เมนู

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ 7 จบ
กัมมขันธกะ ที่ 1 จบ
ในขันธะนี้มี 7 เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ


[319] 1. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาด
หมางเอง ได้เข้าหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาด
หมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยาย
ตัวออกไป ภิกษุทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง
ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด 1 ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทศนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด 1
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
หมวด 1 ทำลับหลัง ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1 ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค

ทำ หมวด 1 ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์
เป็นวรรคทำ หมวด 1 ไม่โจทก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์
เป็นวรรคทำ หมวด 1 ไม่ไห้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1 ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น
ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั่นแหละ
เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุใด สงฆ์พึงลงตัชชนีย-
กรรมแก่ภิกษุนั้น ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล คลุกคลีกับคฤหัสถ์
หมวด 1 วิบัติในอธิศีล ในอัธยาจาร ในอติทิฏฐิ หมวด 1 กล่าว
ติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หมวด 1
สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 รูป คือ รูปหนึ่งก่อความบาด
หมาง รูปหนึ่งเป็นพาล รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด 1 รูปหนึ่ง
วิบัติในศีล รูปหนึ่งวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งวิบัติในอติทิฏฐิ หมวด 1
รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่ง
กล่าวติเตียนพระสงฆ์ หมวด
ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้
คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอน
ภิกษุณี และได้สมมติแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัตินั้น ไม่ต้องอาบัติอื่น
อันเช่นกันและอาบัติยิ่งกว่านั้น ไม่ติกรรม ไม่ภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่ห้ามอุโบสถ ปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ไม่ทำการไต่สวน ไม่เริ่มอนุ-

วาทาธิกรณ์ ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่น
ให้การ และไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน.
ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ 5 คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้
สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนและองค์
5 คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอันเช่นกัน และต้องอาบัติที่ยิ่งกว่านั้น
ติกรรม ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม สงฆ์ไม่ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น.
ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ 8 นี้ คือ ห้ามอุโบสถ ปวารณา ทํา
การไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่น
ให้การ และให้สู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่ระงับจากตัชชนียกรรม.
ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั้นแหละ.
2. พระเสยยสกะเป็นพาล มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนี รับสั่งให้ลงนิยสกรรม.
3. ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทั้งหลาย ในชนบท
กิฏาคีรีไม่สำรวม ประพฤติแม้ซึ่งอนาจารมีอย่างต่าง ๆ พระสัมพุทธชิน-
เจ้ารับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรม ในพระนครสาวัตถี.
4. พระสุธรรมเป็นเจ้าถิ่นของจิตตคหบดีในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ด่า
จิตตะผู้อุบาสก ด้วยถ้อยคำกระทบชาติ พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณีย
กรรม.
5. พระชินเจ้าผู้อุดม ทรงบัญชาให้ลงอุกเขปนียกรรม ในเพราะ
ไม่เห็นอาบัติ แก่พระฉันนะผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในพระนคร
โกสัมพี.

6. พระฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นแล พระพุทธเจ้าผู้
ดำรงตำแหน่งนายกพิเศษ รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน
อาบัติต่อไป.
7. ทิฏฐิอันเป็นบาป อาศัย ความรู้ บังเกิดแก่พระอริฏฐะ พระ
ชินเจ้าดำรัสให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ นิยสกรรม ปัพพาช-
นียกรรม และปฏิสารณียกรรม ก็เหมือนกัน.
บทเกินเหล่านั้นมีในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติ
อนาจารลบล้างพระบัญญัติ และมิจฉาชีพ ฐานไม่เห็นและไม่ทำคืนอาบัติ
และฐานไม่สละทิฏฐิ บทเกินเหล่านี้มีในปฏิสารณียกรรมคือ มุ่งความไม่
มีลาภ กล่าวติเตียนมีนามว่า ปัญจกะ 2 หมวด ๆ ละ 5 แม้กรรมทั้ง
สอง คือ ตัชชนียกรรม และนิยสกรรม ก็เช่นกัน ปัพพาชนียกรรม
และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน 8 ข้อ 2 หมวด โดยการ
จำแนกอุกเขปนียกรรม 3 อย่างนั้น เช่นเดียวกัน.
ปราชญ์พึงทราบกรรมที่เหลือ แม้ตามนัยแห่งตัชชนียกรรม เทอญ.
หัวข้อประจำขันธกะ จบ

สมันตปาสาทิกา


จุลวรรค


กัมมักขันธกวรรณนา


ตัชชนียกรรม


วินิจฉัยในกัมมักขันธกะเป็นที่ 1 แห่งจุลวรรค พึงทราบก่อน
ดังนี้ :-
บทว่า ปณฺฑุกโลหิตกา ได้แก่ชน 2 ในพวกฉัพพัคคีย์ คือ
ปัณฑุกะ 1 โลหิตกะ 1 แม้นิสิตทั้งหลายของเธอทั้ง 2 ก็ปรากฏชื่อว่า
ปัณฑุกะ และ โลหิตกะ เหมือนกัน.
สามบทว่า พลวา พลวํ ปฏิมนฺเตถ มีความว่า ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้ดี ให้แข็งแรง.
บทว่า อลมตฺถตรา จ คือเป็นผู้สามารถกว่า.
ในองค์ 3 มี อสมฺมุขา กตํ เป็นต้น มีความว่า กรรมที่ทำคือ
ฟ้องร้องไม่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรมวินัย และบุคคล, ไม่สอบถามก่อนทำ,
ทำด้วยไม่ปฏิญญาแห่งบุคคลนั้นแล.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำด้วยอาบัติปาราชิกหรือ
สังฆาทิเสส.