอก
ทุกวัน แก่ภิกษุ 4 รูป และนางภิกษุณี 4 รูป ถ้าภิกษาจารในบ้าน
นั้น ทั่วถึงแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย. ภิกษุเหล่านั้น 4 รูป พึงไปในบ้าน
นั้นทีเดียว.
ถ้าไม่ทั่วถึง ภิกษุทั้งหลายแม้ไปในที่อื่นแล้วจึงมาในบ้านนั้น ต้อง
แสดงตนไป. หรือพึงทำที่สังเกตไว้ภายนอกบ้านว่า ท่านจะพบพวกเรา
ในที่ชื่อโน้น . หางภิกษุณีนั้นพึงไปสู่ที่หมายไว้แล้วบอก. ไม่พบในที่
หมายไว้ ต้องไปวัดแล้วบอก. ต้องบอกภิกษุทุกรูปในวัด ถ้าไม่อาจ
บอกทั่วทุกรูปได้. ต้องอยู่นอกอุปจารสีมา แล้ววานนางภิกษุณีทั้งหลาย

ไปแทน. พึงบอกแก่ภิกษุ 4 รูปซึ่งนางภิกษุเหล่านั้นนำมา. ถ้าวัดอยู่
ไกลทั้งน่ารังเกียจ, พึงชวนอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลายไปด้วย.
ก็ถ้านางภิกษุณีนี้อยู่ตามลำพัง, ย่อมต้องอาบัติเพราะรัตติวิปปวาส;
เพราะเหตุนั้น สงฆ์พึงสมมตินางภิกษุณีผู้ปกตัตตะรูป 1 ให้แก่นางภิกษุณี
นั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่มุงอันเดียวกัน. นางภิกษุณีประพฤติ
มานัตไม่ขาด อย่างนั้นแล้ว พึงทำอัพภานตามนัยที่กล่าวแล้วในภิกษุ
สงฆ์ ซึ่งมี 1 รูปเป็นคณะนั้นแล.
ในกุรุนทีแก้ว่า ถ้ากำลังประพฤติมานัต ต้องอันตราบัติ สงฆ์
พึงชักเข้าหาอาบัติเดิมแล้ว ให้มานัต เพื่ออาบัตินั้น. นี้ชื่อว่าปักขมานัต.

สโมธานมานัต


ส่วนสโมธานมานัต มี 3 อย่าง คือ โอธานสโมธาน 1 อัคฆ-
สโมธาน 1 มิสสกสโมธาน 1.
ใน 3 อย่างนั้น ที่ชื่อโอธานสโมธาน ได้แก่ มานัตที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ข้างหน้า สำหรับพระอุทายีเถระ ผู้กำลังอยู่
ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดไว้ 5 วัน ต้องอันตราบัติในปริวาส และในฐานะ
ที่เป็นผู้ควรแก่มานัต ถูกสงฆ์ชักเข้าหาอาบัติเดิม โดยบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 3 ตัว แก่
ภิกษุอุทายี ดังนี้ .