เมนู

ส่วนลักษณะการขอและการให้ปริวาสในมหาสุทธันตปริวาสนี้ พึงทราบ
ตามนัยที่มาในบาลีข้างหน้านั่นแล.
การสมาทานวัตร ในที่สุดแห่งกรรมวาจา มานัตและอัพภานมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นเอง. นี้ชื่อว่าสุทธันตปริวาส

สโมธานปริวาส


ที่ชื่อสโมธานปริวาส มี 3 อย่าง คือ โอธานสโมธาน 1 อัคฆ-
สโมธาน 1 มิสสกสโมธาน 1.
โอธานสโมธาน บรรดาสโมธานปริวาส 3 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า
โอธานสโมธาน ท่านเรียกปริวาสที่สงฆ์พึงเลิก คือ ล้มวันที่ได้อยู่ปริวาส
แล้วเสีย ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในกำหนดวันเดิม แห่งอาบัติ
เดิมให้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างแล้วปิดไว้
โอธานสโมธานปริวาสนั้น มาแล้วข้างหน้าในพระบาลีนั่นแล โดย
พิสดาร ตั้งต้นแต่คำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงชักอุทายีภิกษุ
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อว่าสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
อันปิดไว้ 5 วัน แล้วให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเดิม.
ก็วินิจฉัยในโอธานสโมธานนี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุใดรับปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดแล้ว กำลังอยู่ปริวาส หรือเป็น
มานัตตารหะ หรือกำลังประพฤติมานัต หรือเป็นอัพภานารหะ ต้อง
อาบัติอื่นแล้วปิดไว้ เท่าราตรีของอาบัติเดิมหรือหย่อนกว่าก็ดี สงฆ์พึง
เลิกวันที่อยู่ปริวาสแล้ว และวันที่ประพฤติมานัตแล้วเหล่านั้นทั้งหมด

คือทำให้เป็นวันที่ใช้ไม่ได้ ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในอาบัติเดิม
ให้ปริวาสแก่ภิกษุนั้นด้วยมูลายปฏิกัสสนะ.
ภิกษุนั้น พึงอยู่ปริวาสอีก 1 ปักษ์ทีเดียว. ถ้าอาบัติเดิมปิดไว้ 1
ปักษ์ อันตราบัติปิดไว้หย่อนปักษ์. แม้ถ้าอันตราบัติปิดไว้ 1 ปักษ์
พึงอยู่ปริวาส 1 ปักษ์เหมือนกัน โดยอุบายนี้ พึงทราบวินิจฉัยจนถึง
อาบัติเดิมที่ปิดไว้ 60 ปี. จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสครบ 60 ปี แม้
เป็นมานัตตารหะแล้วปิดอันตราบัติไว้วันหนึ่ง ย่อมเป็นผู้ควรอยู่ปริวาส
60 ปีอีก. เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ก็ถ้าว่าอันตราบัติปิดไว้เกินกว่า
อาบัติเดิมเล่า จะพึงทำอย่างไรในอาบัตินั้น?
พระมหาสุมัตเถระแก้ว่า บุคคลนี้เป็นอเตกิจฉะ, ธรรมดาบุคคล
ที่เป็นอเตกิจฉะ ก็ควรให้ทำให้แจ้งแล้วปล่อยเสีย.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระแก้ว่า เพราะเหตุไร บุคคลนี้จึงจะชื่อว่า
เป็นอเตกิจฉะ? ธรรมดาว่า สมุจจยักขันธกะนี้ ย่อมเป็นเหมือนกาล
ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงตั้งอยู่.
ขึ้นชื่อว่าอาบัติ จะปิดไว้ก็ตาม มิได้ปิดไว้ก็ตาม ปิดไว้เท่ากัน
ก็ตาม หย่อนกว่าก็ตาม แม้ปิดไว้เกินก็ตามที; ข้อที่พระวินัยธรเป็น
ผู้สามารถประกอบกรรมวาจานั่นแล เป็นประมาณ ในการเยียวยาอาบัติ
นี้ เพราะเหตุนั้น อันตราบัติใดปิดไว้เกินกว่า, พึงทำอันตราบัตินั้น
ให้เป็นอาบัติเดิม ประมวลอาบัตินอกนี้ลงในอาบัติเดิมนั้นให้ปริวาส.
นี้ชื่อโอธานสโมธาน.

อัคฆสโมธาน ที่ชื่ออัคฆสโมธาน คือ บรรดาอาบัติมากหลาย
อาบัติเหล่าใด จะเป็น 1 ตัวก็ดี 2 ตัวก็ดี 3 ตัวก็ดี มากมายก็ดี ที่
ปิดไว้นานกว่าอาบัติทุก ๆตัว , สงฆ์ประมวลด้วยค่าแห่งอาบัติเหล่านั้น
ให้ปริวาสเพื่ออาบัติที่เหลือ ซึ่งปิดไว้หย่อนกว่า ด้วยอำนาจกำหนด
ราตรีแห่งอาบัติเหล่านั้น นี้เรียกว่า อัคฆสโมธาน.
อัคฆสโมธานนั้น ได้มาข้างหน้าแล้วในบาลี โดยนัยเป็นต้นว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสมากหลาย.
อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ 1 วัน อาบัติตัวหนึ่งปิดไว้ 2 วัน .
ถามว่า ก็อาบัติของภิกษุใดร้อยตัวปิดไว้ 10 วัน แม้อีกร้อยตัว
ก็ปิดไว้ 10 วัน นับอย่างนี้รวม 10 ครั้ง จึงเป็นอาบัติหนึ่งพัน ปิดไว้
100 วัน. ภิกษุนั้น จะพึงทำอย่างไร?
พึงประมวลอาบัติทั้งหมดอยู่ปริวาส 10 วัน. แม้วันตั้งร้อยย่อมเป็น
วันซึ่งภิกษุต้องอยู่ปริวาสจริง ๆ ด้วย 10 วัน หนเดียวเท่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
จริงอยู่ แม้คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ปาริวาสิก
ภิกษุปิดอาบัติพันตัวไว้ 100 ราตรี อยู่ปริวาส 10 ราตรี พึงพ้นได้
ปัญหานี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายติดกันแล้ว. นี้ชื่ออัคฆสโมธาน.
มิสสกสโมธาน ที่มีชื่อมิสสกสโมธาน ได้แก่ ปริวาสที่สงฆ์
รวมอาบัติต่าง ๆ วัตถุเข้าด้วยกันให้.
ในมิสสกสโมธานนั้น มีนัยดังนี้:-

พึงให้ภิกษุนั้นขอ 3 ครั้งว่า อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺนิโย อาปชฺชึ เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐิ เอกํ กายสํสคฺคํ
เอกํ ทุฏฺฐุลฺลวาจํ เอกํ อตฺตกามํ เอกํ สญฺจริตํ เอกํ กุฏิการํ
เอกํ วิหารการํ เอกํ ทุฏฺฐโทสํ เอกํ อญฺญภาคิยํ เอกํ สงฺฆ-
เภทกํ เอกํ เภทานุวตฺตกํ เอกํ ทุพฺพจํ เอกํ กุลทูกํ, โสหํ
ภนฺเต สงฺฆํ ตาสํ อาปตฺตีนํ สโนธานปริวาสํ ยาจามิ.
ดังนี้
แล้วพึงให้ปริวาสด้วยกรรมวาจาสมควรแก่คำขอนั้น.
ก็ในมิสสกสโมธานนี้ สมควรแท้ที่จะแต่งกรรมวาจาประกอบด้วย
อำนาจวัตถุบ้าง ด้วยอำนาจโคตรบ้าง ด้วยอำนาจชื่อบ้าง ด้วยอำนาจ
อาบัติบ้าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล อย่างนี้ว่า สงฺฆา-
ทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ นานาวตฺถุกาโย
ดังนี้ก็ได้ ว่า
สงฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ ดังนี้ก็ได้. นี้ชื่อว่า มิสสก-
สโมธาน.
ส่วนกถาแสดงเรื่องมีอาทิ คือ วัตรที่เก็บและมิได้เก็บในที่สุดแห่ง
กรรมวาจาให้ปริวาสทั้งปวง พึงทราบตามนัยก่อนนั่นแล.
ปริวาสกถา จบ.

ปักขมานัต


บัดนี้ถึงโอกาสแห่งคำที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าจักกล่าว
ปักขมานัต และสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาสกถาที่เหลือ เพราะ
ฉะนั้น มานัต 2 อย่างนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวมานัตที่สงฆ์พึงให้แก่นาง
ภิกษุณี ชื่อปักขมานัต .