เมนู

คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป


ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่ง
กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง
ประพฤตแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่
สละทิฏฐิอันเป็นบาป
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป
นี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น
บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์
พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่
ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูป
นี้ ถูกสงฆ์ลงอุปเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็น.

บาป แล้วประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้
ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิ
อันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การระงับอุปเขปนียกรรม ฐาน
ไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง
พูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง....
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ
สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป แล้วประพฤติโดย
ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป สงฆ์ระงับ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาปแก่ภิกษุมีชื่อ
นี้ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง
ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป
สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้อย่างนี้.

อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฏฐิอันเป็นบาป ที่ 7 จบ
กัมมขันธกะ ที่ 1 จบ
ในขันธะนี้มี 7 เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ


[319] 1. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาด
หมางเอง ได้เข้าหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาด
หมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยาย
ตัวออกไป ภิกษุทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง
ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบ
ถามก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด 1 ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ
ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทศนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด 1
ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ
หมวด 1 ทำลับหลัง ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1 ทำ
เพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด 1
ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทศนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค