เมนู

อรรถแห่งคาถา


สองบทว่า สงฺฆสฺส กิจฺเจสุ มีความว่า เมื่อกิจทีจะพึงกระทำ เกิด
ขึ้นแก่สงฆ์.
บทว่า มนฺตนาสุ ได้แก่ เมื่อการปรึกษาวินัย.
สองบทว่า อตฺเถสุ ชาเตสุ ได้แก่ เมื่อเนื้อความแห่งวินัยเกิดขึ้น.
บทว่า วินิจฺฉเยสุ ได้แก่ ครั้นวินิจฉัยอรรถเหล่านั้นแล.
บทว่า มหตฺถิโก ได้แก่ ผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า ปคฺคหารโห ได้แก่ สมควรเพื่อยกย่อง.
บาทคาถาว่า อนานุวชฺโช ปฐเมน สีลโต มีความว่า ใน
ชั้นต้น ทีเดียว ใคร ๆ ก็ติเตียนไม่ได้โดยศีลก่อน.
บทว่า อเวกฺขิตาจาโร คือ ผู้มีอาจาระอันคนพิจารณาแล้ว ได้แก่
ผู้มีอาจาระอันตนคอยตรวจตราแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า มีปกติ ทำความรู้สึก
ตัว ในเมื่อมองดู ในเมื่อเหลียวแล.
ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายแก้ว่า ผู้มีอาจาระไม่ปกปิด คือผู้ระวังตัวดี.
บทว่า วิสยฺห ได้แก่ องอาจ.
สองบทว่า อนุยฺยุตฺตํ ภณํ คือ เมื่อพูด ไม่นอกเหตุอันควรคือ
ไม่เข้ากัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมพูดไม่นอก
เหตุอันควร, คือไม่พูดปราศจากเหตุด้วยความริษยา หรือด้วยอำนาจความ
ลำเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยังประโยชน์ให้เสีย. ฝ่ายบุคคลผู้พูดด้วย
ความริษยา หรือด้วยอำนาจความลำเอียง ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสีย
บุคคลนั้นไปในบริษัทย่อมประหม่าและสะทกสะท่าน, บุคคลใด ไม่เป็นผู้เช่น
นี้, บุคคลนี้สมควรเพื่อยกย่อง.

คาถาว่า ตเถว ปญฺหํ พึงทราบให้ชัดอีกสักหน่อย, เนื้อความแห่ง
คาถานั้น บุคคลผู้พูดไม่นอกเหตุอันสมควร ย่อมไม่ยังประโยชน์ให้เสียฉันใด
เขาเป็นผู้ถูกถามปัญหา ในท่ามกลางบริษัท ย่อมไม่เป็นผู้เก้อ ก็ฉันนั้นนั่นแล.
จริงอยู่ ผู้ใด ไม่รู้อรรถ ผู้นั้น ย่อมนิ่งอัน, ผู้ใด ไม่อาจเพื่อตอบ
ผู้นั้น ย่อมเป็นผู้เก้อ. ฝ่ายผู้ใด รู้อรรถด้วย อาจเพื่อตอบด้วย ผู้นั้น ย่อม
ไม่นิ่งอัน ไม่เป็นผู้เก้อ.
บทว่า กาลาคตํ มีความว่า เหมาะในกาลที่สมควรกล่าว.
บทว่า พฺยากรณารหํ ความว่า ชื่อว่าเป็นพยากรณ์ที่สมควร เพราะ
เข้ากับใจความแห่งปัญหา.
บทว่า วโจ ได้แก่ เมื่อพูด อธิบายว่า เมื่อกล่าวถ้อยคำเห็นปาน
นั้น.
บทว่า รญฺเชติ ได้แก่ ย่อมให้พอใจ.
บทว่า วิญฺญูปริสํ ความว่า ยังบริษัทแห่งวิญญูชนทั้งหลาย.
สองบทว่า อาเจรกมฺหิ จ สเก มีความว่า เป็นผู้แกล้วกล้า ใน
วาทะแห่งอาจารย์ของตน.
สองบทว่า อลํ ปเมตุํ มีความว่า เป็นผู้สามารถเพื่อพิจารณา คือ
เพื่อชั่งดูเหตุนั้น ๆ ด้วยปัญญา.
สองบทว่า ปคุโณ มีความว่า ผู้ได้ทำความสั่งสมไว้ คือ ได้ความ
ช่องเสพจนคุ้น.
บทว่า กเถตเว ได้แก่ ในคำที่จะพึงกล่าว.
บทว่า วิรทฺธโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาด คือรู้ทัน ในเหตุอันพิรุธ.

คาถาว่า ปจฺจตฺถิกา เยน วชนฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคตรัส เพื่อ
แสดงคำที่จะพึงกล่าว ซึ่งเป็นที่ชำนาญ. จริงอยู่ ในคาถามี้ มีเนื้อความดังนี้:-
ด้วยถ้อยคำเช่นใด อันตนกล่าวแล้ว ข้าศึกทั้งหลาย ย่อมถึงความถูก
ปราบ, และมหาชนย่อมถึงความยินยอม, อธิบายว่า ถึงความตกลงตามคำ
ประกาศ.
จริงอยู่บุคคลนี้ เมื่อกล่าว ชื่อว่าย่อมไม่ลบล้างลัทธิเป็นที่เชื่อถือของ
ตน คือวาทะแห่งอาจารย์ตน.
อธิกรณ์เกิดขึ้น เพราะเรื่องใด, เมื่อแก้ปัญหา สมควรแก่เรื่องนั้น
คือไม่ทำความขัดขวาง แก่เรื่องนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ชำนาญในคำที่จะพึงกล่าวเช่น
นั้น.
สองบทว่า ทูเตยฺยกมฺเมสุ อลํ มีความว่า ชื่อว่าผู้สามารถในกรรม
เนื่องด้วยทูตของสงฆ์เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งทูต 8 ประการ ชื่อ
ว่าผู้ยอมรับ เพราะอรรถว่า รับด้วยดี คือ โดยง่าย.
มีคำอธิบายดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาอยู่อมรับด้วยดี ซึ่งสักการะอันเขาพึง
นำมาคำนับคือบิณฑาหารอันชื่อว่า ขอคำนับ ชื่อฉันใด. บุคคลนี้ ย่อมเป็น
ผู้ยอมรับในกิจทั้งหลายของสงฆ์ ด้วยน้ำใจอันมีปีติและโสมนัสเป็นแท้ ข้อนี้ก็
ฉันนั้น, ความว่า เป็นผู้รับช่วยกิจนั้น ในบรรดากิจของสงฆ์.
สองบทว่า กรํ วโจ มีความว่า เมื่อทำหน้าที่เจรจา.
สองบทว่า น เตน มญฺญติ มีความว่า ย่อมไม่ประพฤติถือตัว.
และเย่อหยิ่งว่า เราทำ. เราช่วยภาระสงฆ์ เพราะการทำหน้าที่เจรจาอันนั้น.
บทว่า อาปชฺชติ ยาวตเกสุ มีความว่า เมื่อจะต้องอาบัติย่อม
ต้องในวัตถุมีประมาณเท่าใด.

สามบทว่า โหติ ยถา จ วุฏฺฐิติ1 มีความว่า และความออก
อาบัตินั้น ย่อมมีด้วยประการใด.
สองบทว่า เอเต วิภงฺคา มีความว่า ย่อมต้องในวัตถุเหล่าใดและ
ความออกย่อมมีด้วยประการใด, วิภังค์ทั้งสองเหล่านี้ของภิกษุนั้น ซึ่งส่องเนื้อ
ความเหล่านี้ มาดีแล้ว คือมาถูกต้องแล้ว.
บาทคาถาว่า อปตฺติวุฏฺฐานปทสิส โกวิโท คือ ผู้ฉลาดในเหตุ
แห่งการออกอาบัติ.
สองบทว่า ยานิ จาจรํ มีความ อนึ่ง เมื่อประพฤติซึ่งกรรมมี
ความก่อความบาดหมางเป็นต้น เหล่าใด จึงถึงความถูกขับออกด้วยอำนาจ
ตัชชนียกรรมเป็นอาทิ
บาทคาถาว่า โอสารณํ ตํ วุสิตสฺส ชนฺตุโน มีความว่า เมื่อ
บุคคลอยู่จบพรตนั้นแล้ว, การเรียกเข้าหมู่อันใด สงฆ์พึงทำให้, ย่อมรู้การ
เรียกเข้าหมู่แม้นั้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อรรถกถาโกสัมพิขันธกะ จบ.
อรรถกถามหาวรรค ในอรรถกถา ชื่อสมันตปาสาทิกา
จบบริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง วรรณนานี้ ไม่มีอุปัทวะ จบบริบูรณ์แล้วฉันใด ขอปวงชน
จงถึงความสงบ หาอุปัทวะมิได้ ฉันนั้นแล.

1. อิ. วุฏฺฐาติ