เมนู

หัวข้อประจำขันธกะ


[584] อาบัติไม่ได้ปิดบังไว้ ปิดบังไว้วันหนึ่ง ปิดบังไว้ 2 วัน
3 วัน 4 วัน 5 วัน ปักษ์หนึ่ง สิบวันเป็นต้น หลายเดือน มหา-
สุทธันตปริวาส เพื่ออาบัติทั้งหลาย ภิกษุสึก อาบัติมีประมาณ ภิกษุ
2 รูป มีความสำคัญในอาบัตินั้น 2 รูป มีความสงสัย มีความเห็น
ว่าเจือกัน มีความเห็นว่าเจือและไม่เจือกัน มีความเห็นในกองอาบัติไม่
ล้วนเทียว และมีความเห็นว่าล้วนเช่นนั้นเหมือนกัน รูปหนึ่งปิดบัง
รูปหนึ่งไม่ปิดบัง หลีกไป วิกลจริต กำลังแสดงปาติโมกข์ ความ
หมดจด และไม่หมดจด ในการชักเข้าหาอาบัติเดิม 18 อย่าง นี้เป็น
นิพนธ์ของพวกอาจารย์ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้จำแนกบทผู้ยังชาวเกาะ
ตามพปัณณิให้เลื่อมใสแต่งไว้ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

สมุจจยักขันธก วรรณนา


มานัต 4 อย่าง


วินิจฉัยในสมุจจยักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ฉารตฺตํ มานตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยว่า มานัต 4 อย่าง
คือ อัปปฏิจฉันนมานัต 1 ปฏิจฉันนมานัต 1 ปักขมานัต 1
สโมธานมานัต 1.
ในมานัต 4 อย่างนั้น ที่ชื่ออัปปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัต
ที่สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยความเป็นผู้ต้องอาบัติล้วนเท่านั้นไม่ต้อง
ให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ไม่ได้ปิด.
ที่ชื่อปฏิจฉันนมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
เสร็จแล้ว เพื่ออาบัติที่ปิดไว้.
ที่ชื่อปักขมานัต ได้แก่ มานัตกึ่งเดือนที่สงฆ์ให้แก่นางภิกษุณี
เพื่ออาบัติที่ปิดไว้หรือมิได้ปิด.
ที่ชื่อสโมธานมานัต ได้แก่ มานัตที่สงฆ์รวม คือ ประสบกัน
ให้.

อัปปฏิจฉันนมานัต


บรรดามานัต 4 อย่างนั้น สโมธานมานัตนี้ พึงทราบว่าเป็น
อัปปฏิจฉันนมานัต ตามพระบาลีว่า มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติที่
ไม่ปิดไว้. เมื่อจะให้สโมธานมานัตนั้น ถ้าภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติตัวเดียว
พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอัปปฏิจฉันนมานัตนี้แล.