เมนู

แล้วไปเสีย แต่เมื่อปาริวาสิกภิกษุยังมิทันรู้ มีแต่รัตติเฉท ส่วนวัตตเภท
ไม่มี ครั้นอรุณขึ้นแล้วพึงเก็บวัตร.
พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า หากว่าภิกษุที่ไปด้วยกันนั้น หลีกไป
เสียด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง, คนพบภิกษุอื่นรูปใดก่อนภิกษุทั้งหมด
พึงบอกแก่รูปนั้นแลแล้วเก็บ, ถ้าไม่พบใครเลย พึงไปยังวัดแล้วเก็บใน
สำนักภิกษุผู้ไปกับคน.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า พบภิกษุใดก่อน, พึงบอกแก่
ภิกษุนั้นแล้วเก็บ นี้เป็นบริหารสำหรับภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว .
อาบัติที่ได้ปิดไว้ สิ้นวันเท่าใด เพื่อต้องการจะบรรเทาความ
รังเกียจ พึงอยู่ปริวาสสิ้นวันเท่านั้น หรือเกินกว่านั้นแล้ว เข้าไปหาสงฆ์
สมาทานวัตรแล้ว พึงขอมานัต ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ ภิกษุนี้จัดเป็นผู้ควรแก่มานัต ต่อเมื่อเธอสมาทานวัตร
แล้วเท่านั้น เพราะเธอเป็นผู้เก็บวัตร อยู่ปริวาส. แต่กิจที่จะต้องสมาทาน-
วัตรอีก ย่อมไม่มีเเก่ภิกษุผู้มิได้เก็บวัตร, จริงอยู่ เธอเป็นผู้ควรแก่มานัต
ด้วยล่วงวันที่ปิดไว้แท้ เพราะเหตุนั้น สงฆ์ควรให้มานัตแก่เธอทีเดียว.

วิธีให้มานัต


นี้ชื่อว่าปฏิจฉันนมานัต. เมื่อจะให้ปฏิจฉันนมาบัดนั้น ถ้ามีอาบัติ
ตัวเดียว, พึงให้ตามนัยที่กล่าวไว้ในบาลีนั้นแล ถ้ามี 2 หรือ 3 ตัว พึง
กำหนดอาบัติและวันแล้วแต่งคำสวดประกอบตามนัยที่กล่าวไว้ในปริวาส

นั่นแลว่า โสหํ ปริวุตฺถปริวาโส สงฺฆํ ทฺวินฺนํ1 ติสฺสนฺนํ2
อาปตฺตีนํ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ ฉารตฺตํ มานตฺตํ ยาจามิ
แม้จะ
ประมวลอาบัติที่ไม่ปิด กับอาบัติที่ปิดไว้ให้ก็ควร.
อย่างไร? ภิกษุอยู่ปริวาสเพื่ออาบัติที่ปิดเสร็จแล้ว พึงขอมานัต
เพื่ออาบัติที่ปิดกับอาบัติที่มิได้ปิด รวมกันว่า อหํ ภนฺเต เอกํ
อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ สุกฺกวิสฏฺฐึ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ
โสหํ สงฺฆฺ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย สุกฺกวิสฏฺฐิยา
เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาสํ ยาจึ; ตสฺส เม สงฺโฆ
เอกิสสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย สุกฺกวิสฏฺฐิยา เอกาหปฏิจฺ-
ฉนฺนาย เอกาหปริวาสํ อทาสิ, โสหํ ปริวุตฺถปริวาโส; อหํ
ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏฐึ อปฺปฏิจฺ
สุกฺกวิสฏฺฐินํ ปฏิจฺฉนฺนาย จ อปฺปฏิจฺฉนฺนาย จ ฉารตฺตํ
มานตฺตํ ยาจามิ

ลำดับนั้น สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่คำขอนั้น ให้มานัต
แก่มานัตตารหภิกษุนั้น.
ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ 2 ตัว ที่มิได้ปิดตัวเดียว; พึงกล่าวว่า ปฏิจฺ-
ฉฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิจฺฉนฺนาย จ.

ถ้าอาบัติที่ปิดไว้ตัวเดียว ที่มิได้ปิด 2 ตัว พึงกล่าวว่า ปฏิจฺ-
ฉนฺนาย จ อปฺปฏิจฺฉนฺนานญฺจ.

1. สำหรับอาบัติ 2 ตัว. 2. สำหรับอาบัติ 3 ตัว.

ถ้าแม้อาบัติที่ปิดไว้ก็ 2 ตัว แม้ที่มิได้ปิดก็ 2 ตัว พึงกล่าวว่า
ปฏิจฺฉนฺนานญฺจ อปฺปฏิฉนฺนานญฺจ.
สงฆ์พึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะ ให้มานัตในอาบัติที่ปิดและมิได้ปิด
ทั้งปวง. และพึงแต่งกรรมวาจาให้เหมาะแก่มานัตนั้น และกระทำอัพภาน
แก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
แต่อัพภานในบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
มานัตใด อันสงฆ์ย่อมให้ในที่สุดแห่งปริวาส เพื่ออาบัติที่ปิดไว้
ด้วยประการอย่างนี้, มานัตนี้ ชื่อว่า ปฏิจฉันนมานัต .
ตามนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิจฉันนปริวาส
และปฏิจฉันนมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในบาลีนี้ ด้วยกรรมวาจา
สำหรับประกอบเป็นตัวอย่างอันเดียวเท่านั้น คือ ด้วยอำนาจแห่งอาบัติ
ตัวเดียว.
ข้าพเจ้าจักกล่าวปักขมานัตและสโมธานมานัต ในที่สุดแห่งปริวาส.
กถาที่เหลือ.

สุทธันตปริวาส


ปริวาสที่เหลือ 2 อย่าง คือ สุทธันตปริวาส 1 สโมธาน-
ปริวาส 1.
ในปริวาส 2 อย่างนั้น ที่ชื่อสุทธันทปริวาส ได้แก่ ปริวาสที่ทรง
อนุญาตในเรื่องนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน อญฺญตโร ภิกฺขุ
สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปนฺโน โหติ, อาปตฺติ-