เมนู

สมุจจยักขันธก วรรณนา


มานัต 4 อย่าง


วินิจฉัยในสมุจจยักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ฉารตฺตํ มานตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยว่า มานัต 4 อย่าง
คือ อัปปฏิจฉันนมานัต 1 ปฏิจฉันนมานัต 1 ปักขมานัต 1
สโมธานมานัต 1.
ในมานัต 4 อย่างนั้น ที่ชื่ออัปปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัต
ที่สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยความเป็นผู้ต้องอาบัติล้วนเท่านั้นไม่ต้อง
ให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ไม่ได้ปิด.
ที่ชื่อปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
เสร็จแล้ว เพื่ออาบัติที่ปิดไว้.
ที่ชื่อปักขมานัต ได้แก่ มานัตกึ่งเดือนที่สงฆ์ให้แก่นางภิกษุณี
เพื่ออาบัติที่ปิดไว้หรือมิได้ปิด.
ที่ชื่อสโมธานมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์รวม คือ ประสบกัน
ให้.

อัปปฏิจฉันนมานัต


บรรดามานัต 4 อย่างนั้น สโมธานมานัตนี้ พึงทราบว่าเป็น
อัปปฏิจฉันนมานัต ตามพระบาลีว่า มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติที่
ไม่ปิดไว้. เมื่อจะให้สโมธานมานัตนั้น ถ้าภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติตัวเดียว
พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอัปปฏิจฉันนมานัตนี้แล.

ถ้าต้องอาบัติ 2 ตัว หรือ 3 ตัว หรือยิ่งกว่านั้น คำว่า เอกํ
อาปตฺตึ
อันท่านกล่าวแล้วฉันใดเล่า. คำว่า เทฺว อาปตฺติโย,
ติสฺโส อาปตฺติโย
ก็พึงกล่าวฉันนั้น. แต่ที่ยิ่งกว่านั้น ถ้าแม้เป็น
จำนวนร้อย หรือจำนวนพัน, พึงกล่าวว่า สมฺพหุลา.
วิธีให้สำหรับอาบัติเหล่านั้น ที่สงฆ์จะพึงรวมอาบัติแม้มีวัตถุต่าง ๆ
กันให้ ข้าพเจ้าจักกล่าวในการให้ปริวาส.
เมื่อมานัต อันสงฆ์ทำกรรมวาจาด้วยอำนาจแห่งอาบัติให้แล้วอย่าง
นั้น มานัตตจาริกภิกษุพึงสมาทานวัตร ตามนัยที่กล่าวแล้วว่า มานตฺตํ
สมาทิยามิ, วตฺตํ สมาทิยามิ,
ดังนี้ นั่นแล ที่สีมาแห่งโรง
ทีเดียว ในที่สุดแห่งกรรมวาจาว่า เอวเมตํ ธารยามิ.
ครั้นสมาทานแล้ว พึงบอกแก่สงฆ์ในสีมาแห่งโรงนั้นทีเดียวและ
เมื่อจะบอก พึงบอกอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ต้องอาบัติตัวหนึ่ง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้, ข้าพเจ้านั้นขอมานัต 6 ราตรี
ต่อสงฆ์ เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ อันไม่ปิดไว้ ;
สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติตัวเดียว ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
อันไม่ได้ปิดไว้แก่ข้าพเจ้านั้น; ข้าพเจ้านั้นพระพฤติมานัตอยู่, ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าบอกให้รู้ ขอสงฆ์จงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ. ก็แล
จะถือเอาใจความนี้ บอกด้วยวาจาอย่างใดอย่างหนึ่ง สมควรเหมือน
กัน. ครั้นบอกแล้ว ถ้ามีประสงค์จะเก็บ พึงเก็บในท่ามกลางสงฆ์
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทั้งหลายออกจากสีมาแห่งโรงไปเสีย
จะเก็บในสำนักภิกษุรูปเดียว ก็ควร. ภิกษุผู้ออกจากสีมาแห่งโรงไปแล้ว

จึงกลับได้สติ พึงเก็บในสำนักภิกษุผู้ไปด้วยกัน. ถ้าภิกษุแม้นั้น ก็หลีก
ไปเสีย ยังไม่ได้บอกแก่ภิกษุอื่น รูปใด ที่ในโรง, พึงบอกแก่ภิกษุ
นั้นให้รู้แล้วเก็บเถิด และเมื่อบอก พึงกล่าวว่า เวทิยาตีติ มํ อายสฺมา
ธาเรตุ,
ขอผู้มีอายุจงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า บอกให้รู้ เทอญ ดังนี้ ใน
อวสาน.
เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ 2 รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺตา ธาเรนฺตุ.
เมื่อจะบอกแก่ภิกษุ 3 รูป พึงกล่าวว่า อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ.
จำเดิมแต่เวลาที่เก็บแล้วไป คงตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์.
ถ้าวัดมีภิกษุน้อย, ภิกษุผู้เป็นสภาคกันอยู่; ไม่ต้องเก็บวัตรนับ
ราตรี ณ ภายในวัดนั่นแล. ถ้าไม่อาจให้หมดจด. พึงเก็บวัตรตามนัยที่
กล่าวแล้วนั่นแล พร้อมด้วยภิกษุ 4 รูปหรือ 5 รูป แวะออกจากทาง
ใหญ่นั่งในที่กำบัง ด้วยพุ่มไม้หรือด้วยรั้ว ให้เลย 2 เลฑฑุบาตจาก
เครื่องล้อมแห่งวัดที่ล้อม จากที่ควรแก่เครื่องล้อมแห่งวัดที่ไม่ได้ล้อม
ในเวลาใกล้รุ่งทีเดียว. พึงสมาทานวัตรแล้วบอกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
เฉพาะในภายในอรุณ.
ถ้าภิกษุอื่นบางรูปมาที่นั้น ด้วยกิจจำเป็นเฉพาะบางอย่าง ; ถ้า
มานัตตจาริกภิกษุนั่น เห็นภิกษุนั้น หรือได้ยินเสียงของเธอ. ควรบอก
เมื่อไม่บอก เป็นรัตติเฉท ทั้งเป็นวัตตเภท.
ถ้าภิกษุนั้นล้ำอุปจารเข้าไป 32 ศอกแล้วไปเสียแต่เมื่อมานัตตจาริก-
ภิกษุยังไม่ทันรู้, มีแต่รัตติเฉทเท่านั้น ส่วนวัตตเภทไม่มี.

ก็แล จำเดิมแต่กาลที่ได้บอกแล้วไป มีภิกษุทั้งหลายเว้นภิกษุ
ไว้รูปหนึ่ง ที่เหลือจะไปเสียในเมื่อมีกิจจำเป็นก็ควร ครั้นอรุณขึ้นแล้ว
พึงเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น. ถ้าภิกษุแม้นั้นไปเสียก่อนอรุณด้วยกรรม
บางอย่าง มานัตตจาริกภิกษุเห็นภิกษุใดก่อน จะเป็นภิกษุอื่นซึ่งออกจาก
วัดไปก็ตาม เป็นอาคันตุกะก็ตาม พึงบอกแล้วเก็บวัตรในสำนักภิกษุนั้น.
ก็มานัตจาริกภิกษุนี้ บอกแก่คณะและคอยกำหนดความที่มีภิกษุ
หลายรูปอยู่ ด้วยเหตุนั้น โทษเพราะประพฤติในคณะพร่องหรือโทษ
เพราะอยู่ปราศ จึงไม่มีแก่เธอ.
พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าไม่เห็นใคร ๆ, พึงไปวัดแล้วเก็บ
ในสำนักภิกษุรูปหนึ่ง ในบรรดาภิกษุที่ไปกับตน.
ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า เห็นภิกษุใดก่อน, พึงบอกแล้ว
เก็บในสำนักภิกษุนั้น. นี้เป็นบริหารของภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว .
ภิกษุนั้นครั้นประพฤติมานัต 6 ราตรีไม่ขาดอย่างนั้นแล้ว พึงขอ
อัพภานในที่ซึ่งมีภิกษุสงฆ์เป็นคณะ 20 รูป. และภิกษุทั้งหลายผู้จะ
อัพภาน พึงทำเธอให้เป็นผู้ควรแก่อัพภานก่อน.
จริงอยู่ ภิกษุนี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานผู้ปกตัตต์ เพราะเธอเก็บวัตร
เสียแล้ว. และจะทำอัพภานแก่ปกตัตต์ ย่อมไม่ควร. เพราะฉะนั้น
พึงให้เธอสมาทานวัตร. เธอย่อมเป็นผู้ควรแก่อัพภาน ในเมื่อสมาทาน
วัตรแล้ว. แม้เธอพึงสมาทานวัตรแล้วบอก แล้วขออัพภาน. กิจที่จะ
ต้องสมาทานวัตรอีก ย่อมไม่มีแก่ผู้มีได้เก็บวัตร.

จริงอยู่ ภิกษุผู้มีได้เก็บวัตรนั้น เป็นผู้ควรแก่อัพภาน โดยล่วง
6 ราตรีเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น เธออันสงฆ์พึงอัพภาน
อัพภานวิธีในอัปปฏิจฉันนาบัตินั้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
พระบาลีว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว อพฺเภตพฺโพ ดังนี้ นั่นแล
แต่อัพภานวิธีนี้ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจอาบัติตัวเดียว. ก็ถ้าเป็นอาบัติ
2-3 ตัว หรือมากมาย มีวัตถุเดียวหรือมีวัตถุต่าง ๆ กัน . พึงทำ
กรรมวาจาด้วยอำนาจอาบัติเหล่านั้น อัปปฏิจฉันนมานัต สงฆ์พึงให้
ด้วยประการอย่างนี้.

ปริวาส


ก็ปฏิจฉันนมานัต เป็นของที่สงฆ์ควรให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติที่ปกปิดไว้เสร็จแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวปริวาสกถา
ก่อน แล้วจึงจักกล่าวปฏิจฉันนมานัต นั้น
ปริวาสและมานัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอาการเป็นอเนกใน
พระบาลีโดยนัยเป็นต้นว่า ถ้ากระนั้น สงฆ์จงให้ปริวาสวันหนึ่งเพื่อ
อาบัติ ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิอันปิดไว้วันเดียว แก่ภิกษุอุทายีเถิด
วินิจฉัยที่ท่านได้กล่าวไว้ในอาคตสถานของปริวาสและมานัตนั้นๆ
ถึงความพิสดารเกินไปเหมือนในบาลี ทั้งเป็นวินิจฉัยที่ใคร ๆ ไม่อาจ
กำหนดได้โดยง่าย. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจักประมวลปริวาสและมานัต
นั้นแสดงในอธิการนี้ทีเดียว.
ก็แล ขึ้นชื่อว่าปริวาสนี้ ที่ประสงค์ในพระบาลีนี้ มี 3 อย่าง
คือ ปฏิจฉันนปริวาส 1 สุทธันตปริวาส 1 สโมธานปริวาส 1 .