เมนู

วิธีให้ปริวาส


ลำดับนั้น พึงกำหนดวันที่ปิดและอาบัติ, ถ้าปิดไว้วันเดียวเท่านั้น;
พึงให้ขออย่างนี้ว่า:-
อหํ ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ
สุกฺกวิสฏฺฐึ เอกาหปฏิจฉนฺนํ.

แล้วพึงสวดกรรมวาจาให้ปริวาส ตามนัยที่กล่าวแล้วในบาลีนี้
นั่นแล.
ถ้าปิดได้ 2 วัน 3 วันเป็นต้น พึงให้ขออย่างนี้ว่า :-
ทฺวีหปฏิจฺฉนฺนํ, ตีหปฏิจฺฉนฺนํ, จตูหปฏิจฺฉนฺนํ, ปญฺจาห-
ปฏิจฺฉนฺนํ, ฉาหปฏิจฺฉนฺนํ, สตฺตาหปฏิจฺฉนฺนํ, อฏฺฐาหปฏิจฺฉนฺนํ,
นวาหปฏิจฺฉนฺนํ, ทสาหปฏิจฺฉนฺนํ, เอกาทสาหปฏิจฺฉนฺนํ,
ทฺวาทสาหปฏิจฺฉนฺนํ, เตรสาหปฏิจฺฉนฺนํ, จุทฺทสาหปฏิจฺฉนฺนํ.

พึงแต่งคำประกอบตามจำนวนวัน เพียง 1 วัน ด้วยประการ
ฉะนี้.
สำหรับอาบัติที่ปิดไว้ 15 วัน พึงแต่งคำสวดประกอบว่า ปกฺข-
ปฏิจฺฉนฺนํ.
ตั้งแต่ 15 วันไปจนถึงวันที่ 29 พึงแต่งคำสวดประกอบว่า
อติเรกปกฺขปฏิจฺฉนฺนํ ตั้งแต่ 29 วันขึ้นไป พึงแต่งคำสวดประกอบ
ว่า มาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกมาสปฏิจฺฉนฺนํ, ทฺวิมาสปฏิจฺฉนฺนํ,
อติเรกทฺวิมาสปฏิจฺฉนฺนํ, เตมาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกเตมาส
ปฏิจฺฉนฺนํ, จตุมาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกจตุมาสปฏิจฺฉนฺนํ,

ปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺนํ, อติเรกปญฺจมาสปฏิจฺฉนฺนํ ฉมาส, อติเรก-
ฉมาส, สตฺตมาส, อติเรกนวมาส, ทสมาส, อฏิฐมาส, อติเรก-
อฏฺฐมาส. นวมาส, อติเรกนวมาส, ทามาส, อติเรกทสมาส,
เอกาทสมาส, อติเรกเอกาทสมาสปฏิจฺฉนฺนํ.

เมื่อเต็มปี พึงแต่งคำสวดประกอบว่า เอกสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ.
เบื้องหน้าแต่นั้น พึงแต่งคำสำหรับสวดประกอบอย่างนี้ว่า อติ-
เรกเอกสํวจฺฉร, ทฺวิสํวจฺฉร, อติเรกทฺวิสํวจฺฉร, ติสํวจฺฉร,
อติเรกติสํวจฺฉร, จตุสํวจฺฉร, อติเรกจตุสํวจฺฉร, ปญฺจสํวจฺฉร,
อติเรกปญฺจสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ,
ดังนี้ จนถึงว่า สฏฺฐิสํวจฺฉร,
อติเรกสฏฺฐิสํวจฺฉรปฏิจฺฉนฺนํ
หรือแม้ยิ่งกว่านั้น.
และถ้าเป็นอาบัติ 2 ตัว หรือยิ่งกว่านั้น พึงกล่าวว่า เทฺว
อาปตฺติโย, ติสฺโส อาปตฺติโย,
เหมือนที่ได้กล่าวไว้ในที่นี้ว่า เอกํ
อาปตฺตึ
ฉะนั้น. แต่ที่เกินกว่านั้น จะเป็นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งก็ตาม
สมควรกล่าวว่า สมฺพหุลา.
แม้ในอาบัติที่มีวัตถุต่าง ๆ กัน พึงแต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจ
แห่งจำนวนอย่างนี้ว่า:-
อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกํ สุกฺกวิสฏฺฐิ เอกํ กายสํสคฺคํ เอกํ ทุฏฺฐุลฺลํ วาจํ เอกํ
อตฺตกามปาริจริยํ เอกํ สญฺจริตํ เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย
หรือด้วย
อำนาจแห่งการระบุวัตถุอย่างนี้ว่า :-

อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
นานาวตถุกาโย เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย
หรือด้วยอำนาจแห่งการระบุ
ชื่ออย่างนี้ว่า :-
อหํ ภนฺเต สมฺพหุลา สงฺฆาทิเสสา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกาหปฏิจฉนฺนาโย.

ในวัตถุและชื่อนั้น ชื่อมี 2 อย่าง คือชื่อที่ทั่วไปของอาบัติที่มีชาติ
เสมอกัน 1 ชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง 1.
ในชื่อทั้ง 2 อย่างนั้น คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อที่ทั่วไปของ
อาบัติที่มีชาติเสมอกัน.
คำว่า อาปตฺติ เป็นชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ควรอยู่ที่จะแต่งคำสวดประกอบ แม้ด้วยอำนาจแห่ง
ชื่อที่ทั่วไปของอาบัติทั้งปวง อย่างนี้ สมฺพหุลา อาปตฺติโย อาปชฺชึ
เอกาหปฏิจฺฉนฺนาโย.

จริงอยู่ วินัยกรรมมีปริวาสเป็นต้นแม้ทั้งปวงนี้ สมควรแท้ที่จะ
แต่งคำสวดประกอบด้วยอำนาจแห่งวัตถุ ด้วยอำนาจแห่งโคตรด้วยอำนาจ
แห่งชื่อ และด้วยอำนาจแห่งอาบัติ.
ในวัตถุและโคตรเป็นต้นนั้น คำว่า สุกฺกวิสฏฺฐิ เป็นวัตถุด้วย
เป็นโคตรด้วย.
คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย
คำว่า กายสํสคฺโค เป็นวัตถุด้วย เป็นโคตรด้วย
คำว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นชื่อด้วย เป็นอาบัติด้วย

ในวัตถุเป็นต้นนั้น วัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วด้วยคำว่า
สุกฺกวิสฏฺฐิ และ กายสํสคฺโค เป็นอาทิบ้าง ด้วยคำว่า นานา-
วัตฺถุกาโย
บ้าง
ชื่อและอาบัติเป็นอันถือเอาแล้ว ด้วยคำว่า สงฺฆาทิเสโส บ้าง
ด้วยคำว่า อาปตฺติโย บ้าง.
และในบาลีนี้ ทั้งชื่อ ทั้งวัตถุและโคตร เป็นอันถือเอาแล้วแท้
ด้วยคำว่า เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ สุกฺกวิสฏฺฐึ.
เหมือนอย่างว่า ในบาลีนี้ ท่านกล่าวว่า อยํ อุทายิ ภิกฺขุ
ฉันใด, ภิกษุใด ๆ เป็นผู้ต้อง. พึงถือเอาชื่อของภิกษุนั้น ๆ ทำกรรม-
วาจาว่า อยํ อิตฺถนฺนาโม ภิกฺขุ ฉันนั้น .
ในเวลาจบกรรมวาจา ภิกษุนั้นพึงสมาทานวัตรในสีนาแห่งโรง
ทีเดียว ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแลว่า ปริวาสํ สมาทิยามิ วตฺตํ
สมาทิยามิ
ครั้นมาทานแล้ว พึงบอกในท่ามกลางสงฆ์ ในสีมาแห่ง
โรงนั้นแล ก็แล เมื่อจะบอก พึงบอกอย่างนี้ว่า :-
อหํ ภนฺเต เอกํ อาปตฺตึ อาปชฺชึ สญฺเจตนิกํ สุกฺก-
วิสฏฺฐิ เอกาหปฏิจฺฉนฺนํ, โสหํ สงฺฆ์ เอกิสฺสา อาปตฺติยา
สญฺเจตนิกา สุกฺกวิสฏฐิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาสํ
ยาจึ, ตสฺส เม สงฺโฆ เอกิสฺสา อาปตฺติยา สญฺเจตนิกาย
สกฺกวิสฏฐิยา เอกาหปฏิจฺฉนฺนาย เอกาหปริวาสํ อทาสิ. โสหํ
ปริวสามิ, เวทิยามหํ ภนฺเต, เวทิยตีติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ. ก็แล
สมควรแท้ที่จะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ครั้นบอกแล้ว ถ้าประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์ ตาม
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากโรงไปเสียแล้ว จะเก็บ
ในสำนักภิกษุแม้รูปเดียวก็ควร.
เธอออกจากโรงไปแล้ว จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไป
ด้วยกัน ถ้าภิกษุแม้นั้น ก็หลีกไปเสีย ตนยังไม่ได้บอกวัตรแก่ภิกษุอื่นใด
ที่ในโรง, พึงบอกแก่รูปนั้นแล้วเก็บวัตร และเมื่อบอก พึงกล่าวในที่สุด
ว่า เวทิยตีติ มํ อายสฺมา ธาเรตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ 2 รูป พึง
กล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ เมื่อบอกแก่ภิกษุ 3 รูปหรือเกินกว่า
พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ หรือว่า สงฺโฆ ธาเรตุ จำเดิม
แต่เวลาที่เก็บแล้วไป เธอย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งปกตัตตะ.
ถ้าวัดมีภิกษุน้อย; ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคกันอยู่ ไม่ต้องเก็บวัตร
พึงทำความกำหนดราตรี ในวัดนั่นแล.
ถ้าไม่อาจให้บริสุทธิ์ได้. พึงเก็บวัตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ใน
เวลาใกล้รุ่ง พร้อมด้วยภิกษุรูปหนึ่ง ล่วงอุปจารสีมาออกไป แวะออก
จากทางใหญ่ นั่งในที่กำบัง ตามนัยที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่งมานัตนั่น
แล สมาทานวัตร ตามนัยที่กล่าวแล้ว บอกปริวาสแก่ภิกษุนั้น ในภาย
ในอรุณทีเดียว เมื่อบอก ถ้าภิกษุนั้นเป็นผู้อ่อนกว่า พึงกล่าวว่า อาวุโส
ถ้าเป็นผู้แก่กว่า พึงกล่าวว่า ภนฺเต.
ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมายังที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ถ้า
ปาริวาสิกภิกษุนี้ เห็นเธอ หรือได้ยินเสียงของเธอ ควรบอก เมื่อไม่
บอก เป็นรัตติเฉทและเป็นวัตตเภท ถ้าเธอล้ำอุปจารสีมาเข้าไป 2 ศอก

แล้วไปเสีย แต่เมื่อปาริวาสิกภิกษุยังมิทันรู้ มีแต่รัตติเฉท ส่วนวัตตเภท
ไม่มี ครั้นอรุณขึ้นแล้วพึงเก็บวัตร.
พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า หากว่าภิกษุที่ไปด้วยกันนั้น หลีกไป
เสียด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง, คนพบภิกษุอื่นรูปใดก่อนภิกษุทั้งหมด
พึงบอกแก่รูปนั้นแลแล้วเก็บ, ถ้าไม่พบใครเลย พึงไปยังวัดแล้วเก็บใน
สำนักภิกษุผู้ไปกับคน.
ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า พบภิกษุใดก่อน, พึงบอกแก่
ภิกษุนั้นแล้วเก็บ นี้เป็นบริหารสำหรับภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว .
อาบัติที่ได้ปิดไว้ สิ้นวันเท่าใด เพื่อต้องการจะบรรเทาความ
รังเกียจ พึงอยู่ปริวาสสิ้นวันเท่านั้น หรือเกินกว่านั้นแล้ว เข้าไปหาสงฆ์
สมาทานวัตรแล้ว พึงขอมานัต ด้วยประการฉะนี้.
จริงอยู่ ภิกษุนี้จัดเป็นผู้ควรแก่มานัต ต่อเมื่อเธอสมาทานวัตร
แล้วเท่านั้น เพราะเธอเป็นผู้เก็บวัตร อยู่ปริวาส. แต่กิจที่จะต้องสมาทาน-
วัตรอีก ย่อมไม่มีเเก่ภิกษุผู้มิได้เก็บวัตร, จริงอยู่ เธอเป็นผู้ควรแก่มานัต
ด้วยล่วงวันที่ปิดไว้แท้ เพราะเหตุนั้น สงฆ์ควรให้มานัตแก่เธอทีเดียว.

วิธีให้มานัต


นี้ชื่อว่าปฏิจฉันนมานัต. เมื่อจะให้ปฏิจฉันนมาบัดนั้น ถ้ามีอาบัติ
ตัวเดียว, พึงให้ตามนัยที่กล่าวไว้ในบาลีนั้นแล ถ้ามี 2 หรือ 3 ตัว พึง
กำหนดอาบัติและวันแล้วแต่งคำสวดประกอบตามนัยที่กล่าวไว้ในปริวาส