เมนู

สองบทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาทํ ได้แก่ เห็นความเกิดและความ
ดับแห่งอายตนะทั้งหลาย.
หลายบทว่า สมฺมา จิตฺตํ วิมุจฺจติ มีความว่า จิตย่อมหลุดพ้น
ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะข้อปฏิบัติเครื่องเห็นแจ้งนี้ โดยชอบคือตามเหตุ
ตามนัย ได้แก่ น้อมไปในนิพพานเป็นอารมณ์.
บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตเยือกเย็น.
บทว่า ตาทิโน คือจัดว่าผู้คงที่ เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยความยินดี
ยินร้าย ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์.
สองบทว่า อญฺญํ พฺยากโรนฺติ ได้แก่ พยากรณ์อรหัต.
สองบทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต มีความว่า ตนอันผู้อื่นจะทราบว่า
เป็นอรหันต์ ด้วยเนื้อความใด เนื้อความนั้น อันกุลบุตรทั้งหลายกล่าวแล้ว.
ส่วนเนื้อความแห่งสูตร พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งสุตตันตะเถิด.
สองบทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต มีความว่า ทั้งไม่น้อมตนเข้าไป
ด้วยอำนาจพยัญชนะอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอรหันต์.
หลายบทว่า อถ จ ปนิเธกจฺเจ โมฆปุริสา มีความว่า ฝ่ายบุรุษ
เปล่าเหล่าอื่น ทำที่เหมือนสนุก พยากรณ์อรหัตผลซึ่งไม่มีเลย ทำให้มีด้วยเหตุ
สักว่าถ้อยคำ.

ว่าด้วยรองเท้า


บทว่า เอกปลาสิกํ ได้แก่ ชั้นเดียว.
วินิจฉัยในคำว่า อสีติสกฏวาเห นี้ พึงทราบดังนี้:-
สองเล่มเกวียน พึงทราบว่าเป็นหนึ่งวาหะ.
วินิจฉัยในคำว่า สตฺตหตฺถิกญฺจ อนีกํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ปริมาณนี้คือ ช้างพัง 6 เชือก กับช้างพลาย 1 เชือก เป็นอนีกะหนึ่ง
7 อนีกะเช่นนี้ ชื่อว่า สัตตหัตถิกอนีกะ.
บทว่า ทิคุณา ได้แก่ 2 ชั้น.
บทว่า ติคุณา ได้แก่ 3 ชั้น รองเท้ามีชั้นตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รองเท้าหลายชั้น.
บทว่า สพฺพนีลกา ได้แก่ เขียวล้วนทีเดียว. แม้ในสีท่าง ๆ มี
เหลืองล้วนเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็บรรดารองเท้าสีเหล่านั้น รองเท้า
เขียวคราม มีสีคล้ายสีดอกผักตบ รองเท้าเหลืองมีสีคล้ายดอกกรรณิการ์ รอง-
เท้าแดง มีสีคล้ายดอกชบา รองเท้าแดงสำลาน คือแดงอ่อน มีสีคล้ายฝาง
รองเท้าดำ มีสีคล้ายสีลูกประคำดีควาย รองเท้าแดงเข้ม มีสีคล้ายหลังตะขาบ
รองเท้าแดงกลาย ๆ มีสีเจือกัน คล้ายสีใบไม้เหลือง, แต่ในกุรุนทีแก้ว่ามีสีคล้าย
ดอกบัวหลวง. บรรดารองเท้าเหล่านี้ ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว เอาผ้าเช็ค
น้ำยาทำลายสีเสียแล้วสวม ควรอยู่. แม้ทำลายสีเสียเพียงเล็กน้อย ก็ควร
เหมือนกัน.
บทว่า นีลวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่มีหูเท่านั้นเขียว. แม้ในสีทั้งปวง
มีสีเหลืองเป็นต้น มีนัยเหมือนกัน. แม้รองเท้าที่มีหูเขียวเป็นต้น เหล่านั้น
ก็พึงทำลายสีเสียแล้วจึงค่อยสวม.
บทว่า ขลฺลกพทฺธา ได้แก่ รองเท้าที่ทำติดแผ่นหนังที่พื้นขึ้นมา
เพื่อปิดส้น. รองเท้าของชาวโยนกเรียกว่า รองเท้าหุ้มเป็นกระบอกได้แก่
รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมดจนถึงแข้ง.
บทว่า ปาลิคุณฺฐิมา ได้แก่ รองเท้าที่หุ้มหลังเท้า ปิดแค่เพียงบน
หลังเท่านั้น ไม่ปิดแข้ง.
บทว่า ตูลปุณฺณิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำยัดด้วยปุยนุ่น.

บทว่า ติตฺติรปตฺติกา ได้แก่รองเท้าที่มีหูงดงาม เช่นกับปีกนกกระทา.
บทว่า เมณฺฑวิสาณวทฺธิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมี
สัณฐานคล้ายเขาแกะ ที่ปลายเชิงงอน แม้ในรองเท้าที่มีหูดังเขาแพะเป็นต้น ก็
นัยนี้แล.
บทว่า วิจฺฉิกาฬิกา ได้แก่ รองเท้าที่ทำประกอบหูมีสัณฐานดังหาง
แมลงป่อง ที่ปลายเชิงงอนนั้นเอง.
บทว่า โมรปิญฺชปริสิพฺพิตา ได้แก่ รองเท้าที่เย็บที่ฟื้นก็ดี ที่หู
ก็ดี ด้วยขนปีกนกยูงต่างด้าย.
บทว่า จิตฺรา ได้แก่ รองเท้าที่งดงามต่าง ๆ. แม้ในรองเท้าเหล่านั้น
ภิกษุได้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นของที่อาจเอาสิ่งที่ไม่ควรเหล่านั้น เป็นต้น
ว่า หนังหุ้มส้นออกเสียได้ พึงเอาออกเสียแล้วใช้เถิด. แต่เมื่อสิ่งที่ไม่ควร
มีหนังหุ้มส้นเป็นต้นนั้น ยังมีอยู่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ใช้. รองเท้าที่ทำประกอบ
หนังราชสีห์ที่ริมโดยรอบเหมือนติดอนุวาตในจีวร ชื่อว่า รองเท้าขลิบด้วย
หนังราชสีห์.
บทว่า อุลูกจมฺมปริกฺขตา ได้แก่ รองเท้าที่ขลิบด้วยหนังนกเค้าแมว
ถึงในรองเท้าเหล่านี้ ชนิคใดชนิดหนึ่ง พึงเอาหนังนั้นออกแล้วสวมเถิด.
บทว่า โอมุกฺกํ ได้แก่ สวมแล้วถอดออก.
บทว่า นวา ได้แก่ ยังมิได้ใช้.
บทว่า อภิชีวนิกสฺส มีความว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอยู่
เฉพาะ คือสำเร็จการเลี้ยงชีวิต ด้วยศิลปะใด มีความเคารพในอาจารย์เพราะ
เหตุแห่งศิลปะนั้น.
ในคำว่า อิธ โข ตํ ภิกฺขเว นี้. บทว่า ตํ เป็นเพียงนิบาตความ
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . . พึงงามในธรรมวินัยนี้แล.

สองบทว่า ยํ ตุมฺเห ได้แก่ เย ตุมฺเห อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบาย
ว่า ยทิ ตุมฺเห จริงอยู่ นิบาต คือ ยํ ใช้ในอรรถแห่ง ยทิ ศัพท์.
วินิจฉัยในคำว่า อาจริเยสุ เป็นอาทิ เฉพาะอาจารย์ 4 พวกนี้ คือ
บรรพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ จัดเป็นอาจารย์
แท้ในบทว่า อาจริเยสุ นี้. ภิกษุมีพรรษา 6 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุผู้
ไม่มีพรรษาได้. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่มีพรรษานั้นจักอาศัยเธออยู่ในกาลที่ตนมี
พรรษา 4, ด้วยประการอย่างนี้ แม้ภิกษุเหล่านี้ จัดว่าผู้พอเป็นอาจารย์ได้แท้
คือ ภิกษุผู้มีพรรษา 7 พอเป็นอาจารย์ของภิกษุพรรษาเดียวได้, ผู้มีพรรษา
8 พอเป็นอาจารย์ผู้มีพรรษา 2 ได้, ผู้มีพรรษา 9 พอเป็นอาจารย์ของผู้
มีพรรษา 3 ได้ ผู้มีพรรษา 10 พอเป็นอาจารย์ของผู้มีพรรษา 4 ได้ผ่ายภิกษุ
ผู้เป็นเพื่อนเห็น เพื่อนคบของอุปัชฌาย์ก็ดี, ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้
ใหญ่กว่า 10 พรรษาก็ดี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ชื่อว่าผู้ปูนอุปัชฌาย์. เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ ไม่สวมรองเท้าก้าวเดินอยู่ ย่อมเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้สวมรองเท้าก้าวเดิน. ที่ชื่อว่าอาพาธเป็นหน่อที่เท้าได้แก่เนื้อคล้ายเดือย เป็น
ของยื่นออกจากพื้นเท้า.

ว่าด้วยเขียงเท้า


บทว่า ติณปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า หินฺตาลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยใบเป้ง เขียงเท้า
ที่ทำแล้ว แม้ด้วยใบเต่าร้าง ไม่ควรเหมือนกัน.
บทว่า กมลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยหญ้าที่ชื่อว่า กมล-
วรรณ พระอาจารย์บางพวกกล่าวว่า เขียงเท้าที่ทำด้วยแฝก ดังนี้ก็มี.
บทว่า กมฺพลปาทุกา ได้แก่ เขียงเท้าที่ทำด้วยขนเจียม.