เมนู

และในปาริวาสิกวัตตาธิการนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเป็น
ต้น พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในฐานของผู้ปกตัตตะของปาริวาสิกภิกษุเป็นต้น.
วินิจฉัยในคำว่า ปาริวาสิกจตุตฺโถ เจ ภิกฺขเว ปริวาสํ
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
การที่สงฆ์ทำปาริวาสิกภิกษุให้เป็นที่ 4 ทำกรรมมีให้ปริวาสเป็น
ต้น แก่กันและกัน ย่อมใช้ไม่ได้โดยแท้. ในกรรมมีให้ปริวาสเป็นต้น
เหล่านั้นเท่านั้น ที่ปาริวาสิกภิกษุนี้เป็นคณปูรกะไม่ได้, ในสังฆกรรมที่
เหลือ เป็นได้ และเมื่อคณะไม่ครบ พึงให้ปาริวาสิกภิกษุเก็บวัตรแล้ว
จึงทำให้เป็นคณปูรกะฉะนี้แล.
ปาริวาสิกวัตรกถา จบ

ปริวาส


ก็แลเพราะได้ฟังวัตตกถานี้ พระอุบาลีเถระผู้ทรงวินัยผู้อยู่ ณ ที่เร้น
จึงได้เกิดการรำพึงอย่างนี้ว่า วัตรสำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาส พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้มาก, ในวัตรนี้ รัตติเฉทย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอ?
ท่านจึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามเนื้อความนั้น. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์แก่ท่าน.
เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถ โข
อายสฺมา อุปลิ ฯลฯ รตฺติจฺเฉทา
ดังนี้.
ใน 3 อย่างนั้น ที่ชื่อว่าการอยู่ร่วม ได้แก่ การอยู่ด้วยกันที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีคำเป็นต้นว่า ในที่มุงอันเดียวกันกับ
ภิกษุผู้ปกตัตตะ.

ที่ชื่อว่า อยู่ปราศ ได้แก่ การอยู่ของภิกษุรูปเดียวเท่านั้น.
ที่ชื่อว่า ไม่บอก ได้แก่ ไม่บอกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น .
รัตติเฉท ย่อมมีด้วยเหตุอันหนึ่ง ๆ ในเหตุ 3 อย่างนี้.
ข้อว่า น สกฺโกนฺติ มีความว่า เมื่อไม่สามารถไปบอกแก่
ภิกษุทั้งปวงในที่นั้น ๆ เพราะข้อที่สงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ ชื่อว่าไม่สามารถจะ
ให้ปริวาสหมดจดได้.
ในสองบทนี้ คือ ปริวาสํ นิกขิปามิ 1 วตฺตํ นิกฺขิปามิ 1
ปริวาส เป็นอันเก็บแม้ด้วยบทอันหนึ่ง ๆ เป็นอันเก็บเรียบร้อยแท้ด้วย
ทั้ง 2 บท. แม้ในการสมาทาน ก็มีนัยเหมือนกัน. ภิกษุผู้สมาทาน
วัตร อยู่ปริวาสเสร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะถือมานัต ไม่มีกิจที่จะต้อง
สมาทานวัตรอีก.
จริงอยู่ ภิกษุนั่นคงเป็นผู้สมาทานวัตรอยู่นั่นเอง. เพราะเหตุนั้น
สงฆ์พึงให้มานัต 6 ราตรีแก่เธอ, พอเธอประพฤติมานัตแล้วพึงอัพภาน.
เธอเป็นผู้ไม่มีอาบัติ ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้บริสุทธิ์อย่างนั้นแล้ว จักบำเพ็ญ
ไตรสิกขา กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.
ปริวาสกถา จบ
ปกตัตตะของกันและกัน
ข้อว่า มูลาย ปฏิกสฺสนารหา ภิกฺขู สาทิยนฺติ ปกตตฺตานํ
มีความว่า เว้นภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาผู้อ่อนกว่าเสีย ได้แก่ภิกษุ
ทั้งหลายที่เหลือ โดยที่สุด แม้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น .

จริงอยู่ บรรดาภิกษุ 5 จำพวก คือภิกษุผู้อยู่ปริวาส 1 ผู้ควร
แก่มูลายปฏิกัสสนา 1 ผู้ควรแก่มานัต 1 ผู้ประพฤติมานัต 1 ผู้ควร
แก่อัพภาน 1 เหล่านี้ เว้นภิกษุผู้อ่อนกว่าของตน ๆ เสียที่เหลือทั้งหมด
คงจัดเป็นผู้ปกตัตตะ.
เพราะเหตุไร?
เพราะเหตุที่การอภิวาทเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ตามลำดับ คือ ตามแก่. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ได้แก่
ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ โดยที่สุด แม้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น . ส่วน
ลักษณะแห่งภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเป็นต้นเหล่านั้น จักมีแจ้งข้าง
หน้า. คำที่เหลือในอธิการ ว่าด้วยภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนายินดี
อภิวาทเป็นต้น ของภิกษุผู้ปกตัตตะนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน
วัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นต้น แม้อื่นจากอธิการนี้ และในวัตร
ของปาริวาสิกภิกษุนั่นแล.
วินิจฉัยแม้ในคำว่า มูลายปฏิกสฺสนารหจตุตฺ เจ เป็นต้น
พึงทราบดังนี้ :-
แม้ภิกษุผู้ควรแก่มูลายปฏิกัสสนาเหล่านั้น ย่อมเป็นคณปูรกะในวินัย
กรรมเหล่านั้นไม่ได้ เหมือนปาริวาสิกภิกษุฉะนั้นแล. ในสังฆกรรมที่
เหลือ เป็นได้.
ความแปลกกันในวัตรของมานัตตจาริกภิกษุ คือ มานัตตจาริก-
ภิกษุ ต้องบอกทุกวัน.

ภิกษุ 4. รูปหรือเกินกว่า ชื่อว่า คณะ คำว่า อูเน คเณ
นี้ ในพวกรัตติเฉท. เพราะเหตุนั้น ถ้าแม้มานัตตจาริกภิกษุ อยู่กับ
ภิกษุ 3 รูป เป็นรัตติเฉททีเดียว.
ในการเก็บและสมาทานมานัต วินิจฉัยคล้ายกับที่กล่าวแล้วนั่นแล.
คำที่เหลือทุก ๆ แห่ง ตื้นทั้งนั้น ด้วย ประการฉะนี้.
ปาริวาสิกักขันธกวรรณนา จบ

สมุจจยขันธกะ


เรื่องพระอุทายี


[377] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ
พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้น ท่านพระอุทายี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ผมต้อง
อาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ผมจะพึง
ปฏิบัติอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้มานัต 6
ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้แก่
ภิกษุอุทายี.

วิธีให้มานัต


[378] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้มานัตอย่างนี้
ภิกษุอุทายีนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้
เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอมานัต
ว่าดังนี้ :-

คำขอมานัต


ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
นั้นขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-