เมนู

หมวดที่ 3


[172] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 8 สงฆ์พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม คือ:-
1. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
2. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
3. ไม่ทำการไต่สวน
4. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
5. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
6. ไม่โจทภิกษุอื่น
7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
8. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล สงฆ์พึงระงับ
ปฏิสารณียกรรม.
วัตรที่ควรระงับ 8 ข้อ ในปฏิสารณียกรรม จบ

วิธีระงับปฏิสารณียกรรม


[173] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับปฏิสารณียกรรมพึง
ระงับอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรมนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียง
บ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว
คำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประ-
พฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-
กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาระงับปฏิสารณียกรรม


ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณีย-
กรรม ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง
ระงับปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุสุธรรม นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้
ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับปฏิสารณีย-
กรรมสงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม การระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้
นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด