เมนู

สะเดา ใบมูกมัน ใบกระคอมหรือขี้กา ใบกะเพรา หรือแมงลัก ใบผาย ก็หรือ
ปัณณเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว
ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค
รับประเคนปัณณเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้
บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตผลเภสัช


[31] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ผลไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัช คือ ลูก
พิลังกาสา ดีปรี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ ก็
หรือผลเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวใน
ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ
ประเคนผลเภสัชเหล่านั้นแล้ว เก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้
เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตชตุเภสัช


[32] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
ยางไม้เป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ที่เป็นเภสัช คือ ยาง
อันไหลออกจากต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขา
เคี่ยวจากใบแห่งต้นหิงคุ หรือเจือของอื่นด้วยยางอันไหลออกจากยอดไม้ตกะ

ยางอันไหลออกจากใบแห่งต้นตกะ ยางอันเขาเดี่ยวจากใบหรือไหลออกจากก้าน
แห่งต้นตกะ กำยานก็หรือชตุเภสัชชนิดอื่นในบรรดามีที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่
ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของ
ควรบริโภค รับประเคนชตุเภสัชเหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมี
เหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตโลณเภสัช


[33] ก็โดยสมัยนั้นแล. ภิกษุทั้งหลายที่อาพาธมีความต้องการด้วย
เกลือเป็นเภสัช จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัช คือ เกลือ
สมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง เกลือหุง ก็หรือโลณเภสัชชนิด
อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่
สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค รับ ประเคนโลณเภสัช
เหล่านั้น แล้วเก็บไว้ได้จนตลอดชีพ ต่อมีเหตุ จึงให้บริโภคได้ เมื่อเหตุไม่มี
ภิกษุบริโภค ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตโลณเภสัช


[ 34] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเวลัฏฐสีสะ อุปัชฌาย์ของท่านพระ
อานนท์ อาพาธเป็นโรคฝีดาษหรืออีสุกอีใส ผ้านุ่งผ้าห่มกรังอยู่ที่ตัว เพราะ
น้ำเหลืองของโรคนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาน้ำชุบ ๆ ผ้าเหล่านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออก
มา พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินตามเสนาสนะ. ได้ทอดพระเนตร
เห็นภิกษุพวกนั้น กำลังเอาน้ำชุบ ๆ ผ้านั้นแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ครั้นแล้วเสด็จ
พระพุทธดำเนินเข้าไปทางภิกษุเหล่านั้น ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย