เมนู

ให้ทำด้วยวัตถุ กล่าวคือความเป็นผู้พาล เป็นผู้ไม่ฉลาด ดังนี้แล. ใน
กรรมทั้งปวงมีนัยเหมือนกัน.
ข้าพเจ้า จักพรรณนาวัตถุแห่งความประพฤติชอบ 18 อย่าง ใน
ปาริวาสิกักขันธกะ.
สองบทว่า โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า เป็นผู้หายเย่อหยิ่ง.
อธิบายว่า ประพฤติตามภิกษุทั้งหลาย.
สองบทว่า เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า วัตรนี้เป็นของภิกษุ
ทั้งหลายผู้ออก เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า เนตฺถารํ วัตรของผู้ออก.
อธิบายว่า ตนสามารถจะออกจากนิสสารณาด้วยวิธี 18 อย่างใด,
ย่อมประพฤติวิธี 18 อย่างอันนั้นโดยชอบ.
ถามว่า ภิกษุผู้ถูกนิสสารณา บำเพ็ญวัตรสิ้นกาลเท่าไร ?
ตอบว่า 10 วัน หรือ 20 วันก็ได้.
จริงอยู่ ในกัมมักขันธกะนี้ วัตรเป็นของที่ภิกษุพึงบำเพ็ญโดยวัน
เท่านี้เท่านั้น.

นิยสกรรม


วินิจฉัยในเรื่องพระเสยยสกะ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า อปิสสุ ภิกฺขู ปกตตฺตา มีความว่า ก็แต่ว่าภิกษุทั้ง
หลายย่อมเป็นผู้ขวนขวายเป็นนิตย์
คำที่เหลือเช่นกับคำที่กล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.

ปัพพาชนียกรรม


เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในวรรณ-
นาแห่งสังฆาทิเสส1. แต่วินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า กายิเกน ทเวน
ในเรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนี้ พึงทราบดังนี้ :-
การเล่นเป็นไปทางกาย เรียกชื่อว่า ความคะนองเป็นไปทางกาย.
แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ในกายทวาร เรียกชื่อว่า
อนาจารเป็นไปทางกาย. แม้ใน 2 บทที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
ความลบล้างด้วยข้อที่ไม่ศึกษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในกายทวาร
เรียกชื่อว่า ความลบล้างเป็นไปทางกาย.
อธิบายว่า การผลาญ คือล้างผลาญ. แม้ใน 2 บทที่เหลือก็นัยนี้
แล.
การหุงน้ำมันและดองยาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทำแก่
คนที่ทรงห้ามเป็นต้น เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไปทางกา การรับและ
บอกข่าวสาส์นเป็นต้น ของพวกคฤหัสถ์ เรียกชื่อว่า มิจฉาชีพเป็นไป
ทางวาจา. กิจทั้ง 2 นั้น ชื่อว่ามิจฉาชีพเป็นไปทั้งทางกายทั้งทางวาจา.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตัชชนียกรรมนั่นแล.

ปฏิสารณียกรรม


ก็แลวินิจฉัยในเรื่องพระสุธรรม พึงทราบดังนี้:-
1. สมนฺ ต. ทุติย. 127