เมนู

3. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงติกรรม
10. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
11. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
12. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
13 . ไม่พึงทำการไต่สวน
14 . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
15 . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
16 . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
17. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
18. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร 18 ข้อ ในสิยสกรรม จบ

วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ


[76] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือให้
กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพคบหานั่งใกล้กัลยาณ-
มิตรขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม

ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี
ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ
แก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม
ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไปภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า.
[77] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ.

วัตรที่ไม่ควรระงับ 18 ข้อ 3 หมวด


หมวดที่ 1


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 5 คือ :-
1. ให้อุปสมบท
2. ให้นิสัย
3. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
4. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์ไม่พึง
ระงับนิยสกรรม.