เมนู

สองบทว่า ยํ ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ยํ ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.
วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ 4 พวกนี้ คือ
บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา 6 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
พรรษา 4, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้
คือ ภิกษุผู้มีพรรษา 7 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา
8 พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา 2 ได้, ผู้มีพรรษา 9 พอเป็นอาจารย์ของผู้
มีพรรษา 3 ได้ ผู้มีพรรษา 10 พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา 4 ได้ผ่ายภิกษุ
ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้
ใหญ่กว่า 10 พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
ของยื่นออกจากพื้นเท้า.

ว่าด้วยเขียงเท้า


บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.

บทว่า อสงฺกมนียาโย ได้แก่ เขียงเท้าที่ตั้งไว้เป็นอันดีบนพื้นไม่
คลอน เคลื่อนที่ไม่ได้.

ว่าด้วยยาน


สองบทว่า องฺคชาตํ ฉุปนฺติ ได้แก่ ถูกองคชาตด้วยองคชาตนั่น
เอง.
สองบทว่า โอคาเหตฺวา มาเรนฺติ ได้แก่ ยึดไว้แน่นให้ตายภายใน
น้ำ.
บทว่า อิตฺถียุตฺเตน ได้แก่ เทียมด้วยโคตัวเมีย.
บทว่า ปุริสนฺตเรน ได้แก่ มีบุรุษเป็นสารถี.
บทว่า ปุริสยุตฺเตน ได้แก เทียมด้วยโคผู้.
บทว่า อิตฺถนฺตเรน ได้แก่ มีสตรีเป็นสารถี.
บทว่า คงฺคามหิยาย ได้แก่ การกีฬาในแม่น้ำคงคาและแม่น้ามหี.
วินิจฉัยในข้อว่า ปุริสยุตฺตํ หตฺถวฏฺฏกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-
ยานที่เทียมด้วยโคผู้ จะมีสตรีเป็นสารถี หรือมีบุรุษเป็นสารถีก็ตาม,
ควร. ส่วนยานที่ลากไปด้วยมือ สตรีลาก หรือบุรุษลากก็ตาม, ควรเหมือน
กัน.
บทว่า ยานุคฺฆาเตน มีความว่า กายทั้งปวง ของภิกษุนั้นย่อม
สั่นคลอน เพราะความเหวี่ยงไปแห่งยาน ความไม่สำราญ ย่อมเสียดแทงเพราะ
ปัจจัยนั้น.
บทว่า สิวิกํ ได้แก่ คานหามมีตั่งนั่ง.
บทว่า ปาฏงฺกึ ได้แก่ เปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.