เมนู

ปัพพาชนียกรรม


เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณ-
นาแห่งสังฆาทิเสส1. แต่วินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า กายิเกน ทเวน
ในเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การเล่นเป็นไปทางกาย เรียกชื่อว่า ความคะนองเป็นไปทางกาย.
แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ในกายทวาร เรียกชื่อว่า
อนาจารเป็นไปทางกาย. แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความลบล้างด้วยข้อที่ไม่ศึกษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในกายทวาร
เรียกชื่อว่า ความลบล้างเป็นไปทางกาย.
อธิบายว่า การผลาญ คือล้างผลาญ. แม้ใน 2 บทที่เหลือก็นัยนี้
แล.
การหุงน้ำมันและดองยาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทำแก่
คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไปทางกา การรับและ
บอกข่าวสาส์นเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไป
ทางวาจา. กิจทั้ง 2 นั้น ชื่อว่ามิจฉาชีพเป็นไปทั้งทางกายทั้งทางวาจา.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.

ปฏิสารณียกรรม


ก็แลวินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้:-
1. สมนฺ ต. ทุติย. 127

บทว่า อนปโลเกตฺวา ได้แก่ ไม่บอกเล่า.
บทว่า เอตทโวจ มีความว่า พระสุธรรมถามว่า คหบดีขาทนีย
โภชนียะนั้น ท่านจัดเอาไว้เพื่อพระเถระทั้งหลายหรือ? ดังนี้แล้วให้
เปิดทั้งหมดเห็นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้.
คำว่า เอกา จ โข อิธ นตฺถิ, ยทิทํ ติลสงฺคุฬิกา
มีความว่า ขนมนี้ใด เขาเรียกกันว่า ขนมแดกงา, ขนมนั้นไม่มี.
ได้ยินว่า ขนมแปลกชนิดหนึ่ง ได้มีในต้นวงศ์ของคหบดีนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระเถระประสงค์จะด่าคหบดีนั้นกระทบชาติ จึงกล่าว
อย่างนั้น.
คำว่า ยเทว กิญฺจิ เป็นต้น มีความว่า เมื่อพุทธวจนะมีมาก
อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าสุธรรมละพุทธวจนะเป็นอันมากซึ่งเป็นรัตนะเสีย
กล่าวคำว่าขนมแดกงาซึ่งเป็นคำหยาบนั่นแล.
คหบดีแสดงเนื้อความนี้ ด้วยอุทาหรณ์เรื่องลูกไก่ว่า ลูกไก่นั้นไม่
ได้ขันอย่างกา ไม่ได้ขันอย่างไก่ฉันใด, ท่านไม่ได้กล่าวคำของภิกษุ ไม่ได้
กล่าวคำของคฤหัสถ์ฉันนั้น.
ติกะทั้งหลาย มีคำว่า อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีประการดังกล่าว
แล้วนั่นแล. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ไม่เหมือนกับภิกษุรูปก่อนๆ.
บรรดาองค์เหล่านั้น มีคำว่า คิหีนํ อลาภาย เป็นต้น ความว่า
คฤหัสถ์ทั้งหลายจะไม่ได้ลาภด้วยประการใด, เมื่อภิกษุขวนขวายคือ พยา-
ยามด้วยประการนั้น ชื่อว่า ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภ. ในอนัตถะเป็นต้น
ก็นัยนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น ความเสียประโยชน์ ชื่อ อนัตถะ.
บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อความเสียประโยชน์.
ความอยู่ในที่นั้นไม่ได้ ชื่อว่าความอยู่ไม่ได้.
ข้อว่า คิหีนํ พุทฺธสฺส อวณฺณํ มีความว่า กล่าวติพระพุทธ-
เจ้าในสำนักคฤหัสถ์.
ข้อว่า ธมฺมิกํ ปฏิสฺสวํ น สจฺจาเปติ มีความว่า ความรับ
จะเป็นจริงได้ด้วยประการใด เธอไม่ทำด้วยประการนั้น; คือ รับการ
จำพรรษาแล้วไม่ไป หรือไม่ทำกรรมเห็นปานนั้นอย่างอื่น.
คำว่า ปญฺจนฺนํ ภิกฺขเว เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุผู้ควรแก่กรรม แม้ด้วยองค์อันเดียว.
คำที่เหลือในเรื่องนี้ มีความตื้น และมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนีย-
กรรมทั้งนั้น.

อุกเขปนียกรรม


วินิจฉัยในเรื่องพระฉันนะ พึงทราบดังนี้ :-
คำว่า อาวาสปรมฺปรญฺจ ภิกฺขเว สํสถ มีความว่า และ
ท่านทั้งหลายจงบอกในอาวาสทั้งปวง.
ในบทว่า ภณฺฑนการโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สงฆ์พึงยก
อาบัติที่ต้อง เพราะปัจจัยมีความบาดหมางเป็นต้น กระทำกรรมเพราะไม่
เห็นอาบัตินั้นนั่นแล.