เมนู

สองบทว่า ยํ ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ยํ ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.
วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ 4 พวกนี้ คือ
บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา 6 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
พรรษา 4, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้
คือ ภิกษุผู้มีพรรษา 7 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา
8 พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา 2 ได้, ผู้มีพรรษา 9 พอเป็นอาจารย์ของผู้
มีพรรษา 3 ได้ ผู้มีพรรษา 10 พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา 4 ได้ผ่ายภิกษุ
ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้
ใหญ่กว่า 10 พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
ของยื่นออกจากพื้นเท้า.

ว่าด้วยเขียงเท้า


บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.