เมนู

พึงให้ภิกษุนั้นขอ 3 ครั้งว่า อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺนิโย อาปชฺชึ เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐิ เอกํ กายสํสคฺคํ
เอกํ ทุฏฺฐุลฺลวาจํ เอกํ อตฺตกามํ เอกํ สญฺจริตํ เอกํ กุฏิการํ
เอกํ วิหารการํ เอกํ ทุฏฺฐโทสํ เอกํ อญฺญภาคิยํ เอกํ สงฺฆ-
เภทกํ เอกํ เภทานุวตฺตกํ เอกํ ทุพฺพจํ เอกํ กุลทูกํ, โสหํ
ภนฺเต สงฺฆํ ตาสํ อาปตฺตีนํ สโนธานปริวาสํ ยาจามิ.
ดังนี้
แล้วพึงให้ปริวาสด้วยกรรมวาจาสมควรแก่คำขอนั้น.
ก็ในมิสสกสโมธานนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งกรรมวาจาประกอบด้วย
อำนาจวัตถุบ้าง ด้วยอำนาจโคตรบ้าง ด้วยอำนาจชื่อบ้าง ด้วยอำนาจ
อาบัติบ้าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล อย่างนี้ว่า สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตฺถุกาโย
ดังนี้ก็ได้ ว่า
สงฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ ดังนี้ก็ได้. นี้ชื่อว่า มิสสก-
สโมธาน.
ส่วนกถาแสดงเรื่องมีอาทิ คือ วัตรที่เก็บและมิได้เก็บในที่สุดแห่ง
กรรมวาจาให้ปริวาสทั้งปวง พึงทราบตามนัยก่อนนั่นแล.
ปริวาสกถา จบ.

ปักขมานัต


บัดนี้ถึงโอกาสแห่งคำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าจักกล่าว
ปักขมานัต และสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาสกถาที่เหลือ เพราะ
ฉะนั้น มานัต 2 อย่างนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมานัตที่สงฆ์พึงให้แก่นาง
ภิกษุณี ชื่อปักขมานัต .