เมนู

อรรถแห่งคาถา


สองบทว่า สงฺฆสฺส กิจฺเจสุ มีความว่า เมื่อกิจทีจะพึงกระทำ เกิด
ขึ้นแก่สงฆ์.
บทว่า มนฺตนาสุ ได้แก่ เมื่อการปรึกษาวินัย.
สองบทว่า อตฺเถสุ ชาเตสุ ได้แก่ เมื่อเนื้อความแห่งวินัยเกิดขึ้น.
บทว่า วินิจฺฉเยสุ ได้แก่ ครั้นวินิจฉัยอรรถเหล่านั้นแล.
บทว่า มหตฺถิโก ได้แก่ ผู้มีอุปการะมาก.
บทว่า ปคฺคหารโห ได้แก่ สมควรเพื่อยกย่อง.
บาทคาถาว่า อนานุวชฺโช ปฐเมน สีลโต มีความว่า ใน
ชั้นต้น ทีเดียว ใคร ๆ ก็ติเตียนไม่ได้โดยศีลก่อน.
บทว่า อเวกฺขิตาจาโร คือ ผู้มีอาจาระอันคนพิจารณาแล้ว ได้แก่
ผู้มีอาจาระอันตนคอยตรวจตราแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า มีปกติ ทำความรู้สึก
ตัว ในเมื่อมองดู ในเมื่อเหลียวแล.
ส่วนในอรรถกถาทั้งหลายแก้ว่า ผู้มีอาจาระไม่ปกปิด คือผู้ระวังตัวดี.
บทว่า วิสยฺห ได้แก่ องอาจ.
สองบทว่า อนุยฺยุตฺตํ ภณํ คือ เมื่อพูด ไม่นอกเหตุอันควรคือ
ไม่เข้ากัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลนั้น ย่อมพูดไม่นอก
เหตุอันควร, คือไม่พูดปราศจากเหตุด้วยความริษยา หรือด้วยอำนาจความ
ลำเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยังประโยชน์ให้เสีย. ฝ่ายบุคคลผู้พูดด้วย
ความริษยา หรือด้วยอำนาจความลำเอียง ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสีย
บุคคลนั้นไปในบริษัทย่อมประหม่าและสะทกสะท่าน, บุคคลใด ไม่เป็นผู้เช่น
นี้, บุคคลนี้สมควรเพื่อยกย่อง.