เมนู

ท่านพระโสณะทูลรับสนองพระพุทธพจน์ว่า จะปฏิบัติตามพระพุทธ-
โอวาทอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนท่านพระ-
โสณะด้วยพระโอวาทข้อนี้แล้ว ทรงอันตรธานที่ป่าสีตวันต่อหน้าท่านพระโสณะ.
แล้วมาปรากฏพระองค์ ณ คิชฌกูฏบรรพต เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียด
แขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

พระโสณะสำเร็จพระอรหัตผล


ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรแต่พอเหมาะ ทราบ
ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายเสมอกัน และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอ ครั้นแล้วได้
หลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไป ไม่นานเท่าไรนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน
เอง ในปัจจุบันนี้แหละ เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ
ได้มี ก็แลบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูป
หนึ่งแล้ว.

พรรณนาคุณของพระขีณาสพ


[3] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้า
กระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ว่าดังนี้:-

พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์
ของคนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว
หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่เหตุ 6 สถาน คือ:-
1. น้อมใจไปสู่บรรพชา.
2. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด.
3. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน.
4. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน.
5. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ.
6. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่น
นี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่
บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำ
จะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดย
ที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศ
จากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ
เพราะสิ้นโมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น
เช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจ
ไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุ-
ขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยัง
มีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ

เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความ
เงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัย สำคัญเห็น
เช่นนี้ ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้ พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่าง
นั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจทำควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสนราคะ, จึง
น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ,
จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
...จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะ
สิ้นโทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะ
สิ้นโมหะ.
...จึงน้อมใจไปสู่ควานสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น
โทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ,
...จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะ
สิ้นราคะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้น
โทสะ, จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้น
โมหะ.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ
ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำ
จิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็น

ธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ
ดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต . . .
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ . . .
แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา. . .
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติดังมั่นไม่
หวั่นไหวและภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความคับของจิตนั้น.
พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็น
แต่งทึบอันเดียวกัน แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยัง
ภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย.
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก . . .
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ . . .
แม้หากฝนเจือลมอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว
สะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้ฉันใด.
พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ
ผ่านมาสู่คลองจักษุ ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น แล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้
เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับของจิตนั้น.
แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต. . .
แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ . . .

แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา . . .
แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย . . .
แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลอง
ใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพนักแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้
เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่
หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉัน
นั้นเหมือนกันแล.

นิคมคาถา


[4] ภิกษุผู้น้อมไปสู่บรรพชา 1 ผู้
น้อมไปสู่ความเงียบสงัดแห่งใจ 1 ผู้น้อมไป
สู่ความไม่เบียดเบียน 1 ผู้น้อมไปสู่ความสิ้น
อุปาทาน ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา 1 ผู้
น้อมไปสู่ความไม่หลงใหลแห่งใจ ย่อมมี
จิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด
และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้น
แล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ
สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็
ไม่มี เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลา
เป็นแท่งทึบ อันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือน
ด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ
และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่
น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้
หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น จิตของท่านตั้งมั่น
หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นคาวาม
เกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.