เมนู

ถ้าแม้อาบัติที่ปิดไว้ก็ 2 ตัว แม้ที่มิได้ปิดก็ 2 ตัว พึงกล่าวว่า
ปฏิจฺฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิฉนฺนานญฺจ.
สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะ ให้มานัตในอาบัติที่ปิดและมิได้ปิด
ทั้งปวง. และพึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่มานัตนั้น และกระทำอัพภาน
แก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
แต่อัพภานในบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
มานัตใด อันสงฆ์ย่อมให้ในที่สุดแห่งปริวาส เพื่ออาบัติที่ปิดไว้
ด้วยประการอย่างนี้, มานัตนี้ ชื่อว่า ปฏิจฉันนมานัต .
ตามนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิจฉันนปริวาส
และปฏิจฉันนมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ ด้วยกรรมวาจา
สำหรับประกอบเป็นตัวอย่างอันเดียวเท่านั้น คือ ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
ข้าพเจ้าจักกล่าวปักขมานัตและสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาส.
กถาที่เหลือ.

สุทธันตปริวาส


ปริวาสที่เหลือ 2 อย่าง คือ สุทธันตปริวาส 1 สโมธาน-
ปริวาส 1.
ในปริวาส 2 อย่างนั้น ที่ชื่อสุทธันทปริวาส ได้แก่ ปริวาสที่ทรง
อนุญาตในเรื่องนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน อญฺญตโร ภิกฺขุ
สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปนฺโน โหติ, อาปตฺติ-


ปริยนฺตํ น ชานาติ รตฺติปริยนฺตํ น ชานาติ. ดังนี้ ในที่สุด
แห่งการประพฤติมานัตที่ไม่เป็นธรรมข้างหน้า.
สุทธันตปริวาสันั้น มี 2 อย่าง คือ จูฬสุทธันตะ 1 มหา-
สุทธันตะ 1 ก็สุทธันตปริวาสนี้ทั้ง 2 อย่าง สงฆ์พึงให้แก่ภิกษุผู้ไม่รู้
และระลึกไม่ได้ ซึ่งกำหนดราตรีทั้งสิ้นหรือบางราตรี และผู้มีความสงสัย
ในกำหนดราตรีนั้น. แต่ภิกษุจะรู้จำนวนที่สุดแห่งอาบัติว่า เราต้องอาบัติ
เท่านี้ หรือจะไม่รู้ก็ตาม นั่นไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นประมาณ.
จูฬสุทธันตะ ในสุทธันตปริวาส 2 อย่างนั้น ภิกษุใดแม้อัน
พระวินัยธรถามอยู่ว่า ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ตลอดวันหรือปักษ์
หรือเดือน หรือปี โน้นและโน้นหรือ ดังนี้ ตามลำดับตั้งแต่อุปสมบท
มา หรือทวนลำดับตั้งแต่วันที่บอกไปก็ดี จึงตอบว่า ทราบอยู่ ท่านผู้-
เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ตลอดกาลเพียงเท่านี้.
สุทธันตปริวาสที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุนั้น เรียกว่า จูฬสุทธันตะ ภิกษุ
ผู้รับจูฬสุทธันตปริวาสนั้นอยู่ปริวาส พึงแบ่งกาลเท่าที่ตนรู้สึกว่า ตนเป็น
ผู้บริสุทธิ์ออกเสีย พึงอยู่ปริวาสตลอดเดือน หรือ 2 เดือนที่เหลือ.
ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือนเดียว ได้รับปริวาส
แล้ว, กำลังอยู่ปริวาสระลึกเดือนอื่นได้อีก พึงอยู่ปริวาสตลอดเดือนนั้น
ด้วย แท้, ไม่มีกิจที่จะต้องให้ปริวาสอีก.
ถ้ากำหนดได้ว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ 2 เดือน ได้รับปริวาสแล้ว,
แต่กำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจว่า เราเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์เพียงเดือน
เดียวเท่านั้น พึงอยู่ปริวาสเพียงเดือนเดียวเท่านั้น. ไม่มีกิจที่จะต้องให้

ปริวาสอีก. จริงอยู่ ธรรมดาสุทธันตปริวาสนี้ เขยิบสูงขึ้นก็ได้ ลดต่ำ
ลงก็ได้. นี้เป็นลักษณะของสุทธันตปริวาสนั้น.
ส่วนในการออกอาบัติอื่น มีลักษณะดังนี้ :-
ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิดไว้ สำหรับอาบัติที่มิได้ปิด, อาบัติ
ของภิกษุนั้น ย่อมออก. ส่วนภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ไม่ได้ปิด สำหรับ
อาบัติที่ปิด อาบัติของภิกษุนั้น ไม่ออก. ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิด
ไว้นาน สำหรับอาบัติที่ปิดไว้ไม่นาน, อาบัติของภิกษุ แม้นั้น ย่อม
ออก. ภิกษุใดทำวินัยกรรมว่า ปิดไว้ไม่นาน สำหรับอาบัติปิดไว้นาน.
อาบัติของภิกษุแม้นั้น ไม่ออก. ภิกษุใดต้องอาบัติตัวเดียวทำวินัยกรรม
ว่า หลายตัว อาบัติของภิกษุแม้นั้น ย่อมออก เพราะเว้นอาบัติตัวเดียว
เสียแล้ว หลายตัวก็มีไม่ได้. ฝ่ายภิกษุใดต้องอาบัติหลายตัว แต่ทำวินัย-
กรรมว่า เราต้องอาบัติตัวเดียว, อาบัติของภิกษุแม้นั้น ไม่ออก.
มหาสุทธันตะ ฝ่ายภิกษุใด แม้พระวินัยธรถามอยู่โดยนัยอนุโลม
และปฏิโลมตามที่กล่าวแล้ว ไม่รู้ ระลึกไม่ได้ ซึ่งที่สุดแห่งราตรี หรือ
เป็นผู้มีความสงสัย สุทธันตปริวาสที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุนั้น เรียกว่า มหา-
สุทธันตะ. ภิกษุรับปริวาสนั้นแล้ว. พึงอยู่ปริวาสนับราตรีตั้งแต่วันที่รับ
จนถึงวันอุปสมบท.
มหาสุทธันตะนี้ เขยิบสูงขึ้นไม่ได้ แต่ต่ำลงได้ เพราะฉะนั้นถ้า
กำลังอยู่ปริวาส ทำความตกลงใจในกำหนดราตรีไว้ว่า เมื่อเราต้อง
อาบัติ เป็นเวลาเดือน 1 หรือปี 1; พึงอยู่ปริวาสเดือน 1 หรือปี 1,

ส่วนลักษณะการขอและการให้ปริวาสในมหาสุทธันตปริวาสนี้ พึงทราบ
ตามนัยที่มาในบาลีข้างหน้านั่นแล.
การสมาทานวัตร ในที่สุดแห่งกรรมวาจา มานัตและอัพภานมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นเอง. นี้ชื่อว่าสุทธันตปริวาส

สโมธานปริวาส


ที่ชื่อสโมธานปริวาส มี 3 อย่าง คือ โอธานสโมธาน 1 อัคฆ-
สโมธาน 1 มิสสกสโมธาน 1.
โอธานสโมธาน บรรดาสโมธานปริวาส 3 อย่างนั้น ที่ชื่อว่า
โอธานสโมธาน ท่านเรียกปริวาสที่สงฆ์พึงเลิก คือ ล้มวันที่ได้อยู่ปริวาส
แล้วเสีย ประมวลอาบัติที่ต้องภายหลังลงในกำหนดวันเดิม แห่งอาบัติ
เดิมให้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างแล้วปิดไว้
โอธานสโมธานปริวาสนั้น มาแล้วข้างหน้าในพระบาลีนั่นแล โดย
พิสดาร ตั้งต้นแต่คำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นสงฆ์จงชักอุทายีภิกษุ
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อว่าสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
อันปิดไว้ 5 วัน แล้วให้สโมธานปริวาสเพื่ออาบัติเดิม.
ก็วินิจฉัยในโอธานสโมธานนี้ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุใดรับปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดแล้ว กำลังอยู่ปริวาส หรือเป็น
มานัตตารหะ หรือกำลังประพฤติมานัต หรือเป็นอัพภานารหะ ต้อง
อาบัติอื่นแล้วปิดไว้ เท่าราตรีของอาบัติเดิมหรือหย่อนกว่าก็ดี สงฆ์พึง
เลิกวันที่อยู่ปริวาสแล้ว และวันที่ประพฤติมานัตแล้วเหล่านั้นทั้งหมด