เมนู

ว่าด้วยอุจจาสยนะและมหาสยนะ


วินิจฉัยในข้อว่า อุจฺจาสยนมหาสยนานิ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ที่นอนสูงนั้น ได้แก่ เตียงที่เกินประมาณ; ที่นอนใหญ่นั้นได้แก่
เครื่องลาดเป็นอกัปปิยะ.
ในอาสันทิเป็นต้น อาสันทิ นั้น ได้แก่ ที่นั่งอันเกินประมาณ
บัลลังก์ นั้น ได้แก่ ที่นั่งที่เขาทำรูปสัตว์ร้ายติดไว้ที่เท้า.
โคณกะ นั้น ได้แก่ ผ้าโกเชาว์ ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่าขนผ้า
แห่งโกเชาว์นั้น ยาวเกินสี่นิ้ว.
จิตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะซึ่งวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้าย
ปฏิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดขาว ทำด้วยขนแกะ.
ปฏลิกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีลายดอกไม้แน่น
เนื่องกัน เรียกกันว่า ผ้าชาวโยนก ผ้าคนทมิฬ.
ตูลิกา นั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดนุ่นตามปกตินั่นเอง.
วิกติกา นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปราชสีห์
และเสือโคร่งเป็นต้น .
อุทฺธโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นข้างเดียว
ปาฐะว่า อุทฺธํโลมี ก็มี.
เอกันตโลมี นั้น ได้แก่ เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ มีขนขึ้นทั้ง
สองข้าง
กฏิสสะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทอด้วยด้ายทองแกมไหมขลิบ
ด้วยทอง.

โกเสยยะ นั้น ได้แก่ ผ้าปูที่นอนที่ทอด้วยเส้นไหมขลิบด้วยทอง:
แต่เป็นไหมล้วนใช้ได้.
กุตตกะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนที่ทำด้วยขนแกะ ใหญ่พอนางฟ้อน
16 คนยืนรำได้.
หัตถัตถระ และ อัสสัตถระ ได้แก่ เครื่องลาดบนหลังช้างและ
หลังม้านั้นเอง. และในรถัตถระ ก็มีนัยเหมือนกัน.
อชินปเวณิ นั้น ได้แก่ เครื่องลาดที่ทำเป็นชั้น ซึ่งเย็บซ้อนกัน
ด้วยหนังเสือ โดยขนาดเท่าตัวเตียง.
กทลีมิคปวรปัจจัตถรณะ นั้น ได้แก่ เครื่องปูนอนอย่างดีที่สุด.
ได้ยินว่า ชนทั้งหลายทาบหนังชะมดบนผ้าขาวแล้วเย็บติดกัน ทำเป็นเครื่อง
ลาดนั้น.
สอุตตรัจฉทัง นั้น ได้แก่ ที่นอนที่มีเพดาน ข้างบนพร้อม
อธิบายว่า ที่นอนที่พร้อมด้วยเพดานแดงซึ่งติดไว้ข้างบน. ถึงมีเพดานขาว
เมื่อมีเครื่องลาดที่เป็นอกัปปิยะอยู่ข้างใต้ ย่อมไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.
อุภโตโลหิตกุปธานะ นั้น ได้แก่ ที่นอนมีหมอนแดงสองข้าง
แห่งเตียง คือ หมอนศีรษะหนึ่ง หมอนหนุนเท้าหนึ่ง ที่นอนชนิดนี้ไม่ควร.
แต่ว่า หมอนใดลูกเดียวเท่านั้น ที่หน้าสองข้างจะแดงก็ตาม มีสีดังดอกบัวหลวง
ก็ตาม วิจิตรก็ตาม ถ้าประกอบด้วยประมาณ หมอนนั้น ย่อมควร. ส่วน
หมอนใหญ่ทรงห้าม.
ทีปิจฉาปะ ได้แก่ ลูกเสือเหลือง.
บทว่า โอคุมฺผิยนฺติ มีความว่า ขนทั้งหลายใช้เชือกหนังร้อยผูกที่
พรึงรองฝาเป็นต้น.

บทว่า อภินิสีทิตํ มีความว่า (เราอนุญาต) เพื่อภิกษุนั่งทับ คือ
พิงได้.
วินิจฉัยในข้อว่า คิลาเนน ภิกฺขุนา สอุปาหเนน นี้ พึงทราบ
ดังนี้:-
ภิกษุใดจัดว่าผู้อาพาธไม่สวมรองเท้า ไม่สามารถจะเข้าบ้านได้.

เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ


บทว่า กุรรฆเร ได้แก่ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น, โคจรตามของพระ-
มหากัจจายนะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวด้วยบทว่า กุรรฆเร นั้น.
สองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต ได้แก่ ที่ภูเขาปปาต. สถานเป็นที่
อยู่ของท่าน พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวด้วยสองบทว่า ปปาเต ปพฺพเต
นั้น.
คำว่า โสณะ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. ก็และอุบาสกนั้นทรงเครื่อง
ประดับหูมีราคาโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า กุฏิกัณณะ ความว่า
โกฏิกัณณะ.
บทว่า เอกเสยฺยํ ได้แก่ การนอนของบุคคลผู้เดียว ความว่า
พรหมจรรย์ ประกอบด้วยการเป็นที่ประกอบความเพียรเนือง ๆ.
บทว่า ปาสาทิกํ ได้แก่ ให้เกิดความเลื่อมใส.
บทว่า ปสาทนียํ นี้ เป็นคำกล่าวซ้ำเนื้อความของบทว่า ปาสาทิกํ
นั้นแล.
บทว่า อุตฺตมทมถสมถํ ได้แก่ ความฝึกและความสงบคือปัญญาและ
สมาธิอันอุดม, ความว่า ความสงบกายและสงบจิตดังนี้ ก็ได้.